และแล้วเราก็มาถึงสิ้นปีกันจนได้ หวังว่าหลายๆท่านยังมีพลังที่จะสู้กันต่อไปในปี 2021 ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่วันนี้ ปีนี้มีอะไรมากมายเกิดขึ้นจริงๆ เราก็ไปย้อนดูอดีตที่ผ่านมากันจาก The Economist ฉบับ 19th December 2020 สรุปไว้ให้เช่นเคย
โควิด 2019 ในปี 2020 เป็นปีที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป ทำไมโรคระบาดนี้จะเป็นที่จดจำว่าเป็นจุดเปลี่ยน?
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 1920 วอเรน ฮาร์ดดิ้งมีการรณรงค์โดยยึดคำว่า “normalcy” หรือทำนองวิถีชีวิตปกติ เป็นศูนย์กลาง มันเหมือนช่วยดึงชาวอเมริกันให้ลืมความเจ็บปวดในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และไข้สเปน และกลับไปใช้ชีวิตในยุคทองแบบปกติ
แต่ไม่แคล้ว แทนที่จะอ้าแขนรับวิถีชีวิตปกติอย่างที่ ฮาร์ดดิ้งอยากให้เป็น แต่ยุครุ่งรืองแห่งทศวรรษที่ 1920 นั้นกลับเป็นการก่อตัวของการมองไปข้างหน้า สังคมที่ชอบความเสี่ยง และความแปลกใหม่ของอุตสาหกรรมและศิลปะ
สงครามนั้นมีส่วนทำให้ยุคแจ๊ซนั้นขาดการยับยั้งชั่งใจ รวมไปถึงโรคไข้ระบาดก็ด้วยซึ่งพราะชีวิตคนอเมริกันไปถึงหกเท่าและคนที่มีชีวิตรอดก็อยากจะให้ทศวรรษ 1920 นั้นผ่านไปอย่างรวดเร็ว จิตวิญญาณและความรู้สึกในตอนนั้นก็ก่อตัวคล้ายๆกับทศวรรษ 2020 ที่กำลังมาถึงนี้ ความเจ็บปวดจากโรคโควิด 19 ที่อยู่ในระดับที่เสียชีวิตไปแล้ว 1.6 ล้านคน ความไม่ยุติธรรมและอันตรายจากโรคระบาดที่เราเห็นกัน และโอกาสทางนวัตกรรมนั้นแปลว่าสิ่งเหล่านี้จะถูกจดจำว่าเป็นปีที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป
โรคระบาดนี้เป็นเหตุการณ์หนึ่งในร้อยปีที่จะเกิดสักครั้ง มีคนติดโควิด 19 ไปแล้วมากกว่า 70 ล้านคนทั่วโลก และอาจจะมีอีก 500 ล้านคนที่ติดแล้วแต่ไม่เคยได้รับการตรวจ มีผู้เสียชีวิตตามที่บันทึกไว้ 1.6 ล้านคนเป็นอย่างนั้น อาจจะมีอีกหลักแสนที่ไม่ได้มีการบันทึกไว้ ผู้ที่มีชีวิตรอดก็ต้องใช้ชีวิตกับโควิดระยะยาวที่อาจจะกลับมาให่ได้ เศรษฐกิจทั่วโลกนั้นมีมูลค่าลดลงอย่างน้อย 7% เมื่อเทียบกับหากไม่มีโควิด ซึ่งถือว่าตกต่ำที่สุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง จากความเจ็บปวดเหล่านี้มันก็บอกเราว่าชีวิตนั้นมีเพื่ออยู่ ไม่ใช่เพื่อเก็บตัว
อีกเหตุผลนึงที่จะคาดหวังการเปลี่ยนแปลงก็คือโควิด19 นั้นเป็นสัญญาณเตือน แต่ละปีจะมีสัตว์ 8 หมื่นล้านตัวถูกฆ่าเพื่อเป็นอาหารหรือเพื่อขนสัตว์และไวรัสก็วิวัฒนาการมาเป็นพาหะนำโรคสู่มนุษย์ทุกๆทศวรรษโดยประมาณ ปีนี้มันก็ถึงเวลาชดใช้กรรมที่ก่อไว้และมันก็เหนือความคาดหมายอย่างมาก ท้องฟ้าที่สดใสอันเนื่องมาจากการล็อคดาวน์ของเศรษฐกิจนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่มีอำนาจว่าโควิด19 นั้นเป็นวิกฤตที่เคลื่อนตัวได้อย่างรวดเร็วแค่ไหน การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศนั้นก็มีคนไม่อยากรับรู้เต็มไปหมด ผลกระทบทั่วโลกนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายในอนาคตหากไม่มีใครสนใจมันในตอนนี้
เหตุผลที่สามที่ต้องคาดหวังความเปลี่ยนแปลงก็คือโรคระบาดนี้ทำให้ความไม่ยุติธรรมเด่นขึ้นมา เด็กๆเรียนไม่ทัน และบ่อยครั้งที่ไม่มีอะไรจะกิน เด็กที่จบออกจากโรงเรียนและนักศึกษาที่เรียนจบก็เห็นโอกาสก้าวหน้าของตัวเองนั้นลดลง คนทุกช่วงอายุนั้นต้องอดทนกับความเหงาและความรุนแรงภายในบ้าน แรงงานอพยพนั้นถูกปล่อยทิ้งและต้องส่งกลับไปยังหมู่บ้านของตัวเอง เอาโรคกลับไปด้วย ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นนั้นก็ค่อนข้างลำเอียง ชาวอเมริกันฮิสแปนิก (เชื้อสายโปรตุเกสและสเปน) นั้นมีโอกาสเสียชีวิตจากโควิด19 มากกว่าชาวอเมริกันผิวขาววัยเดียวกันถึง 12 เท่า ในเซาเปาโลนั้น ชาวบราซิลผิวดำอายุต่ำกว่า 20 นั้นมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผิวขาว
ยิ่งโลกปรับตัวตามเหตุการณ์นี้ ความไม่เท่าเทียมกันนี้ยิ่งแย่ลง จากการศึกษานั้นพบว่า 60% ของงานในอเมริกาที่จ่ายมากกว่า 1 แสนเหรียญ (ต่อปี) สามารถทำจากบ้านได้ เทียบกับเพียงแค่ 10% เท่านั้นของงานที่จ่ายน้อยกว่า 4 หมื่นเหรียญต่อปี ยิ่งอัตราการว่างงานพุ่งสูงขึ้นในปีนี้ ดัชนี MSCI ของตลาดหุ้นทั่วโลกกลับเพิ่มขึ้น 11% และในกรณีที่แย่ที่สุด สหประชาชาตินั้นพบว่าโรคระบาดนี้จะทำให้คนมากกว่า 200 ล้านคนนั้นเข้าสู่ความยากจน ชะตาชีวิตนี้ยิ่งจะทำให้รุนแรงขึ้นในประเทศที่ใช้อำนาจเผด็จการใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์นี้เพื่อให้ตนเองเข้าสู่อำนาจ
บางทีนี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้โรคระบาดนั้นนำไปสู่ความไม่สงบในสังคมในอดีตที่ผ่านมาก็ได้ IMF นั้นดูข้อมูลจาก 133 ประเทศในช่วงปี 2001-2018 นั้นพบว่าความไม่สงบนั้นพุ่งขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์โรคระบาดประมาณ 14 เดือน และจะพุ่งไปสูงสุดหลังจาก 24 เดือน ยิ่งสังคมมีความไม่เท่าเทียมมากเท่าไหร่ ยิ่งจะมีความไม่สงบเกิดขึ้นเท่านั้น จริงๆแล้ว IMF ก็เคยเตือนแล้วถึงวงจรอุบาทว์นี้ว่า การประท้วงนั้นเพิ่มความยากลำบากและก็วนกลับมาผลักดันให้คนมากขึ้นไปอีก
ยังดีที่ไม่เพียงแค่โควิด19 นั้นทำให้มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง มันยังชี้ทางข้างหน้าให้ด้วย ส่วนนึงนั้นก็เพราะมันเป็นเสมือนเครื่องจักรที่ผลักดันให้เกิดนวัตกรรม ภายใต้การล็อคดาวน์นั้น อีคอมเมิสช์เพิ่มขึ้นในเพียงแค่ 8 สัปดาห์เท่ากับที่มันมีมาใน 5 ปีที่ผ่านมาในธุรกิจค้าปลีกในอเมริกาเลยทีเดียว เมื่อตอนที่ผู้คนทำงานจากที่บ้านนั้น รถใต้ดินที่นิวยอร์คนั้นมีผู้ใช้งานลดลงมากกว่า 90% เลยทีเดียว เพียงแค่ข้ามคืน ธุรกิจต่างๆอย่างเช่น The Economist นี้ก็ต้องมาจากห้องว่างและโต๊ะในห้องครัวเลยทีเดียว ซึ่งเป็นการทดลองที่อาจจะใช้เวลานานกว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่มีทางเกิดขึ้นเลยก็ได้หากไม่มีโรคระบาดนี้
การเปลี่ยนแปลงนี้แม้ว่าจะพึ่งเริ่ม แต่มันก็เป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปได้แม้ว่าอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงยากอย่างบริการทางสุขภาพ สนับสนุนโดยต้นทุนที่ถูกและเทคโนโลยีใหม่ๆอย่าง AI และควอนตัมคอมพิวเตอร์ นวัตกรรมจะส่งผ่านจากอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น ต้นทุนที่มหาวิทยาลัยในอเมริกานั้นเพิ่มขึ้นเกือบห้าเท่ามากกว่าราคาสินค้าบริโภคที่ผ่านมา 40 ปี แม้ว่าการสอนนั้นก็แทบไม่ได้เปลี่ยนไปเลย ทำให้มันน่าจะไปทำอะไรสักอย่างให้เปลี่ยนแปลงเหมือนกัน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางด้านพลังงานทดแทน การเก็บประจุไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่นั้นเป็นขั้นตอนสำคัญสู่หนทางการทดแทนพลังงานฟอซซิลให้หมดไป
โคโรน่าไวรัสนั้นเปิดเผยบางอย่างที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับวิธีการที่สังคมควรปฏิบัติต่อความรู้เช่นกัน ลองพิจารณาว่านักวิทยาศาสตร์ชาวจีนนั้นเรียบเรียงพันธุกรรมของ SARS-COV-2 ภายในไม่กี่สัปดาห์และสามารถแบ่งปันให้ชาวโลกได้ วัคซีนใหม่นี้ที่เกิดขึ้นก็เป็นเพียงจุดนึงที่เกิดมาจากขั้นตอนที่รวดเร็วที่สามารถบอกได้ว่าไวรัสมาจากไหน มีผลกระทบต่ออะไร ฆ่าคนยังไง และอะไรที่อาจจะรักษามันได้
และโรคระบาดนี้ก็นำไปสู่วิวัฒนาการของรัฐบาลเช่นกัน บางประเทศที่มีตังจ่าย และบางประเทศเช่นบราซิลที่ไม่สามารถจ่ายได้ ได้ปราบปรามความไม่เท่าเทียมกันด้วยการใช้จ่ายมากกว่า 10 ล้านล้านเหรียญเกี่ยวกับโควิด 19 นี้ ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าช่วงวิกฤตการเงินถึงสามเท่าเลยทีเดียว (หักเงินเฟ้อแล้ว) ซึ่งจะทำให้ประชาชนนั้นเริ่มต้นความคาดหวังใหม่ว่ารัฐบาลสามารถทำอะไรได้บ้างสำหรับพวกเขา
หลายๆคนในช่วงล็อคดาวน์นั้นก็ได้ถามตัวพวกเขาเองว่าอะไรสำคัญที่สุดในชีวิต รัฐบาลควรใช้สิ่งนี้ในการสร้างแรงดลบันดาลใจเน้นไปที่นโยบาลที่ส่งเสริมศักดิ์ศรีส่วนบุคคล การพึ่งพาตนเอง และความภาคภูมิใจในความเป็นพลเมือง พวกเขาควรปรับปรุงสวัสดิการและการศึกษา และควรจัดการอำนาจที่อยู่กับเพียงบางกลุ่มเพื่อสร้างเกณฑ์ใหม่ให้กับประชากรของพวกเขา สิ่งดีๆสามารถเกิดขึ้นจากความเศร้าหมองจากโรคระบาดในปีนี้ได้ มันควรรวมไปถึงพันธะสัญญาทางสังคมที่เหมาะสมกับศตวรรษที่ 21 นี้
อ้างอิง:
https://www.economist.com/leaders/2020/12/19/the-year-when-everything-changed
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.