พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

Commodity vs Product (goods) ต่างกันอย่างไร

ทั้งคำว่า commodity กับ product นั้นพอมาแปลเป็นภาษาไทยแล้วก็มักจะออกไปในความหมายเดียวกันก็คือ “สินค้า” และหลายๆครั้งเราก็จะพบว่าสองคำนี้ใช้แทนกันไปกันมาจนดูเหมือนว่าจะมีความหมายเดียวกัน

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความหมายของสองคำนี้ค่อนข้างจะมีจุดประสงค์และความหมายที่ค่อนข้างแตกต่างกันเลยทีเดียว

“Commodity” นั้นคือวัตถุดิบต่างๆที่ถูกนำไปใช้ในการผลิตสินค้าที่เสร็จสิ้นและพร้อมนำออกจำหน่ายแล้ว ในขณะที่ “Product” ก็คือสินค้าที่พร้อมนำออกไปจำหน่ายให้ลูกค้าต่อไปนั่นเอง

ทั้ง commodities และ products นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของการผลิต (production) และขั้นตอนการผลิต (manufacturing process) – ความแตกต่างหลักๆก็คือว่ามันอยู่ในขั้นตอนไหนของห่วงโซ่การผลิต (chain)

Commodities นั้นมักจะอยู่ในช่วงขั้นตอนแรกๆของการผลิต ในขณะที่ products นั้นจะอยู่ในช่วงท้ายๆของการผลิตแล้ว

Commodity เป็นสินค้าพื้นฐานที่ถูกใช้ในการเป็นสิ่งที่ถูกป้อนเข้าไปในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ นั่นหมายความว่าบริษัทนั้นใช้ commodities ในขั้นตอนการผลิตสินค้าเพื่อแปลงสภาพมันให้กลายเป็นสินค้าที่ใช้กันโดยทั่วไป

Commodities นั้นจะถูกพบในสินค้าส่วนใหญ่ที่อยู๋ในรูปสินค้าสุดท้ายและจะไปถึงมือผู้บริโภคแล้ว เช่น ยางรถยนต์ ใบชา เนื้อวัว น้ำส้มคั้น และเครื่องนุ่งห่ม

Commodities ที่เราอาจจะเคยได้ยินโดยทั่วไปก็คือ ทองแดง (copper) น้ำมันดิบ (crude oil) ข้าวสาลี (wheat) เมล็ดกาแฟ (coffee beans) และทองคำ (gold)

Commodities ยังสามารถแบ่งลงลึกไปได้อีกสองระดับ ก็คือ แบบแข็งและแบบอ่อน แบบอ่อนก็คือพวกที่เติบโตและไม่สามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน ตัวอย่างเช่น กาแฟ โกโก้ น้ำส้มคั้น และน้ำตาล

Commodites เหล่านี้เป็นส่วนสำคัญของตลาดซื้อขายล่วงหน้าเลย (futures market) โดย commodities แบบอ่อนนี้จะมีราคาในตลาด futures ค่อนข้างจะผันผวนอย่างมากเลยทีเดียวเนื่องจากมีความเสี่ยงที่ค่อนข้างจะคาดการณ์ได้ยากหรือไม่สามารถคาดการณ์ได้เลยมาเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากสภาวะอากาศ แต่ในขณะที่ commodities แบบแข็งนั้นจะสามารถจะขุดหรือเจาะและเก็บไว้ได้ เช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และโลหะมีค่าทั้งหลาย

ยิ่งเทคโนโลยีนั้นมีการพัฒนาไปมากเท่าใด ก็จะยิ่งมี commodities ในรูปแบบใหม่ๆออกมา ตัวอย่างก้อเช่น สกุลเงินต่างประเทศ นาทีของมือถือ และ bandwidth

มันมีความแตกต่างอยู่นิดหน่อยระหว่าง commodities ด้วยกัน ก็คือพวกนั้นมักจะมาจากสภาวะที่เป็นธรรมชาติ และหากจำเป็น ก็มักจะเพียงแค่แปลสภาพเพียงนิดหน่อยเพื่อให้เหมาะสมกับมาตราฐานความต้องการขั้นต่ำของตลาดเท่านั้น ไม่มีการเพิ่มมูลค่าใดๆต่อ commodity และ commodities ทุกอย่างก็คือสินค้าแบบเดียวกันมีการขายในราคาที่เท่ากันไม่ว่าใครจะเป็นคนขายก็ตาม

ในการซ์้อขาย commodities ทั่วโลกนั้นก็มักจะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนในรูปแบบของสัญญา futures (สัญญาที่บอกว่าจะซื้อหรือจะขาย commodity ในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ในอนาคตและที่ราคาที่แน่นอน)

การทำข้อตกลงตามสัญญานั้นหมายความว่าเมื่อถึงเวลาในสัญญาแล้วต้องมีการนำส่งสินทรัพย์หรือเงินสด การซื้อขาย commodities นั้นก็โอกาสที่จะเกิดความผันผวนได้อย่างมาก ตลาดแลกเปลี่ยนจึงจำเป็นต้องมีมาตราฐานถึงจำนวนเงินและระดับคุณภาพหรือเกรดของ commodity ที่นำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน

The Chicago Board of Trade (CBOT) คือหนึ่งในตลาดแลกซื้อขายแลกเปลี่ยน commodity ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เป็นสถานที่ที่สินค้าทางการเกษตรและสัญญาทางการเงินนั้นมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน

นอกเสียจากตลาด futures แล้ว commodities ก็ยังสามารถทำการซื้อขายผ่านหุ้นได้อีกด้วย นักลงทุนสามารถทำการซื้อและขายหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ commodity บางจำพวกได้ นักลงทุนที่มีความสนใจในการซื้อหุ้นในบริษัทเกี่ยวกับน้ำมันและแก๊สก็สามารถซื้อหุ้นของบริษัทเหล่านั้นได้เช่นกัน

ETF หรือ Exchange-traded funds ก็สามารถอำนวยความสะดวกให้นักลงทุนสามารถลงทุนใน commodity ได้โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนโดยตรงในสัญญาซื้อขายอนาคต นักลงทุนก็ยังสามารถซื้อ commodities ที่สามารถจับต้องได้จริงๆ อย่างเช่น ทองคำหรือโลหะเงินได้เช่นกัน

เนื่องจากว่ามีการซื้อขายแลกเปลี่ยน commodities กันในตลาดซื้อขาย ดังนั้นก็จะมีปัจจัยหลายๆอย่างที่มีผลต่อราคาซื้อขายนั้นๆ ซึ่งแรงผลักดันหลักต่อราคาของ commodity ก็คือ supply และ demand หรือ อุปทาน และ อุปสงค์นี่แหละ

ในกรณีของน้ำมัน เมื่อความต้องการสูงขึ้น มักจะเกิดขึ้นในช่วงหน้าร้อน ราคาก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย แต่ในเมื่อมีอุปทานมากขึ้น ราคาก็จะเริ่มลดลง

สภาวะทางการเมือง ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และปัจจัยอื่นๆเช่นสภาวะอากาศก็สามารถมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อราคาได้

ในขณะที่ product นั้นสามารถทำให้เกิดความแตกต่างได้ไม่เหมือน commodity ซึ่งสามารถเพิ่มเติมได้โดยผู้ผลิตผ่านทางการตลาดและการสร้างมูลค่าตราสินค้าขึ้นมา

products ก็ใช้ commodities ในการผลิตนี่แหละ และหลังจากนั้นก็เพิ่มมูลค่าเข้าไป และนำไปขายในตลาดให้กับผู้บริโภคอีกทีหนึ่ง products นั้นก็มักจะหมายถึงสินค้าผู้บริโภคในรูปสุดท้ายและก็มีการบริโภคโดยผู้บริโภคทั่วๆไป

products นั้นมักจะถูกจัดให้อยู่ในประเภทของสินค้าคงทุนหรือสินค้าที่กินใช้ได้ สินค้าคงทนก็เช่นพวกอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้า เครื่องเฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับ หรืออะไรที่มักจะซื้อและนานๆจะเปลี่ยนสักที ในขณะที่สินค้าที่สามารถกินใช้ได้ก็เช่น ก๊าสหุงต้ม ของชำทั้งหลาย ซึ่งก็มักจะใช้แล้วหมดไปอย่างรวดเร็ว

เราจะสามารถพบเห็น products ได้ในพอตการลงทุนทั่วๆไป บริษัทที่ผลิตสินค้าที่บริโภคแล้วหมดไปก็มักจะถือว่าเป็นการลงทุนที่อาจจะปลอดภัยกว่าเมื่อเทียบกับสินค้าคงทน หากดูผลประกอบการในอดีตถึงความนิ่งและเสถียรกว่า เนื่องจากว่าแม้ในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี หรือตลาดมีความผันผวน คนก็ยังต้องซื้อของกินของใช้ แต่แม้ว่าจะดูมีเสถียรภาพ แต่ว่าสินค้าอุปโภคบริโภคเหล่านี้ก็มักจะมีความไวต่อการแข่งขันและมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาของ commodities ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคเหล่านั้น

อ้างอิง:

https://www.investopedia.com/ask/answers/021615/whats-difference-between-commodity-and-product.asp

https://en.wikipedia.org/wiki/Commodity

https://en.wikipedia.org/wiki/Product_(business)

blenlit

hakwamroo.com

Leave a Reply