พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Finance

จีนทำถูกแล้วมั้ยที่ตบ ‘Ant’ ให้อยู่ในโอวาท?

https://www.antgroup.com/en/

การค้นคว้าทางเศรษฐกิจถึงผลกระทบของการปล่อยเครดิตโดยฟินเทคนั้นแนะว่าการตบเบาๆนั้นน่าจะดีกว่า

มันมีเหตุผลที่ทั้งฟังแล้วน่าเชื่อถือกับอาจจะดูไม่สำคัญอะไรเลยถึงคำอธิบายถึงการที่จีนนั้นตบบริษัท Ant เพียงแค่ไม่ถึง 48 ชม ที่ตามกำหนดการนั้น Ant จะมีการออก IPO ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกแต่ก็โดนเบรคโดยผู้คุมกฏในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา น่าจะเป็นสเตปแรกที่จะพยายามตบบริษัทที่เติบโตอย่างรวดเร็วให้อยู่ในร่องในรอย

เรื่องของเรื่องที่ฟังดูไร้สาระก็คือ แจ๊ค หม่า นั้นเหมือนจะไปสบประมาทผู้นำจีนด้วยคำพูดที่ตรงและดิบไปหน่อย ไอ่ที่น่านับถือคือรัฐบาลต้องทำอะไรสักอย่างเพราะว่า Ant นั้นอาจจะเป็นภัยต่อความมั่นคงทางการเงิน อย่างที่หนังสือพิมพ์รัฐนั้นบอกว่า Ant นั้นใหญ่เกินกว่าที่จะล้มแล้ว แม้ว่าจะนำเสนอตัวเองว่าเป็นบริษัทฟินเทค แต่ก้อปล่อยกู้อยู่เรื่อยๆ เหตุผลที่ดูไม่สลักสำคัญอะไรนั้นในจุดนึงมันก็เหมือนว่าถูกต้องแล้ว แต่มันก็คือปัญหาหนึ่งของจีน เป็นการสะท้อนว่าพรรคคอมมิวนิสต์นั้นต้องการจะควบคุมเหล่านักธุรกิจผู้มีอิทธิพลทั้งหลาย แต่คำอธิบายที่น่านับถือก็คือว่าพวกบริษัทใหญ่ๆที่เข้าสู่วงการการเงินนั้นจะถูกควบคุมได้อย่างไร

ข้อกล่าวหาที่มีต่อ Ant ก็คือว่าบริษัทนั้นนำเสนอเงินกู้สำหรับผู้บริโภคเกรด subprime (เกรดต่ำกว่าปกติหรือเกรดในระดับที่ไม่ได้มีประวัติการชำระหนี้ที่ดีนัก) แต่พยายามแฝงไปด้วยลักษณะของเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้อง โมเดลของ Ant ก็คือพยายามมองหาผู้กู้รายย่อยทั้งด้านบุคคลและด้านธุรกิจและก็ปล่อยกู้ด้วยเงินเครดิตที่มาจากธนาคารต่างๆ ลูกค้าของ Ant นั้นเพียงแค่ติดต่อผ่านแอพของ Ant ที่ทำตัวเป็นตัวกลางเท่านั้น Ant นั้นปล่อยกู้จริงๆเพียงแค่ 2% ของมูลค่าของเงินกู้ที่ปล่อยออกไปเท่านั้น ซึ่งที่เหลือก็มาจากธนาคารหรือบริษัทอื่นๆ ความกังวลจึงมีอยู่ว่า Ant เป็นเพียงแค่ตัวแทนปล่อยกู้ที่คอยหาลูกค้ามาให้เรื่อยๆและก็เหมือนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอเมริกาเรื่อง subprime เช่นเดียวกันในช่วงต้นปี 2000 และ Ant ก็ไม่น่าจะเอาตัวรอดได้นาน อะไรจะทำให้ Ant นั้นไม่ปล่อยกู้อย่างไร้ความระมัดระวัง? จีนจึงต้องตอบโต้ด้วยกฏที่ร่างขึ้นมาว่า Ant นั้นจะต้องเป็นผู้ปล่อยเงินทุน 30% ของมูลค่าเงินกู้ทั้งหมด ซึ่งก็จะเป็นการบังคับให้ Ant นั้นต้องตั้งทุนสำรองเพิ่มสูงขึ้นและค่อยๆปล่อยเงินกู้แทน วันที่ 27 ธันวาคมที่ผ่านมานั้นธนาคารกลางก็บอกให้ Ant นั้นกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของตัวเองก็คือเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการจ่ายเงินก็พอ ซึ่งก็เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงและก็กำไรต่ำ

ฟังดูแล้วก็เหมือนว่าจะดูรอบคอบดี แต่มันก็มีเหตุผลที่บ่งบอกว่ากฏเกณฑ์ที่เบาหรือหลวมกว่านี้จะเป็นวิธีการที่ดีกว่า อย่างแรกเงินกู้ที่ Ant ปล่อยนั้นเป็นจำนวนที่เล็กน้อยมากประมาณ 20 หยวนหรือ 3 เหรียญและมีอายุแค่ไม่กี่เดือนเท่านั้น และก็กระจายตัวในหลายๆเซคเตอร์ด้วยซ้ำ ดังนั้นบริษัทจึงต้องพึ่งพาการปล่อยกู้ออกไปเรื่อยๆ ถ้าเงินกู้ที่เป็นหนี้เสียพุ่งขึ้น ธนาคารต่างๆก็สามารถลดขนาดได้แทบจะทันที ซึ่งมันคงละเรื่องและห่างไกลจากกรณีการจำนอง subprime ที่เกิดในอเมริกามาก และเงินกู้ในใหญ่ขึ้นและมีอายุหลายปีนั้นก็มักจะผู้อยู่กับตลาดอสังหาริมทรัพย์อยู่แล้ว

และในเมื่อฟินเทคมันก็พึ่งจะมา การศึกษาถึงผลกระทบอย่างละเอียดของมันนั้นก็พึ่งจะมีไม่กี่ที่เมื่อไม่นานมานี้ มันบ่งชี้ให้เห็นถึงปัญหาอีกอย่างนึงหากมีการกำกับดูแลที่มากเกินควร ฟินเทคนั้นดีต่อเศรษฐกิจ และการไปจำกัดมันนั้นก็อาจจะทำให้ธุรกิจโตไม่ได้เต็มที่ มีอยู่ 3 ประเด็นที่ดูจะชัดเจนก็คือ อย่างแรก บริษัทฟินเทคนั้นสามารถเข้าถึงผู้กู้ที่ธนาคารทั่วไปไม่สามารถบริการได้ และเมื่อธนาคารมักจะมีการตรวจสอบการปล่อยกู้เป็นกรณีๆไป ดังนั้นพวกเขาก็อยากได้ผู้กู้รายใหญ่และมั่นคงระดับนึงแล้ว แต่บริษัทฟินเทคนั้นวิ่งไปทางตรงกันข้าม แฮโรลด์ เฮา แห่งมหาวิทยาลัยเจนีวาและนักค้นคว้าคนอื่นๆนั้นได้ตรวจสอบเงินกู้ที่ Ant ปล่อยให้กับร้านค้า 2.9 ล้านรายบนเว็บอีคอมเมิซของตัวเองนั้นพบกว่า 39% ของร้านค้าที่มีคะแนนเรตติ้งต่ำในเมืองที่มีการปล่อยกู้โดยธนาคารที่อยู่ในระดับต่ำนั้นจะยอมรับข้อเสนอของ Ant แต่จะมีเพียง 17% เท่านั้นของร้านค้าที่มีคะแนนเรตติ้งสูงในเมืองที่มีการปล่อยกู้มากกว่าที่จะยอมรับข้อเสนอของ Ant

ที่อื่นๆก็เหมือนจะมีรูปแบบคล้ายๆกัน นักวิจัยที่ธนาคารเพื่อการชำระเงินระหว่างประเทศ (ฺBIS) นั้นดูข้อมูลจาก 79 ประเทศระหว่างปี 2013-2019 นั้นพบว่าเซคเตอร์ธนาคารนั้นจะไม่ค่อยมีการแข่งขันกันนักและก็ไม่ได้มีแรงจูงใจจะวิ่งหาผู้กู้รายย่อยนัก และผู้ให้กู้แบบฟินเทคก็จะเติบโตใหญ่ขึ้นและก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ จากการศึกษาในตลาดจำนองของอเมริกานั้นพบว่า ชนกลุ่มนั้นนั้นจะมีอัตราการถูกปฏิเสธที่คล้ายๆกันกับกลุ่มคนผิวขาวเมื่อมีการใช้บริการจากบริษัทฟินเทค แต่ว่าหากมีการพบกันต่อหน้าระหว่างผู้กู้และผู้ปล่อยกู้จะมีอัตราการปฏิเสธที่สูงกว่าคนผิวขาว 6%

แม้ว่าข้อสรุปนั้นจะมีค่า แต่มันก็ดูเหมือนว่าจะไม่ยั่งยืนหากมีผู้ผิดนัดชำระหนี้ในจำนวนมากสำหรับเครดิตจากฟินเทค จึงทำให้เกิดประเด็นที่สองคือ อัลกอริธึ่มและข้อมูลที่นำมาใช้ Ant นั้นมีการรวมตัวแปรเป็นร้อยๆตัวไว้ในโมเดลเครดิตของตัวเองจากเครือข่ายของเพื่อนของผู้กู้และก็รูปแบบการบริโภค ก่อนที่จะมีโรคระบาด อัตราการผิดนัดชำระหนี้สำหรับเงินกู้ของธุรกิจเล็กๆนั้นประมาณ 2% เมื่อเทียบกับ 6% สำหรับธนาคารต่างๆ

และประเด็นสุดท้าย ซึ่งก็ไกลจากการส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ การปล่อยกู้ลักษณะฟินเทคนั้นจริงๆแล้วเป็นการเหมือนคอยหนุนให้เศรษฐกิจมีความยืดหยุ่น ลีโอนาโด แกมบาโคต้าจาก BIS และคนอื่นๆนั้นได้ตรวจสอบบริษัทจีนมากกว่า 2 ล้านบริษัทที่กู้ยืมเงินจากทั้ง Ant และธนาคารปกติ เครดิตจากธนาคารนั้นจะมีการผูกกับราคาบ้านในท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ที่ปล่อยกู้นั้นเชื่อว่ามันเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันและเป็นตัวบ่งชี้ถึงสุขภาพของเศรษฐกิจด้วย แต่เครดิตจากฟินเทคนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับราคาบ้านเลย แต่ผูกเข้ากับวิธีการวัดสุขภาพของธุรกิจอย่างเช่นปริมาณการทำธุรกรรมแทน ข้อดีคือเมื่อราคาบ้านตกต่ำลง ธนาคารก็ปล่อยกู้น้อยลงให้กับบริษัทเล็กๆยิ่งกดดันให้เศรษฐกิจแย่ลงไปอีก ในทางตรงกันข้ามเมื่อไม่มีทรัพย์สินเป็นหลักค้ำประกัน การปล่อยกู้แบบฟินเทคนั้นก็อาจจะมีเสถียรภาพและสามารถจำกัดการแผ่กระจายได้มากกว่า

อย่างไรก็ดี สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้จะปฏิเสธว่าฟินเทคจะไม่สร้างปัญหาใหม่ให้ การที่ทำให้มีการปล่อยกู้กันง่ายไปหน่อย ผู้บริโภคก็อาจจะมีหนี้ที่มากเกินไป บริษัทก็อาจจะใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาในทางที่ผิด ผู้กำกับดูแลก็ควรจะเฝ้าระวังการฉ้อโกงตลอดเวลาซึ่งเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา และสำหรับบริษัทที่แข็งแกร่ง การเป็นผู้มีอำนาจผูกขาดนั้นก็เป็นความเสี่ยงที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะเมื่อบริษัทนั้นใหญ่พอ Ant ก็สามารถใช้อำนาจในตลาดที่จะบล็อคคู่แข่งและสร้างกำไรให้กับตัวเองมากขึ้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรจะต้องมีมุมมองเพิ่มขึ้นด้วย ฟินเทคนั้นยังอยู่ในช่วงหัดเดินอยู่ Ant อาจจะดูเป็นบริษัทที่พึ่งก่อตั้งและอยู่ในระดับโลก แต่มูลค่าเงินกู้ที่ Ant จัดหานั้นมีมูลค่าน้อยกว่า 1% ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดที่ธนาคารพาณิชย์ของจีนถืออยู่รวมกันด้วยซ้ำไป ในช่วงนี้ผู้กำกับดูแลที่รอบคอบอาจจะไม่จำเป็นต้องเข้ามาตีกรอบอะไรมาก แต่ปล่อยให้ Ant มีช่องว่างบ้างน่าจะดีกว่า

อ้างอิง:

https://www.economist.com/finance-and-economics/2021/01/02/is-china-right-to-tame-ant

https://www.antgroup.com/en/

Leave a Reply