และแล้วเราก็ตามอ่านหนังสือ “The Changing World Order” ของปู่เรย์มาจนถึงบทที่ 5 ละ ก้อไปเริ่มกันเลยว่าบทนี้ปู่เรย์เขาว่าอะไรบ้าง
ในบทที่ 5 ตอน 1 นี้ปู่เรย์จะลงลึกไปในรายละเอียดมากอยู่สักหน่อยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเศรษฐกิจและเงินเหรียญดอลลาห์ของสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเริ่มต้นมาเช่นเคย ปู่เรย์ก้อจะออกตัวก่อนว่าปู่เรย์ไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ แต่พยายามศึกษาดูเพื่อให้เข้าใจว่าประเทศเขาหรือโลกเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไรและจะจัดการกับมันอย่างไรในสภานการณ์ที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ทุกวันนี้
ในบทนี้จะเป็นบทต่อเนื่องจากบทที่แล้วในแง่ที่ว่าเขาพยายามจะดูว่าอณาจักรที่มีสกุลเงินเป็นสกุลเงินสำรองของโลกในช่วง 500 ปีที่ผ่านมาเริ่มต้นด้วยอาณาจักรของดัตช์และอังกฤษ
เราเห็นแล้วว่าตอนแรกชาวดัตช์จะรุ่งโรจน์มาก่อนและต่อมาอังกฤษก็ขึ้นมาเป็นอาณาจักรที่ร่ำรวยและมีสกุลเงินสำรองที่มีอำนาจมากที่สุด และก็ค่อยๆถดถอยเนื่องมาจากสาเหตุและความสัมพันธ์ที่เป็นวงจรที่กลาวไปก่อนหน้านี้
เราจบบทกันไปที่ว่าอาณาจักรอังกฤษนั้นเข้าสู่ช่วงถดถอยในช่วงครึ่งศตวรรษที่ 20 ซึ่งนำเราไปสู่จุดสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากนั้นอเมริกาก็เข้าแทนที่อังกฤษ
ในบทนี้เราจึงไปดูอเมริกากันต่อและต่อไปเราก็จะไปสำรวจจีนกัน ซึ่งในขณะนี้คือสองมหาอำนาจที่สุดแล้ว เพื่อที่จะดูว่าพวกเขานั้นจะมีการดำเนินไปตามวงจรตามแบบฉบับๆเดิมๆที่กล่าวไว้หรือไม่
และเมื่อเราเข้าใกล้สู่ปัจจุบันมากขึ้น ปู่เรย์ก็จะพาเราไปดูว่าแต่ละประเทศมีบทบาทต่อกันอย่างไรบ้างและลงในรายละเอียด เริ่มจากปี 1930 และพาเราเข้าสู่ปัจจุบันเกี่ยวกับอเมริกาแจะจีนที่มีบทบาทต่อกัน ซึ่งเป็นคู่ที่สำคัญที่สุดในทุกวันนี้
แม้ว่าการบอกเล่าเรื่องราวในลักษณะนี้อาจจะดูซับซ้อน แต่มันจะช่วยให้เราเห็นว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในทุกวันนี้นั้นมันคล้ายคลึงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เพราะว่าแรงผลักดัน รวมไปถึงสาเหตุและผลกระทบเกี่ยวกับความสัมพันธ์เหล่านี้มันก็โดยเนื้อแท้แล้วเหมือนกัน
ปู่เรย์จะพยายามเน้นย้ำถึงสิ่งที่เกิดขึ้นที่มีความสำคัญในประเทศที่มีอิทธิพล แต่ถ้าคนอ่านเริ่มมึนงงก็ให้อ่านเฉพาะจุดสำคัญๆเพื่อไม่ให้เกิดความงงงวย (จุดสำคัญคือจุดที่เน้นตัวหนังสือ)
กิจการโลกที่เกิดขึ้นรวมไปถึงประวัติศาสตร์นั้นจะค่อนข้างซับซ้อนเพราะว่ามันมีอะไรเกิดขึ้นมากมายทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกัน
ความพยายามที่จะเข้าใจประเด็นที่สำคัญที่สุดในประเทศที่เกี่ยวข้องและสำคัญที่สุดนั้นค่อนข้างท้าทายเนื่องจากว่าเราต้องเห็นภาพทั้งหมดในมุมมองที่ถูกต้องและพร้อมๆกัน
ทุกๆประเทศก็มีเรื่องราวของตัวเองเกิดขึ้นทุกวัน และเรื่องราวเรานี้ก็ถูกผูกเข้าด้วยกันเป็นเรื่องเล่าของโลก แต่โดยปกติแล้ว ในหนึ่งช่วงเวลา มักจะมีแค่ประเทศที่นำๆอยู่ไม่กี่ประเทศที่เป็นผู้สร้างเรื่องหลักในการเปลี่ยนแปลงระบบระเบียบของโลก
ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งจบลง เรื่องราวที่เกี่ยวข้องต่างๆนั้นมักจะมาจากประเทศอังกฤษ อเมริกา เยอรมัน ญี่ปุ่น โซเวียต และจีน ปู่ไม่ได้บอกว่าประเทศเหล่านี้เท่่านั้นที่สำคัญ เพราะมันไม่จริง
แต่ปู่บอกว่าเรื่องราวที่เปลี่ยนแปลงระเบียบของโลกตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้นที่มีการบอกต่อกันมาอย่างชัดเจนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลักๆจากภายในและระหว่างประเทศเหล่านี้
ในบทนี้ปู่เรย์พยายามจะบอกเล่าสั้นๆว่าเรื่องราวของประเทศเหล่านี้และบทบาทที่มีต่อกันของประเทศเหล่านี้มีอะไรบ้าง ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญๆที่เอามาให้อ่านกันก่อนที่จะมีเวอร์ชั่นที่สมบูรณ์กว่านี้ในตอนที่สองของหนังสือเล่มนี้
แน่นอนว่าฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายศัตรู ก็พยายามที่จะกล่าวหาอีกฝ่าย และคนส่วนใหญ่และประเทศส่วนใหญ่ก็พยายามวิ่งตามความสนใจของตัวเองทั้งสิ้นที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อตนเองมากทุกสุด ดังนั้นแล้วปู่บอกว่ามันจะมีประสิทธิภาพมากกว่าถ้ามองตามมุมมองเขาเหล่านั้น แต่ค่อนข้างไม่มีประโยชน์ที่จะพยายามใส่ร้ายพวกเขา
หากคุณอ่านไปแล้วรู้สึกว่าปู่เรย์เห็นใจศัตรูในอดีต เช่น อาจจะบอกว่าฮิตเลอร์สร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็งก่อนเข้าสู่สงคราม ขอให้รู้ไว้ว่าปู่เรย์แค่มองหาความแม่นยำอย่างตรงไปตรงมามากกว่าที่จะสนใจว่าทางการเมืองจะมองว่าไม่ถูกต้อง
อาณาจักรอเมริกาและสกุลเงินดอลล่าห์สหรัฐ
ตั้งแต่ปี 1700 ประวิติศาสตร์ของอเมริกานั้นเริ่มจากการล่าอาณานิคม และมีการปฏิวัติต่อผู้ล่าอาณานิคมอย่างอักฤษและได้รับอิสรภาพในปี 1776
ความเข้มแข็งโดยเปรียบเทียบของอเมริกาในแง่ของการศึกษา ความสามารถในการแข่งขัน การค้า และการผลิตนั้นก็เริ่มเสื่อมถอยลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา แต่ว่าความเข็มแข็งในด้านวิวัฒนาการและเทคโนโลยี สถานภาพสกุลเงินสำรองของโลก และอำนาจศูนย์กลางทางการเงิน และการทหารยังคงอยู่ในระดับท้อปๆ
ในขณะเดียวกัน เราจะเห็นว่าเมื่อเราลงลึกไปดูภาพของจีนกันบ้างจะเห็นว่าจีนนั้นเริ่มเข้าสู่อเมริกาในทุกๆด้านของที่กล่าวไปและสามารถเปรียบเทียบได้ในหลายๆทาง และยิ่งพัฒนาไปได้เร็วกว่าอเมริกาด้วยซ้ำอย่างเห็นได้ชัด
สงครามเศรษฐกิจ 1930 ถึง 1939/41
โดยหลักการแล้ว ก่อนที่จะมีสงครามยิงกัน มันมักจะมีสงครามทางเศรษฐกิจมาก่อน และ ความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงก็จะมีช่องว่างระหว่างความมั่งคั่งสูง มีหนี้สูง และมีนโยบายการเงินที่ไม่ได้ผล เป็นส่วนผสมที่มักจะนำไปสู่ข้อความแย้งและการปฎิวัติการเปลี่ยนแลงภายในประเทศ และช่วงที่มีความขัดแย้งมากๆ ก็จะมักจะมีแนวโน้มไปสู่การเปลี่ยนแปลงในประเทศนั้นๆเข้าสู่ระบบการปกครองในลักษณะที่ผู้นำเป็นใหญ่เพื่อสั่งการลงมาเพื่อจะนำประเทศเข้าสู่ระเบียบอีกครั้งหนึ่ง
ในปี 1929 ช่วงศตวรรษที่ 20 ที่ฟองสบู่แตกและทั่วโลกประสพภาวะเศรษฐกิจตกต่ำตามมานั้น มันทำให้แทบทุกประเทศมีข้อขัดแย้งภายในทางด้านความมั่งคั่ง ทำให้ประชากรหันไปเลือกการปกครองแบบแนวๆประชานิยม ปกครองแบบข้างบนสั่งลงมา ชาตินิยม และเอียงไปทางผู้นำที่เอียงทหารและเน้นนโยบาย
ความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในประเทศนั้นๆ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความลึกของประชาธิปไตยหรือความเน้นเผด็จการที่เกิดขึ้นมาในอดีต
ในเยอรมัน ญี่ปุ่น อิตาลี และสเปนนั้น เนื่องจากว่าในอดีตมีประเพณีที่ไม่ค่อยเป็นความเป็นประชาธิปไตยมานัก ทำให้เกิดข้อขัดแย้งภายในอย่างรุนแรงและหันไปสู่ผู้นำแนวประชานิยมและเผด็จการ เช่นเดียวกับ โซเวียตและจีน ในขณะที่อเมริกาและอังกฤษก็หันไปทางเดียวกันเมื่อเทียบกับอดีต แต่ก็ไม่รุนแรงเท่ากับประเทศอื่นๆ
สงครามทางเศรษฐกิจนั้นเริ่มต้นเมื่อ 10 ปีก่อนที่จะมีสงครามที่ยิงกันจริงๆ เศรษฐกิจตกต่ำขั้นใหญ่หลวง (Great Depression) นั้นนำความทุกข์ยากลำบากทางเศรษฐกิจให้กับทุกประเทส นำไปสู่การแก่งแย่งชิงดีกันทางด้านความมั่งคั่งทั้งในและระหว่างประเทศ นำไปสู่สงครามยิงกันที่เริ่มขึ้น 10 ปีให้หลัง
เมื่อธนาคารกลางของสหรัฐมีนโบบายทางการเงินที่เข้มงวดในปี 1929 เพื่อยับยั้งการเก็งกำไร ฟองสบู่ก้อเริ่มแตก และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำขั้นรุนแรงทั่วโลกก็ได้เริ่มขึ้น
ในช่วงที่เศรษฐกิจแย่ๆ ทำให้มีการปกป้องทางการค้ามากขึ้น มีการขึ้นภาษีเพื่อปกป้องธุรกิจและงานภายในประเทศเป็นเรื่องปกติ แต่มันนำไปสู่ประสิทธิภาพที่ลดลงเนื่องจากว่าการผลิตนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในที่ๆมันมีประสิทธิภาพสูงสุด และมันมักจะนำไปสู่ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจที่มากขึ้นแผ่ออกไปทั่วโลก เนื่องจากการขึ้นภาษีนั้นมักจะนำไปสู่สงครามกำแพงภาษีที่ส่งผลให้ประเทศที่ขึ้นภาษีนั้นสูญเสียการส่งออกด้วย อย่างไรก็ดี มันกลับเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจเหล่านั้นที่มีการปกป้องด้วยภาษี และสามารถสร้างการสนับสนุนทางการเมืองสำหรับผู้นำที่บังคับใช้กำแพงภาษีนั้น
เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกเริ่มระบาด เยอรมัน ญี่ปุ่น โซเวียต และจีนนั้นก็มีความยากลำบากอยู่แล้ว และเมื่อสถานการณ์มันแย่ลงในปี 1930 สถานการณ์ที่ว่าแย่ๆเหล่านั้นกลายเป็นสถานการณ์ที่สิ้นหวังในประเทศเหล่านั้น ทำให้เกิดข้อขัดแย้งทางเศรษฐกิจและท้ายที่สุดก็ทางทหารตามมา
โดยปกติแล้วภัยธรรมชาติต่างๆ เช่น ภาวะแล้ง น้ำท่วม หรือโลกระบาดก็มักจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะยากลำบากทางเศรษฐกิจอยู่แล้ว และยิ่งผสมผสานกับสถานการณ์ที่มันแย่ลงไปอีกทางเศรษฐกิจ ยิ่งทำให้เกิดช่วงเวลาที่ขัดแย้งกันมากขึ้น
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกตบเท้าเข้าไปในเยอรมันหนักเลย นำไปสู่อัตราการว่างงานที่ 25% มีธุรกิจล้มากมาย และความยากจนแพร่กระจาย (โอวววว เยอรมันเคยจนด้วย) และก้อเข้าสู่รูปแบบเดิมๆ มีสงครามย่อยๆกับพวกซ้ายจัด (communisits) กับพวกนิยมขวาจัด (fascists) ก็เกิดขึ้น
เพื่อที่จะตอบโต้การต่อสู้ภายในนี้ และเพื่อที่จะกู้ความเป็นระเบียบกลับมา ฮิตเลอร์จึงถูกแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี (Chancellor) เมื่อมกราคม 1933
ในขณะที่อเมริกามีการเลือก แฟรงคิน ดี รูสเวลท์ เป็นประธานาธิบดีในปี 1932 ซึ่งหลายๆคนมองว่าเป็นผู้นำแนวประชานิยมฝ่ายซ้าย ในปี 1933 รูสเวลท์ก็ยกเลิกสัญญาที่จะแปลงเงินดอลลาห์เป็นทอง และสั่งการให้แลกทองที่มีค่ามากกว่า 100 เหรียญเป็นเงินดอลลาห์ที่อัตราส่วน 20.67 เหรียญต่อออนซ์ และลดค่าเงินคอลลาห์ลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ และก็ในขณะเดียวกันมีโครงการใช้เงินจากงบกลางนำไปสู่การขาดดุลที่มากมายและมีหนี้สูงเนื่องมากจากธนาคารกลางใช้เงินที่พิมพ์ออกมานั่นแหละเข้าสู่ตราสารหนี้ต่างๆ
ในช่วงที่มีภาวะเงินฝืดนั้น หนี้ที่เกิดขึ้นก็มักจะมากจากการที่เงินขาดมือของลูกหนี้เพื่อจะใช้หนี้นั่นแหละ ทำให้ต้องมีการพิมพ์เงิน มีการปรับโครงสร้างหนี้ และโครงการใช้จ่ายจากรัฐบาลเพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบ เพื่อลดมูลค่าเงินและเครดิตลง
ในกรณีของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกนั้น มันใช้เวลาจากช่วงสูงสุดในเดือนตุลาคม 1919 จนถึงมีนา 1933 ในช่วงประธานาธิบดีรูสเวลท์ที่เริ่มขยับตัว จากจุดนั้นไปจนสิ้นปี 1936 ธนาคารกลางมีการเข้มงวดทางนโยบายทางการเงินและทำให้เกิดภาวะตกต่ำในปี 1937-1938 ตลาดหุ้นมีผลตอบแทนถึง 200% และเศรษฐกิจมีอัตราการเจริญเติบโตที่แท้จริงประมาณ 9% ต่อปีโดยเฉลี่ย!
ฮิตเลอร์ได้สร้างเศรษฐกิจมาจากวิธีการแบบเผด็จการและฟาสซิสต์ ด้วยการใช้จ่ายเงินเยอะๆและโครงการจากรัฐบาลที่เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายต่างๆ
มันแสดงให้เห็นว่าการที่ตัวเองยืมเงินตัวเองและเพิ่มหนี้ตัวเองและขาดดุลในตัวเองนั้นมีประสิทธิภาพอย่างมากหากเงินที่ยืมมา (จากตัวเอง) นั้นนำไปลงทุนในสิ่งต่างๆที่เพิ่มประสิทธิภาพที่สร้างกระแสเงินสดเพื่อนำมาใช้หนี้ และแม้ว่ามันอาจจะไม่คุ้มทุน 100% ของหนี้เกิดขึ้น แต่มันก็ยังค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพทางด้านต้นทุนในการบรรลุจุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจของประเทศ
ตอนที่ฮิตเลอร์เข้าสู่อำนาจในปี 1933 นั้นอัตราการว่างงานอยุ่ที่ 25% ในปี 1938 มันก็หลายเป็น 0 รายได้ประชากรต่อคนจากปีที่เขาเข้าสู่อำนาจและ 5 ปีให้หลังนั้นเพิ่มขึ้นถึง 22% และอัตราการเจริญเติบโตที่แท้จริงนั้นเพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่า 8% ต่อปีระหว่างปี 1934 และ 1938 (มิน่าคนถึงไปรบแม้ว่าฮิตเลอร์สั่งให้ไปทำ) ตลาดหุ้นเยอรมันเพิ่มขึ้น 70% และค่อนข้างคงที่ในช่วงเวลาเดียวกันจนกระทั่งเข้าสู่ช่วงเริ่มสงครามที่ยิงกัน
ในปี 1935 ฮิตเลอร์ก็เริ่มสร้างกองกำลังทหารละ เนื่องจากเศรษฐกิจเยอรมันต้องการทรัพยากรที่มากขึ้นและจำเป็นต้องไปเอามาจากประเทศอื่นละ เขาจึงสร้างกองกำลังทหารไปยึดมา อาจจะมีคนบอกการไปยึดทรัพยาการมานั้นเมื่อพิจารณาทางด้านต้นทุนแล้วมันมีประสิทธิภาพกว่าการผลิตสินค้าเพื่อนำไปขายกับคนอื่นเพื่อให้ได้รายได้มา
ญี่ปุ่นก็โดนตบหนักเช่นกันจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและก็กลายเป็นประเทศเผด็จการเช่นกัน ในปี 1931 ญี่ปุ่นก็ถังแตก (โอววว ญี่ปุ่นก็เคยจน) สภาวะเหล่านี้รวมไปถึงช่องว่างทางความมั่งคั่งที่มาก นำไปสู่การเข้าสู่อำนาจของชาตินิยมและทหารนิยม ท้ายที่สุดการทหารญี่ปุ่นก็เข้าควบคุมและก็นำพาญี่ปุ่นเข้าสู่การไปยึดทรัพยากรจากประเทศอื่นๆเช่นกันเพื่อให้ได้ทรัพยากรธรรมชาติมา เช่น น้ำมัน เหล็ก ถ่านหิน และยาง รวมไปถึงทาสแรงงานคน ซึ่งก็เหมือนกับเยอรมัน การไปยึดเอาจากปรเทศอื่นนี่แหละคุ้มค่าด้านต้นทุนที่สูดแล้วดีกว่ามาผลิตเองและนำไปขาย
ในขณะที่เยอรมันและญี่ปุ่นเริ่มไปยึดครองทรัพยากรจากประเทศอื่นๆ อเมริกาก็ยังลังเลอยู่ที่จะเข้าสู่สงครามทั้งฝั่งยุโรปและเอเชีย
ในเดือนตุลาคมปี 1940 อเมริกาก็พยายามตัดขาดทรัพยากรที่ญี่ปุ่นต้องการเพื่อที่จะพยายามทำให้ญี่ปุ่นถอยลำกลับไป ในเดือนมีนาคม 1941 อเมริกาก็ยังต้องการที่จะเลี่ยงสงคราม สภาของอเมริกาก็ผ่านกฏหมายให้ประเทศสามารถทำอะไรก็ได้ที่เป็นการป้องกันประเทศ แม้ว่ามันจะยังไม่ชัดเจนว่าเป็นการประกาศสงคราม แต่มันก็ทำให้ท่าทีของอเมริกาชัดขึ้นแล้ว
ก่อนที่จะไปต่อถึงสงครามที่ยิงกันจริงๆอย่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปู่เรย์อยากจะย้ำเรื่องเทคนิคการทำสงครามทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาและยังคงใช้อยู่คือ 1. การยึดหรือการห้ามเคลื่อนย้ายทรัพย์สินใดๆ 2. การบล็อคหรือการจำกัดการเข้าสู่ตลาดทุน 3. การปิดล้อมหรือคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ
สงครามยิงกันในปี 1939/41 ถึง 1945
เมื่ออเมริกาเข้าสู่สงครามหลังจากที่มีการโจมตีที่เพิลร์ฮาเบอร์ นโยบายเศรษฐกิจทางๆสำหรับช่วงสงครามก็มีการใช้ในหลายๆประเทศโดยผู้นำที่เด็ดขาดและมีวิธีการที่สั่งการลงมาที่มีการสนับสนุนโดยประชากรในประเทศตัวเองเพื่อต่อต้านศัตรูฝั่งตรงข้าม
นโยบายเศรษฐกิจในช่วงสงครามก็คือการที่รัฐบาลควบคุมแทบทุกอย่างในประเทศ มีการย้ายการผลิตจากธุรกิจที่ทำกำไร ไปสู่การผลิตเพื่อการสู้รบ โดยรัฐบาลเป็นผู้กำหนดว่าอะไรควรผลิต อะไรที่สามารถสู้ขายได้ในปริมาณเท่าไหร่ อะไรสามารถนำเข้าหรือส่งออกได้ กำหนดราคาสินค้า ค่าจ้าง กำไร การเข้าถึงสินทรัพย์ทางการเงิน และความสามารถในการโยกย้ายเงินตัวเองออกนอกประเทศ
เนื่องจากการทำสงครามน้นมันแพง รัฐบาลจึงต้องออกตราสารหนี้เพื่อใช้แปลงเป็นเงิน พึ่งพาวงเงินที่ไม่ใช่เงิน เช่น ทองคำ ในการทำธุรกรรมระหว่างปรเทศ เพราะวงเงินปกติไม่เป็นที่ยอมรับ มีการปกครองแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมากขึ้น มีการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับศัตรูและตัดการเข้าถึงแหล่งทุน และเจอกับศัตรูที่ทำแบบเดียวกันเช่นกัน
หลายๆประเทศมีการปิดตลาดหุ้นช่วงสงคราม ทำให้นักลงทุนในหุ้นไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ และเนื่องจากการแพ้สงครามนั้นมักนำไปสู่ความมั่งคั่งและอำนาจที่หายไป การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นที่ยังเปิดอยู่ในช่วงสงครามนั้นมักจะเกิดมาจากการที่ว่าประเทศนั้นสามารถทำได้ดีในสงครามแต่ละที่ ซึ่งผลลัพธ์ก็มักจะโอนเอียงไปในทางที่ว่าจะชนะหรือแพ้ของแต่ละฝ่าย
การปกป้องความมั่งคั่งของตัวเองในช่วงสงครามนั้นเป็นไปได้ยาก และเนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาวะปกตินั้นก็ถูกจำกัดอีก การลงทุนที่ปกติแล้วดูเหมือนจะปลอดภัย ก็จะไม่ปลอดภัยแล้ว การเคลื่อนย้ายทุนก็ถูกจำกัด และก็มีการเก็บภาษีที่สูงขึ้นภาวะที่คนดิ้นรนเอาตัวรอด ในช่วงเวลาขัดแย้งแบบนี้ การปกป้องความั่งคั่งของคนมีตังนั้นมันจึงไม่ใช่สิ่งสำคัญอันดับแรกเมื่อเทียบกับการกระจายความมั่งคั่งไปในที่ที่จำเป็นที่สุด
และนั่นมันคือสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามนั่นเอง ชัยชนะของฝ่ายพันธมิตรในปี 1945 นั้นก่อให้เกิดการโยกย้ายถ่ายเปลี่ยนของความมั่งคั่งและอำนาจอย่างมาก
แม้ว่าสงครามโลกครั้งที่สองจะมีความสูญเสียเกิดขึ้นมากมายทั้งจำนวนผู้คนที่ล้มตายและความสูญเสียทางเศรษฐกิจและการเงิน จนอาจจะประเมินค่าได้ยาก แต่สิ่งหนึ่งที่รู้ก็คือ อเมริกานั้นเป็นผู้ชนะพอสมควร เพราะว่าอเมริกาขายและให้กู้ยืมเงินอย่างมากมายทั้งก่อนและระหว่างสงคราม และแทบจะทุกๆการต่อสู้นั้นไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศอเมริกาเอง อเมริกาจึงไม่ได้เกิดความเสียหายในประเทศเท่าไหร่ และจำนวนผู้เสียชีวิตของคนอเมริกันนั้นก็ค่อนข้างจะต่ำเมื่อเทียบกับประเทศใหญ่ๆประเทศอื่นๆ
และในตอนที่สองปู่เรย์ก็จะพาเราไปสำรวจระเบียบโลกใหม่เริ่มจากอเมริกาที่ยังมีอำนาจครองโลกอยุ่ในปัจจุบันและจะไปแตะประเทศจีนด้วย
โอวววว การเมืองและเศรษฐกิจมันก็เกี่ยวข้อกันอย่างนี้นี่เอง
เราๆก็รอหาความรู้ตอนสองจากปู่เรย์กันต่อไปนะครับ
อ้างอิง:
https://www.principles.com/the-changing-world-order/#chapter4
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.