พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

บทสรุปบทที่ 3: The Big Cycles Over The Last 500 Years

https://www.linkedin.com/pulse/big-cycles-over-last-500-years-ray-dalio

หลังจากอ่านไปสองบทก็ดำเนินมาถึงบทที่สามถึงอดีตและความเป็นมาของการมาและการจากไปของจักรวรรดิต่างๆในอดีต รวมไปถึงเรื่องเงิน สกุลเงินและเครดิตในบทที่สอง ในบทที่สามนี้ปู่เร่ย์ก็จะพาเราไปทัวร์กันถึงการมาและการจากไปของจักรวรรดิในอดีตที่ลงในรายละเอียดมากขึ้นของวงจรนี้ใน 500 ปีที่ผ่านมา

ในบทนี้ปู่เรย์จะทบทวนการมาและการจากไปของจักรวรรดิดัตช์ บริติช และอเมริกันทั้งหลาย รวมไปถึงเงินสำรองของแต่ละจักรวรรดิ

เนื่องจากวิวัฒนาการของจักรวรรดิและสกุลเงินนั้นเป็นเรื่องราวที่ต่อเนื่องมาเรื่อยๆและเกิดขึ้นก่อนประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้เสียอีก ดังนั้นในบทนี้ปู่เรย์จึงเลือกเรื่องราวในช่วงประมาณปี 1600 โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะดูว่าเราอยู่ตรงในจากมุมมองประวัติศาสตร์และพยายามนำเราเข้าสู่ยุคปัจจุบัน โดยจะแสดงให้เห็นว่าการเสื่อมถอยลงของจักรววรดิอังกฤษและสกุลเงินปอนด์นั้นมีวิวัฒนาการไปยังการมาของจักรวรรดิอเมริกันและสกุลของดอลลาห์สหรัฐอย่างไร และจะแตะการปรากฏตัวของจักรวรรดิจีนและเงินหยวนหน่อยๆ

วงจรชีวิตภาพใหญ่ของจักรวรรดิ

เหมือนวงจรชีวิตมนุษย์ที่มีอายุขัยราวๆ 80 ปี แม้ว่าจะไม่มีชีวิตใครที่เหมือนกันเด๊ะๆแต่ก็จะมีส่วนที่คล้ายคลึงกัน วงจรชีวิตของจักรวรรดิก็มีรูปแบบและส่วนที่คล้ายคลึงกันเช่นกัน

แม้ว่ามันจะง่ายกว่าที่จะบ่งบอกว่าช่วงชีวิตหรือระยะของชีวิตของมนุษย์นั้นอยู่ในช่วงไหนก็เนื่องจากมีอายุขัยเป็นตัวกำหนด แต่มันก็สมเหตุสมผลที่จะรู้ว่าเราอยู่ในช่วงไหนเพื่อที่ว่าจะได้ประพฤติตัวให้เหมาะสมในการจัดการกับตัวและและคนอื่นๆรอบขึ้นบนพื้นฐานของช่วงอายุนั้นๆ ประเทศต่างๆก็เช่นเดียวกัน โดยช่วงระยะใหญ่ๆนั้นได้แสดงให้เห็นในกราฟด้านล่างนี้แล้ว มันค่อนข้างจะเป็นแบบฉบับที่ทำให้ดูง่ายๆที่สุดที่ปู่เรย์เอามาให้ดูในบทที่แล้ว

No alt text provided for this image

สั้นๆแล้วก็คือจากที่โลกมีการตั้งกฏใหม่ๆ ก็จะมีช่วงสงบ ช่วงรุ่งเรือง และเมื่อคนเริ่มชิน ก็เริ่มจะคิดว่ามันจะรุ่งเรืองไปเรื่อยๆ คนเริ่มจะกู้ยืมเงินและสุดท้ายก็นำไปสู่ฟองสบู่แตก และเมื่อยิ่งมีความเจริญรุ่งเรือง ช่องว่างระหว่างคนมีกับคนไม่มีก็ยิ่งมากขึ้น

สุดท้ายเมื่อฟองสบู่แตก ก็นำไปสู่การพิมพ์เงินและปล่อยวงเงินเครดิต ความขัดแย้งภายในก็เพิ่มมากขึ้น ก็จะนำไปสู่การปฏิวัติเพื่อจัดระเบียบการกระจายรายได้ใหม่ ซึ่งก็อาจจะโดยสงบหรือมีความรุนแรงก็ได้

โดยปกติแล้วในช่วงเวลานั้นในช่วงท้ายๆของวงจร จักรวรรดิที่นำอยู่ในตอนนั้นที่ชนะสงครามทางเศรษฐกิจหรือสงครามที่รบกันในครั้งก่อนหน้านั้นมักจะมีอำนาจน้อยลงเมื่อเทียบกับจักรวรรดิที่รุ่งเรืองเกิดขึ้นมาในช่วงสงบและรุ่งเรืองของวงจร และเมื่อมันมีเงื่อนไขทางเศรษฐกิจที่ไม่ดีและมีความไม่ลงรอยกันระหว่างสองอำนาจ มันก็มักจะมีสงครามเกิดขึ้นในบางรูปแบบ ไม่ว่าจะเกิดจากหนี้ เศรษฐกิจ ปัญหาภายในประเทศ หรือกฏระหว่างประเทศมันถูกละเมิด ก็จะส่งผลให้มีผู้ชนะและผู้แพ้ใหม่ในสงครามหรือการปฏิวัติที่เกิดขึ้นถัดมา และเหล่าผู้ชนะก็จะรวมตัวกันสร้างกฏใหม่ของโลกขึ้นมา แบบนี้วนไป

จะเห็นจากกราฟด้านล่างได้ว่าตอนนี้จักรวรรดิอเมริกานั้นยังคงนำจีนอยู่แต่ก็ไม่มากแล้วและอยู่ในช่วงขาลง ในขณะที่จีนนั้นพุ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็วโดยที่ไม่มีอำนาจอื่นมาเฉียดใกล้เลย

No alt text provided for this image

ทีนี้เรามาลงรายละเอียดกันว่าในช่วงวงจร 500 ปีนี้ออกมายังไงและมองไปถึงการเสื่อมถอยลงของจักรวรรดิดัตช์และอังกฤษเพื่อให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้ขาลงเป็นอย่างไร

การมาและการจากไปของจักรวรรดัตช์และดัตช์กิลเดอร์ (เงินเหรียญของดัตช์ในสมัยนั้น)

ในช่วงปี 1500-1600 นั้นจักรวรรดิสเปนเป็นจักรวรรดิที่โดดเด่นทางด้านเศรษฐกิจในโลกที่เรียกว่าโลกตะวันตกในสมัยนั้น ในขณะที่จักรวรรดิจีนภายใต้การนำของราชวงศ์ปมิงนั้นเป็นจักรวรรดิที่มีอำนาจมากที่สุดในโลกที่เรียกว่าตะวันออกในสมัยนั้นเช่นกัน และก็ทรงพลังมากกว่าจักรวรรดิสเปนด้วย

เมื่อทีมดัชต์นั้นมีพลังมากพอในปี 1581 พวกดัตช์ก็โค่นล้มจักรวรรดิสเปนลงและก้อบดบังรัศมีทั้งสเปนและจีนในฐานะจักรวรรดิที่รวยที่สุดในโลกตั้งแต่ปี 1625 ถึงปี 1780 ในตอนที่ทีมดัชต์นั้นเสื่อมลง

ชาวดัตช์นั้นเป็นกลุ่มคนที่มีการศึกษามากและค่อนข้างเป็นผู้คิดค้นสิ่งต่างๆ สองสิ่งที่สำคัญที่สุดที่พวกเขาคิดขึ้นมาก็คือ 1. เรือเดินสมุทรที่ดีและมีลักษณะเฉพาะที่สามารถนำล่องไปทั่วโลกได้ และด้วยทักษะการสู้รบที่พวกเขาได้มาจากการต่อสู้ในถิ่นยุโรปแล้ว ก็ทำให้พวกเขานั้นสะสมความมั่งคั่งรอบโลกได้ และ 2. ความเป็นทุนนิยมที่เติมพลังในความอุตสาหะเหล่านี้

ไม่เพียงแค่พวกชาวดัตช์นั้นยึดถือวิถีทางทางด้านทุนนิยมในการจัดสรรทรัพยากร แต่พวกเขาเป็นผู้คิดค้นระบบทุนนิยมขึ้นมากเอง พวกเขาสร้างบริษํทมหาชนบริษัทแรก (Ducth East India Company) และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งแรกของโลกในปี 1602 และพวกเขาก็เป็นผู้สร้างสกุลเงินสำรองของโลกสกุลแรกนั่นเอง (world’s first reserve currency)

การมีนวัตกรรมทางด้านการตลาดสำหรับลงทุนในหลายๆครั้งของชาวดัตช์ในสมัยนั้นทำให้พวกเขาประสพความสำเร็จในการดึงดูดกำไรและนักลงทุน ทำให้เมืองอัมสเตอดัมนั้นเป็นศูนย์กลางทางการเงินชั้นนำของโลกในสมัยนั้น

ในช่วงเวลารุ่งโรจน์แบบนี้ ประเทศอื่นๆก็เริ่มมีพลังมากขึ้นเช่นกัน และเมื่อประเทศต่างๆเริ่มที่จะมีความสามารถทางการแข่งขันได้ ชาวดัตช์ก็เริ่มรู้ว่าการบริหารจักรวรรดิให้ดีและกำไรได้เหมือนเดิมนั้นค่อนข้างท้าทาย ยิ่งไปกว่านั้น จักรวรรดิอังกฤษได้เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและทางการทหารในช่วงเวลานั้นเช่นกัน และชาวดัตช์และชาวอังกฤษก็ได้มีข้อขัดแย้งมากมายทางด้านเศรษฐกิจ

ในช่วงประมาณปี 1750 ชาวอังกฤษนั้นค่อนข้างมีอำนาจมากขึ้นกว่าชาวดัตช์ละ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและทางด้านการทหาร ทั้งเพราะว่าชาวอังกฤษและฝรั่งเศษนั้นเข้มแข็งขึ้นในขณะที่ชาวดัตช์นั้นอ่อนแอลง เนื่องมาจากเหตุผลคลาสสิกก็คือ ชาวดัชต์เป็นหนี้มากขึ้น และมีปัญหาภายในมากขึ้นเนื่องมากจากความร่ำรวยที่แตกต่างกันและมาจากการแบ่งฝ่ายทางการเมือง และสุดท้ายก็คือการทหารที่อ่อนแอลง และท้ายสุดแล้วในปี 1815 ตั้งแต่มีการเริ่มปฏิวัติฝรั่งเศส ทีมอังกฤษและพันธมิตรก็ชนะ

การมาและการเสื่อมถอยของจักรวรรดิอังกฤษและเงินสกุลปอนด์

ตามธรรมเนียมหลังสงคราม ทีมที่ชนะ อย่างอังกฤษ รัสเซีย ออสเตรีย และปรัสเชีย ก็มีการพบกันเมื่อสร้างกฏของโลกขึ้นมาใหม่ ซึ่งทำให้ชาวอังกฤษนั่นยิ่งใหญ่อยู่ได้ถึงร้อยปีต่อมา ไม่มีอำนาจใดมาต่อกรได้เลย และสกุลเงินปอนด์ก็เป็นสกุลเงินสำรองหลักของโลก และโลกก็เจริญงอกเงยเรื่อยมา

ในช่วงเวลาประมาณปี 1760 อังกฤษก็ได้มีการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม (industrial revolution) เน้นการผลิตจากเครื่องจักรโดยเฉพาะเครื่องจักรไอน้ำ ประเทศเล็กๆโดยเปรียบเทียบนี้มีคนที่มีการศึกษาที่นี้ สามารถกลายเป็นประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดในโลกมากจากการผสมผสานระหว่างการเป็นนักค้นพบ ทุนนิยม การมีเรือที่ยอดเยี่ยม และเทคโนโลยีอื่นๆซึ่งทำให้อังกฤษนั้นครอบครองโลกอยู่ถึงร้อยปีถัดมา

ลอนดอนแทนที่อัมสเตอดัมในฐานะเมืองแห่งตลาดทุนและก็มีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทางการเงินเรื่อยมา ในขณะเดียวกัน ประเทศอื่นๆก็ใช้ช่วงเวลาแห่งความสงบและความเจริญรุ่งเรืองนี้ที่ทำให้ตัวเองรวยขึ้นและแข็งแรงขึ้นโดยเข้าไปยึดครองพื้นที่ต่างๆทั่วโลก หลายๆประเทศลอกเลียนแบบอังกฤษทั้งทางด้านเทคโนโลยี เทคนิคต่างๆ การผลิต และก็ก่อให้เกิดช่องว่างทางฐานะเช่นกัน

และก้อเช่นเดียวกัน เมื่อประเทศอื่นๆมีความสามารถทางด้านการแข่งขันมากขึ้น จักรวรรดิอังกฤษก็เริ่มมีต้นทุนสูงในการดูแล และเริ่มเข้าสู่วงจรเดียวกับทีมดัตช์

การมาและการเสื่อมถอยของจักรวรรดิอเมริกันและสกุลเงินดอลล่าห์สหรัฐหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ในกรณีนี้ อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และอิตาลีก็พบปะกันเพื่อสร้างกฏของโลกใหม่ การที่เยอรมันมีหนี้สินต่างประเทศทำให้เยอรมันนั้นมีเศรษฐกิจถดถอยและเงินเฟ้อสูงขึ้นหลังสงคราม จากปี 1920 ถึง 1923 ตามมาด้วยที่ทำให้หนี้หายไปหมด ตามมาด้วยความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและการทหารที่ฟื้นฟู เป็นช่วงที่มีความสงบและความเจริญในที่อื่นๆ

ในช่วงเวลานั้นสหรัฐอเมริกาก็ดำเนินรอยตามนักทุนนิยม นิวยอร์คกลายเป็นคู่แข่งทางด้านการเงินแทนที่ลอนดอน เป็นช่องทางการหาเงินลงทุนจากหลายๆธุรกิจ

ประเทศอื่นๆก็เริ่มมีความสามารถทางการแข่งขันที่สูงขึ้นและเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาท้าทายอำนาจคนที่เป็นอยู่ในตอนนั้น ทำให้เยอรมันและญี่ปุ่น รวมถึงอเมริกานั้นมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและทหารมากขึ้นมาท้าทายอังกฤษ แต่อเมริกาค่อนข้างจะแยกตัวโดดเดี่ยวในตอนนั้น เยอรมันและญี่ปุ่นก็เริ่มขยายอำนาจซึ่งนำไปสู่สงครามในยุโรปและเอเชียในช่วงปี 1930 และจบลงในปี 1945

 การมาของจักรวรรดิ์อเมริกันและสกุลเงินดอลลาห์สหรัฐหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ผู้ชนะอย่างอเมริกา อังกฤษ และรัสเซียก็พบกันเช่นเคยเพื่อตั้งกฏของโลกใหม่ อเมริกาก็ตามระบบทุนนิยม มีระบบการเงินใหม่ที่ใช้เงินดอลล่าห์เชื่อมกับทองคำ และให้สกุลเงินประเทศอื่นๆนั้นผูกกับดอลลาห์แทน

นิวยอร์คนั้นเจริญรุ่งเรืองมากในฐานะศูนย์กลางทางการเงิน และวงจรหนี้และตลาดทุนก็เริ่มอีกครั้ง ซึ่งทำให้มีช่วงสงบสุขและเจริญรุ่งเรืองมา 75 ปีจนถึงวันนี้

จะเห็นได้ว่าในแต่ละวงจรแต่ละช่วงเวลาก็จะมีการเป็นหนี้กันมากขึ้นเพื่อขยับตัวเองขึ้นไปสู่ระดับที่สูงขึ้น สร้างช่องว่างทางสังคมระหว่างคนรวยและคนจนมากขึ้น มีความขัดแย้งภายในเพิ่มมากขึ้น ประเทศเติบโตมากเกินไปจนเริ่มดูแลไม่ไหว และก็ก่อให้เกิดสงครามในรูปแบบต่างๆ ซึ่งก็คือปัจจุบันที่ที่เรากำลังเริ่มเป็นอยู่ในขณะนี้

และอีกครั้ง ในช่วงที่สงบสุขหลังสงครามนี้ผ่านมานั้น ประเทศอื่นๆก็พยายามพัฒนาความสามารถทางด้านการแข่งขันของตัวเองเช่นเคยทั้งทางด้านเศรษฐกิจและทางการทหาร

ในประเทศจีนนั้น เหมา เจอตุง ที่เสียงชีวิตไปในปี 1976 นั้นนำทางให้ เดง เซียวผิง นำนโยบายไปในทางที่รวมปัจจัยทางทุนนิยมเข้าไปในด้านความเป็นเจ้าของเอกชนของธุรกิจใหญ่ๆ มีการพัฒนาตลาดหนี้และตลาดทุน การคิดค้นนวัตกรรมทางด้านการค้าและเทคโนโลยี และมีจำนวนนักทุนนิยมพันล้านเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ดีทั้งหมดนี้ก็ยังอยู่ภายใต้การความคุมที่เข้มงวดของพรรคคอมมิวนิสต์ และเนื่องมากจากสิ่งเหล่านี้เอง ที่โลกขยับไปสู่ความเป็นโลกาภิวัฒน์มากขึ้นด้วย จีนก็เข้มแข้งขึ้นในแทบจะทุกๆด้าน และยังเติบโตขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่าประเทศอเมริกาหรือประเทศพัฒนาแล้วหลายๆประเทศด้วย

อย่างที่เราเห็น การมาและการเสื่อมถอยของสามมหาอำนาจในอดีตนั้นตามบทตามสคริปที่กล่าวไว้ในบทที่ 1 แม้ว่าแต่ละจักรวรรดิก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างออกไปบ้าง

ใครที่สนใจอยากจะรู้รายละเอียดที่ลงลึกไปอีกว่าการมาและการเสื่อมถอยของแต่ละจักรวรรดินั้นมีรายละเอียดอะไรยังไงก็สามารถอ่านฟรีได้จากเว็บด้านล่างนะครับ

อ้างอิง:

https://www.principles.com/the-changing-world-order/#chapter3BigCycleEmpireLife

https://www.linkedin.com/pulse/big-cycles-over-last-500-years-ray-dalio

Leave a Reply