สำหรับธนาคารกลางทั้งหลายแล้ว เงินสดในรูปของดิจิตอลนั้นให้ประโยชน์ในด้านที่ว่าปลอดภัยกว่า สะดวกรวดเร็วกว่า และก็เป็นทางเลือกที่ยื่นหยุ่นมากกว่าเมื่อเทียบกับเงินเหรียญและธนบัตร
สกุลเงินในรูปแบบดิจิตอลที่จะออกโดยธนาคารกลางนั้นกำลังมา ประเทศจีนได้เริ่มทดลองใช้เงินหยวนอิเล็คทรอนิกส์ไปก่อนแล้ว (e-yuan) เหล่าเจ้าหน้าที่ของฝั่งยุโรปก็ต้องการปล่อยเงินยูโรดิจิตอลภายในปี 2025 ธนาคารกลางของสหรัฐฯ (FED) ก็กำลังทำการศึกษาอยู่ว่าจะเข้าร่วมวงดีมั้ย บาฮามาสก็มีเวอร์ชั่นของตัวเองและก็ได้เริ่มใช้ ‘sand dollar’ เข้าไปสู่การหมุนของเงินในระบบแล้ว
ความเร่งรีบเหล่านี้นั้นกระตุ้นทั้งความน่าตื่นเต้นและความสับสน สกุลเงินดิจิตอลโดยธนาคารกลาง หรือ CBDC นี้ ฟังแล้วดูเหมือนเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการเงิน บางทีอาจจะดูเหมือนว่าจะไปสู้กับบิตคอยน์ แต่มันก็ยังไม่ชัดเจนนักว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ หลายๆคนก็ใช้สกุลเงินในรูปแบบดิจิตอลกันอยู่แล้วทุกวันนี้ ไม่ว่าจะผ่านแอพในมือถือเพื่อชำระสินค้าและบริการต่างๆหรือผ่านทางเว็บไซท์ของธนาคารเพื่อทำธุรกรรมหรือโอนเงินต่างๆ
สกุลเงินในรูปแบบดิจิตอลใหม่นี้คืออะไรและทำไมธนาคารกลางต่างๆถึงต้องสร้างมันขึ้นมา?
เงินดิจิตอลจริงๆแล้วก็คือเงินสดในอีกรูปแบบนึงนั่นแหละ (เงินสด ในที่นี้ก็คือเงินจริงๆที่จับต้องได้ที่ตีพิมพ์โดยธนาคารกลาง ที่เราจับถือใช้กันทุกวันนี้แหละ) ในประเทศส่วนใหญ่แล้ว การออกแบบของมันก็อาจจะคล้ายคลึงกับแพลตฟอร์มสำหรับการชำระเงินออนไลน์ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน
แต่ก็มีข้อแตกต่างอย่างชัดเจนอยู่ข้อนึงก็คือ เงินที่ฝากหรือมีอยู่กับแอพหรือเว็บไซท์นั้นก็จะเหมือนฝากเงินกับธนาคารกลางเลย (เหมือนเราฝากเงินโดยตรงกับแบงค์ชาติ ไม่ใช่แบงค์พาณิชย์ทั่วไปแบบทุกวันนี้)
แรงผลักดันหลักของธนาคารกลางก็คือเพื่อที่จำกัดความเสี่ยงที่มีอยู่ในโลกที่กำลังเปลี่ยนตัวเองไปสู่สังคมไร้เงินสดเพื่อการชำระสินค้าและบริการ พวกเขา (ธนาคารกลาง) นั้นเป็นผู้รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของระบบการเงิน ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สุดในการรับประกันว่าผู้คนนั้นจะสามารถใช้เงินสดในการซื้อสิ่งของและบริการได้
แต่ในโลกที่ Apple Pay และ Alipay เป็นผู้ครองตลาดอยู่ในปัจจุบันนี้ ธุรกรรมที่เกิดขึ้นทุกๆวันนั้นก็จะขึ้นอยู่กับบริษัทเอกชนต่างๆแทนที่จะเป็นเหล่าธนาคารกลาง เงินคริปโตอย่างบิตคอยน์ รวมไปถึง ‘stablecoins’ ทั้งหลาย (เงินดิจิตอลที่ผูกตัวเองเข้ากับมูลค่าของสกุลเงินดอลล่าห์หรือสินทรัพย์อื่นๆ) อย่างเช่น Diem (ก่อนหน้านี้เรียก Libra) ที่ Facebook เป็นผู้สนับสนุนหลัก ก็ค่อนข้างจะดูเป็นความเสี่ยงเป็นภัยอยู่ ซึ่งก็อาจจะโดนยึดหรือกดไว้โดยอำนาจรัฐในภายหลังได้
แต่สำหรับ CBDC แล้ว ธนาคารกลางจะมีพลังที่ยังคงอยู่ในการชำระเงินผ่านออนไลน์ ซึ่งก็จะช่วยลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับความมั่นคงทางการเงินจากการที่ต้องพึ่งพาบริษัทเอกชนทั้งหมดสำหรับระบบการชำระเงินนั้น และบางคนก็อาจจะชื่นชอบทางเลือกที่ว่าสามารถเก็บเงินบางส่วนในรูปแบบดิจิตอลไว้กับแพลตฟอร์มที่เชื่อถืออย่างเป็นทางการได้
CBDC ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เครื่องมือของธนาคารกลางที่ใช้ปกป้องพื้นที่ของตัวเอง แต่ธนาคารกลางก็มองเห็นโอกาสด้วยเช่นกัน การทำธุรกรรมแบบไร้เงินสดนั้นมีประโยชน์ในแง่ที่ว่าทำให้การชำระเงินระหว่างกันนั้นมีความรวดเร็วที่มากขึ้น มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นและก็มีโอกาสที่จะเกิดการปลอมแปลงเงินได้น้อยกว่า
การออก (ตีพิมพ์) เงินในรูปแบบดิจิตอลนั้นก็มีต้นทุนที่ถูกกว่าในการผลิตเหรียญโลหะออกมาด้วย (บนพื้นฐานที่ว่ามันจะไม่โดนแฮค) เจ้าหน้าที่ของรัฐก็สามารถคอยสอดส่องดูแลการใช้เงินดิจิตอลนี้ได้ง่ายกว่าด้วย รวมไปถึงเพิ่มความยากลำบากสำหรับกิจกรรมทางอาชญากรรมด้วย
สำหรับประเทศที่ยากจนกว่า ธนาคารกลางก็หวังว่าจะนำสกุลเงินดิจิตอลนี้มีส่วนช่วยให้ประชากรของตนเองนั้นเข้าสู่ระบบการเงินด้วยสำหรับคนที่ไม่มีบัญชีหรือไม่ได้ทำธุรกรรมใดๆกับธนาคาร ซึ่งก็จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วย
ธนาคารกลางก็จะมีอำนาจใหม่ด้วย ทุกวันนี้อุปสรรคอย่างนึงของธนาคารกลางก็คือการกำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบติดลบหรือต่ำกว่าศูยน์ ในโลกที่ไม่มีเงินสดนั้น ในทางทฤษฎีแล้วทางธนาคารกลางสามารถกำหนดโปรแกรมสกุลเงินดิจิตอลให้สามารถมีอัตราดอกเบี้ยที่ติดลบได้ พวกเขาสามารถใช้แอพกระเป๋าตังเพื่ออัดฉีดเงินสดเข้าไปในระบบได้โดยตรง ตัวอย่างเช่นส่งเงินไปให้กับประชากรในพื้นที่ที่เกิดภัยธรรมชาติ หรืออย่างบ้านเราที่เกิดบ่อยๆก็คือน้ำท่วมได้
ความทะเยอทะยานที่จะใช้สกุลเงินดิจิตอลนี้ดูมีอนาคตที่สดใส ในหลายๆปีข้างหน้าที่กำลังมาถึงนั้น ทางธนาคารกลางก็ยังจะคงใช้ธนบัตรควบคู่ไปกับกระเป๋าตังอิเลคโทรนิคส์นั่นแหละ เพราะก็ยังเข้าใจว่าหลายๆคนก็ยังอยากจะยึดติดกับเงินสดทางกายภาพอยู่ หรือก็แค่บางคนก็ยังไม่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือได้ นักการธนาคารนั้นก็มีความระมัดระวังเป็นอาชีพอยู่แล้ว คุณ Jerome Powell ประธานของ FED นั้นก็เคยพูดว่าอเมริกานั้นเลือกที่จะ ‘ทำมันให้ถูกต้องดีกว่าเป็นคนแรก’ ที่จะใช้สกุลเงินดิจิตอลที่ว่านี้
จริงๆแล้วคุณ Powell และผองพวกนั้นมีประสพการณ์ท่วมท้นอยู่แล้วในการบริหารสกุลเงินดิจิตอลแบบ ‘wholesale’ หรือแบบขายส่ง อยู่แล้ว ก็คือเงินทุนสำรองที่เหล่าธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับธนาคารกลางนั่นแหละ คำถามจริงๆแล้วมันอยู่ที่ว่าจะออกแบบสกุลเงินสำหรับประชาชนทั่วไปในรูปแบบ ‘retail’ หรือแบบขายปลีก ได้อย่างไรมากกว่า
ทางเลือกหนึ่งสำหรับธนาคารกลางก็คือนำเสนอแอพมือถือของตัวเองอย่างเป็นทางการ และอีกทางเลือกก็คือให้คนเลือกแอพสำหรับจ่ายเงินที่ตัวเองต้องการ เช่นตอนนี้ แต่ทว่าก็ให้มีเงินสดดิจิตอลนั้นผูกตรงเข้ากับบัญชีของตัวเองไว้กับธนาคารกลางด้วย แทนที่จะให้มันอยู่ในบัญชีผู้ให้บริการแอพนั้นๆ
นักนโยบายบางกลุ่มจะมีความกังวลเกี่ยวกับ ‘digital bank runs’ คือการผู้ฝากเงินแห่กันไปถอนเงิน (แต่ในทางดิจิตอล) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้หากประชาชนนั้นแปลงเงินออมของตัวเองไปสู่ CBDC แบบตื่นตระหนก ทำให้เกิดการขาดสภาพคล่องในธนารคารอื่นๆได้ ดังนั้นการจำกัดการถือสกุลเงินหรือการโอนเงินของธนาคารกลางนั้นอาจจะเป็นการคุ้มครองป้องกันที่ดีอีกชั้นหนึ่งอย่างน้อยก็ในช่วงเริ่มต้น
การไล่แก้ปมในแต่ละรายละเอียดนี้นั้นต้องใช้เวลา แต่ทิศทางของเงินดิจิตอลโดยธนาคารกลางโดยภาพรวมแล้วก็ชัดเจนว่าต้องไปทางนี้ และเมื่อเงินสดเริ่มหายไป สกุลเงินดิจิตอลอย่างเป็นทางการก็จะปรากฏตัวขึ้นมาและการเชื่อมโยงระหว่างประชาชนและธนาคารกลางก็มีแนวโน้มที่จะแข็งแรงขึ้น
อ้างอิง:
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.