พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Finance

งบกระแสเงินสด (Cashflows Statement)

ว่ากันว่าต่อให้บริษัทจะมีกำไรดีขนาดไหนก็ตาม แต่หากกระแสดเงินสดไม่เพียงพอในการดำเนินธุรกิจ พรุ่งนี้บริษัทก็อาจจะล้มได้ ในภายหลังบริษัทฯจดทะเบียนต่างๆจึงต้องเพิ่มงบกระแสเงินสดเข้ามาในรายงานประจำไตรมาสด้วยเพื่อให้นั่งลงทุนได้รู้ว่าบริษัทนั้นมีกระแสเงินสดไหลเข้าออกอย่างไรบ้าง

งบกระแสเงินสด (cashflow statment) จะแสดงว่าเงินสดของบริษัทนั้นมีการไหลเข้าออกในแต่ละไตรมาสหรือแต่ละปีอย่างไร

ฟังดูผิวเผินอาจจะดูเหมือนว่างบกระแสเงินสดกับงบกำไรขาดทุน (income statement) นั้นเหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันคืองบกำไรขาดทุนจะมีการแสดงถึงรายรับหรือรายจ่ายที่ไม่ใช่เงินสดรวมอยู่ด้วย ซึ่งในงบกระแสเงินสดนั้นจะไม่มี

ตัวอย่างง่ายๆก็คือว่า หากเราเห็นว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 10 ล้านบาทแสดงอยู่ในงบกำไรขาดทุน ก็ไม่ได้แปลว่าบริษัทนั้นจะมีเงินสดเพิ่มขึ้น 10 ล้านบาทไปด้วย แต่หากงบกระแสเงินสดบอกว่ามีเงินเพิ่มเข้ามาในบริษัท 10 ล้านบาทก็จะมีเงินเข้ามา 10 ล้านบาทจริงๆ (ในช่วงนั้นที่แสดงข้อมูลนั้น)

และเนื่องจากว่างบกระแสเงินสดนั้นแสดงถึงเงินสดที่ไปๆมาๆจริงๆของบริษัท งบกระแสเงินสดจึงเป็นตัวสำคัญในการที่จะช่วยให้เข้าในพื้นฐานของบริษัทได้ดีขึ้น มันจะแสดงให้เห็นว่าบริษัทนั้นมีการจ่ายเงินสำหรับการดำเนินกิจการของบริษัทอย่างไร หรือว่ามีการใช้จ่ายไปเพื่อการเจริญเติบโตของบริษัทในทางไหน

ดังนั้นนอกจากงบดุล (balance sheet) และ งบกำไรขาดทุน (income statement) แล้ว งบกระแสเงินสด (cashflow statement) จึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันที่จะดูว่าบริษัทจะรอดไปแต่ละช่วงแต่ละปีหรือจะยืนระยะได้อีกนานแค่ไหนในการทำธุรกิจ

และแม้ว่าแต่ละบริษัทจะมีวิธีหาและใช้เงินสดที่แตกต่างกันไป แต่โดยปกติแล้วงบกระแสดเงินสดจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ

  1. เงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมการดำเนินงาน (cashflows from operations) – บริษัทหาเงินมาอย่างไร
  2. เงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมการจัดหาเงิน (cashflows from financing) – บริษัทหาเงินมาอย่างไร
  3. เงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมการลงทุน (cashflows from investing) – บริษัทใช้เงินไปอย่างไร

เงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมการดำเนินงาน (cashflows from operations)

ในส่วนนี้จะแสดงถึงเงินสดที่บริษัทได้มาจากการขายสินค้าและบริการลบด้วยเงินสดที่ต้องใช้ไปในการขายสินค้าและบริการนั้นๆ ปกติแล้วก็เหมือนเราใช้จ่ายเงินสดไปเพื่อขายและก็ได้รับเงินสดมาจากการขาย ซึ่งหากหักลบกลบกันแล้วเป็นบวกก็จะดูดีกว่า บริษัทที่เติบโตอย่างรวดเร็วมักจะใช้เงินสดหมดไปอย่างรวดเร็วเพื่อผลักดันการเจริญเติบโตของบริษัท ทำให้เงินสดในส่วนนี้อาจจะออกมาติดลบได้ ซึ่งก็ไม่ได้แปลว่ามันจะแย่เกินทน อย่างไรก็ดีหากเงินสดจากการดำเนินงานกับกำไรสุทธิจากงบกำไรขาดทุนมีความแตกต่างกันมากเกินไปก็อาจจะทำให้มองได้ว่าบริษัทนั้นบันทึกรายได้หรือต้นทุนเร็วหรือช้าเกินไป

เงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมการจัดหาเงิน (cashflows from financing)

ในส่วนนี้จะแสดงถึงการได้มาของเงินลงทุนที่มาจากนอกบริษัท ปกติแล้วอาจเกิดจากการขายหุ้นหรือพันธบัตรของบริษัทออกไป หรือการกู้ยืมธนาคารเพื่อให้ได้เงินมาสำหรับใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆของบริษัท ซึ่งการใช้หนี้คืนธนาคารหรือแหล่งที่กู้ยืมมาของเงินทุนก็จะปรากฏอยู่ในส่วนนี้เช่นกัน รวมไปถึงการจ่ายเงินปันผลและการซื้อหุ้นคืน

เงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมการลงทุน (cashflows from investing)

ในส่วนสุดท้ายนี้จะแสดงถึงจำนวนเงินสดที่บริษัทใช้จ่ายไปในกับค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนต่างๆ (capital expenditures) เช่น การลงทุนสร้างโรงงานใหม่ การซื้อโรงงานใหม่ การซื้อเครื่องจักร การซื้ออุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้บริษัทไปต่อได้ ซึ่งก็รวมไปถึงการเข้าซื้อกิจการอื่นๆและการลงทุนทางการเงินในตลาดการเงินต่างๆเช่นกัน อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายด้านการลงทุนนี้ควรจะสมน้ำสมเนื้อกับค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าเสื่อมสภาพ (depreciation) ด้วย เพราะไม่งั้นแล้วก็อาจทำให้เห็นได้ว่ามีเงินเข้ามาจากการลงทุนที่สูงเกินจนอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องที่ดีเนื่องจากค่าใช้จ่ายค่าเสื่อมสภาพที่น้อยเกินไป

เมื่อร่วมทั้ง 3 ส่วนนี้เข้าด้วยกันแล้วก็จะทำให้เราสามารถพิจารณา Free Cash Flow (ภาษาไทยเรียกระแสเงินสดอิสระ ฟังแล้วอาจะจะแหม่งๆ) ซึ่งก็จะแสดงถึงความสามารถในการจ่ายหนี้ จ่ายเงินปันผล ซื้อหุ้นคืน จะใช้จ่ายเพื่อการเจริญเติบโตของบริษัท หรือจะคืนผู้ถือหุ้นก็ได้ (ประหนึ่งว่าเงินที่เหลือจากการดำเนินการนั่นแหละ) ปกติแล้วจะคำนวณโดย

Net Income (กำไรสุทธิ)
+
Amortization/Depreciation (ค่าเสื่อมสภาพ)

Changes in Working Capital (การเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียน)

Capital Expenditures (ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุน)
=
Free Cash Flow (กระแสเงินสดอิสระ)

โดยทั้งหมดทั้งมวลแล้วบริษัทที่น่าดึงดูดก็จะเป็นแนวๆบริษัทที่สามารถจ่ายเงินสำหรับการดำเนินงานและเพื่อการเจริญเติบโตของบริษัทได้โดยไม่ต้องพึ่งแหล่งเงินทุน หรือก็คือสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวเองจากการดำเนินกิจกรรมการดำเนินงานของตัวเองนั่นเอง

อ้างอิง:

http://www.arborinvestmentplanner.com/cash-flow-statement-analysis-purpose-components-and-format/

https://www.investopedia.com/articles/stocks/07/easycashflow.asp

blenlit

hakwamroo.com


Leave a Reply