พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Investment

Buffettology (การศึกษาถึงวิธีการของวอเรน บัฟเฟต)

https://www.economist.com/business/2019/03/02/what-four-decades-of-correspondence-from-the-oracle-of-omaha-reveal

คำว่า -logy โดยปกติแล้วเวลาเอาไปต่อท้ายกับอะไรก็จะแปลว่า “The Study of ….” หรือแปลได้ว่า “การศึกษาถึงเรื่อง…” ในกรณีหัวข้อวันนี้ก็คือ การศึกษาถึงเรื่อง (วิธีการ) ของปู่วอเรน บัฟเฟต นั่นเอง

จาก The Economist ฉบับล่าสุด 2 มีนาคม 2019 ในบทความเรื่อง Buffettology กับ 4 ทศวรรษที่ผ่านไป เรื่องราวที่ปู่วอเรนได้บอกได้สอนนั้นบ่งบอกอะไรเราได้บ้าง ก็ขออนุญาตินำมาแปลเช่นเคย

การเปลี่ยนไปของกลยุทธ์

หากนักทุนนิยมรุ่นใหม่ๆที่กำลังจะเป็นอนาคตอยากจะศึกษาเกี่ยวกับนักทุนนิยมในวันนี้ ที่แรกๆที่ควรจะเริ่มต้นที่ดีก็คงเป็นจดหมายถึงผู้ถือหุ้นประจำปี (annual letters) ของ Berkshire Hathaway ที่เขียนโดยปู่วอเรนทุกปีนั่นเอง แต่มันโชคไม่ดีเสียหน่อยเมื่อมุมมองด้านเศรษฐกิจจากนักลงทุนที่ได้รับความนิยมสูงๆของโลกนั้นเต็มไปด้วยมุขที่ซ้ำๆอย่างกอล์ฟและอาหารจานด่วน

ผู้อ่านที่ขี้ระมัดระวังบางคนอาจจะไม่อดทนพอที่จะเข้าถึงอารมณ์ขันของปู่วอเรนเท่าไหร่ The Economist นั้นได้รวบรวมบทความและวิเคราะห์จดหมายของปู่วอเรนในช่วง 40 ปีที่ผ่านมาเพื่อดูว่าสิ่งที่ปู่เขียนนั้นได้เปิดเผยอะไรบ้างเกี่ยวกับความคิดของเขา

Berkshire นั้นเปลี่ยนไปอย่างมาก มีการเติบโตของขนาดบริษัทอย่างยิ่งยวด ปู่วอเรนนั้นเดี๋ยวนี้จะพูดถึง “ธุรกิจหลายๆอย่าง” แทนที่จะพูดถึงแต่ “ธุรกิจอย่างเดียว” และหลังๆก็จะใช้คำคุณศัพท์อย่าง “ใหญ่มาก” (ให้ดูกราฟ) จดหมายหลายๆฉบับบอกว่าในอดีต บริษัทจะให้ความสำคัญกับการซื้อหุ้นในสัดส่วนที่น้อยของบริษัทจดทะเบียน แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปเป็นซื้อเป็นจำนวนที่มากและซื้อบริษัทที่จัดตั้งมาดีแล้วและก็ซื้อแบบซื้อทันที (แทนที่จะซื้อเล็กๆน้อยๆย่อยๆค่อยๆซื้อแบบในอดีต)

การเปลี่ยนแปลงไปของกลยุทธ์นี้ก็ส่งผลให้คนภายนอกนั้นก็ค่อนข้างยากที่จะประเมินมูลค่าที่แท้จริงของ Berkshire ให้มีความถูกต้อง

หากหันไปมองปี 2018 ที่ผ่านมาจะเห็นว่ามูลค่าทางบัญชี (book value) ของ Berkshire นั้นเพิ่มขึ้นแค่ 0.4% ซึ่งแย่ที่สุดตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจเลยทีเดียว กำไรก็มีเพียงแค่ 4,000 ล้านเหรียญเท่านั้น คิดเป็นเพียงแค่ 1.2% ของอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (return on equity)

ปู่วอเรนนั้นโต้แย้งว่าตัวเลขเหล่านี้ส่วนนึงนั้นสะท้อนมาจากมาตราฐานทางบัญชีที่ลึกลับซ่อนเงื่อนซึ่งไม่สามารถใช้ได้ดีกับการลงทุนในหลายๆธุรกิจของเขา การเปลี่ยนไปของหลักการทางบัญชีนั้นบังคับให้ปู่วอเรนต้องลงบันทึกให้สะท้อนถึงมูลค่าของตลาดที่เหวี่ยงไปเหวี่ยงมา และกระทบถึงมูลค่าพอท (173,000 ล้านเหรียญ) และกำไรของเขา ทำให้ผลประกอบการในปี 2018 นั้นลดลงไปถึง 20,600 ล้านเหรียญเลยทีเดียว

แต่ในทางกลับกัน มูลค่าทางบัญชีของบริษัทที่ปู่วอเรนเป็นเจ้าของมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนหุ้นที่เขาถืออยู่ และกลับมีมูลค่าที่ต่ำกว่ามูลค่าปัจจุบันมาก ทำให้ Berkshire นั้นค่อนข้างมีความยากลำบากในการที่จะประเมินและรายงานผลประกอบการรายปีในแต่ละปีให้มันสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงไปของมูลค่าทางบัญชี

ปู่วอเรนก็ครวญครางถึงการเปลี่ยนแปลงในสิ่งเหล่านี้ค่อนข้างมาก มีการกล่าวอ้างอิงถึงมาตราฐานทางบัญชี (Generally Accepted Accounting Principles: GAAP) นั้นได้พุ่งขึ้นสูงเลยในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นของปู่วอเรน

อย่างไรก็ดี ในอีกมุมนึงนั้นก็แสดงให้เห็นว่าวิธีการหรือวิธีคิดของปู่วอเรนก็ค่อนข้างจะสม่ำเสมอ ปรัชญาการลงทุนของปู่นั้นก็คือการมองหาบริษัทที่มีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงตลอดเวลา ปู่คิดว่ามูลค่าของหุ้นในบริษัทที่มีอนาคตในขณะนี้นั้นค่อนข้างแพงเกินไป

ดังนั้นแล้ว Berkshire จะให้ความสำคัญในการซื้อหุ้นบริษัทตัวเองและลงทุนในหุ้นที่มีสภาพคล่องมากกว่าในปี 2019 การกล่าวถึง “repurchases” หรือการซื้อหุ้นบริษัทคืนนั้นมีมากขึ้นในขณะที่ “acquisition” หรือการเข้าซื้อกิจการนั้นโผล่มาแค่ 3 ครั้งเท่านั้นในจดหมายปีนี้

ทีนี้ หากดูจากอดีตแล้วจะเห็นว่าปู่วอเรนค่อนข้างจะไม่ค่อยโอเคกับการยืมเงินมาใช้เยอะๆสักเท่าไหร่ โดยบอกว่า “คนที่มีเหตุผลจะไม่เอาความต้องการกับความจำเป็นของตัวเองไปเสี่ยงเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ตัวเองไม่มีและไม่จำเป็น” (ปู่พูดแบบนี้…เจ็บเล็กๆครับ ดูเหมือนจะเป็นกันเยอะในสมัยนี้)

แต่ดูแล้วเหมือนจะมีข้อยกเว้นอย่างนึงในปี 2013 เมื่อเขาลงทุนใน Kraft Heinz (ใครนึกไม่ออกก็นึกถึงพวกซอสมะเขือเทศ หรือชีสแผ่น) ซึ่งเป็นหนึ่งในการลงทุนที่ผิดพลาดที่ใหญ่ที่สุดของเขา ราคาหุ้นของ Kraft Heinz นั้นดิ่งลงอย่างมาก (มากกว่า 30% ในสัปดาห์กว่าๆ)

Berkshire นั้นก็ได้รับผลกระทบจังๆต่องบดุลของบริษัทคิดเป็นเกือบ 3,000 ล้านเหรียญเลยทีเดียว การกล่าวถึง “หนี้” ก็พุ่งขึ้นเช่นกันในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นปีนี้

คำถามที่ใหญ่ที่สุดของนักลงทุนใน Berkshire ตอนนี้ก็คือใครจะมาแทนปู่วอเรนในวัย 88 ในฐานะผู้นำนี้ ส่วนพาร์ทเนอร์หรือผู้ร่วมบริหารอย่างปู่ชาลี มังเกอร์ ก็จะมีอายุครบ 95 ปีในเดือนมกราคม ซึ่งตอนนี้เห็นชัดที่สุดก็คงเป็น อาจิต เจน ในวัย 67 และ เกรก อาเบล ในวัย 56

ทั้งสองท่านนี้ได้รับการแต่งตั้งเป็นหนึ่งในบอร์ดบริหารของ Berkshire เมื่อปีที่แล้ว และมีกล่าวถึงจำนวณ 3 ครั้งในจดหมายปีนี้ ปู่วอเรนกล่าวว่า ทั้งสองท่านนี้มีเลือด Berkshire ไหลอยู่เต็มตัว ซึ่งในปีต่อๆไปหากมีจดหมายถึงผู้ถือหุ้นออกมาจากสองคนนี้ก็อาจจะเป็นจริงก็ได้ (ที่จะเป็นผู้สืบทอด) ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น คนที่ลงทุนใน Berkshire ก็น่าจะแฮปปี้ดี (โดยเฉพาะถ้าพวกเขาละเว้นการเล่นมุข)

แหม่ The Economist นี่ก็มีการเหน็บปู่วอเรนส่งท้าย

อ้างอิง:

https://www.economist.com/business/2019/03/02/what-four-decades-of-correspondence-from-the-oracle-of-omaha-reveal

blenlit

Hakwarmroo.com

Leave a Reply