โดยมากแล้วมูลค่าทางบัญชี (book value) ของบริษัทนั้นก็ค่อนข้างจะเป็นการประเมินมูลค่าของหุ้นหรือของบริษัทนั้นๆที่อาจจะดูผิวเผิน
โดยการประเมินนั้นมักจะมาจากความคิดที่ว่าหากบริษัทนั้นมีเหตุอันควรต้องทำให้ล้มเลิกกิจการไป บริษัทดังกล่าวจะสามารถแปลงทรัพย์สินที่บริษัทถือครองอยู่เป็นเงินสดได้เท่าไหร่ตามที่มีการบันทึกไว้ในสมุดบัญชีหรืองบดุลของบริษัท โดยที่มักจะเป็นการโฟกัสไปที่ทรัพย์สินที่สามารถจับต้องได้ (tangible assets) ของบริษัทเป็นหลัก
ยอดเงินที่คาดหวังจากการแปลงทรัพย์สินดังกล่าวเป็นเงินสดนั้นก็คือมูลค่าทางบัญชีที่บอกไปตอนต้น และจริงๆแล้วคำว่า “equity” หรือส่วนทุนของผู้ถือหุ้นก็สามารถใช้แทนมูลค่าทางบัญชีได้ แต่โดยทั่วไปแล้วส่วนทุนของผู้ถือหุ้นมักจะใช้กับหุ้นสามัญ (common stocks) มากกว่า
และจะว่าไปจริงๆแล้วหากบริษัทต้องมีการล้มเลิกกิจการและนำทรัพย์สินที่มีอยู่ในบริษัทมาออกขายทอดตลาดจริงๆ มูลค่าที่จะได้รับจริงก็มักจะเป็นมูลค่าที่น้อยกว่าที่จดบันทึกไว้ในงบดุลของบริษัทอยู่เยอะทีเดียว (อารมณ์เหมือนขายของเก่า ขายของมือสอง ใครจะมาจะให้ราคาสูงๆถูกมั้ยหละครับ)
ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว ในทุกๆข้อกำหนดต่างๆที่นำไปสู่การตัดสินใจที่จะขายธุรกิจตัวเองทอดตลาดนั้นก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะได้มูลค่าของทรัพย์สินนั้นใกล้เคียงกับตุ้นทุนหรือเทียบเคียงได้กับราคาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาตอนต้นของเครื่องจากหรือของโรงงานที่ลงทุนไป
ดังนั้นแล้วสิ่งที่มูลค่าทางบัญชีจะวัดจริงๆเนี่ย ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับจากการขายธุรกิจไป แต่เป็นการบ่งบอกมากกว่าว่าผู้ถือหุ้นเล่านั้นได้ใส่เงินหรือลงทุนเข้าไปในธุรกิจของตัวเองเท่าไหร่แล้ว ซึ่งก็รวมไปถึงกำไรจากการทำธุรกิจที่ยังไม่ได้รับการจัดสรรอีกด้วย
แต่ถึงกระนั้น มูลค่าหุ้นหรือบริษัทในทางบัญชีก็ยังมีความสำคัญอยู่เช่นกันในการวิเคราะห์มูลค่าของบริษัท เนื่องจากว่ามันยังมีความสัมพันธ์แบบหลวมๆหยาบๆระหว่างจำนวนเงินที่มีการใส่เข้าไปในบริษัทหรือธุรกิจนั้น (invested capital) และกำไรเฉลี่ยที่บริษัททำได้ (average earnings)
และมันก็เป็นเรื่องจริงที่ว่าในหลายๆกรณี เราจะพบว่าบริษัทต่างๆที่มีมูลค่าทรัพย์สินที่ไม่มาก แต่สามารถทำกำไรได้มากๆ ในขณะที่บริษัทที่มีทรัพย์สินเยอะๆ มีมูลค่าทรัยพ์สินมากมาย แต่กลับทำธุรกิจได้กำไรน้อยมากหรือถึงขึ้นไม่ได้เลยก็มี
อย่างไรก็ดี ในกรณีเหล่านี้ เราก็ควรต้องให้ความสนใจกับสถานการณ์เหล่านี้ เนื่องจากว่ามันมีความเป็นไปได้ที่ว่ากำไรที่ได้มามากมายจากเงินทุนที่ลงทุนไปไม่เท่าไหร่นั้น มันก็จะดึงดูดบริษัทอื่นๆให้เข้ามาแข่งขันด้วยเช่นเดียวกัน (เหมือนเวลาเห็นใครทำธุรกิจประสพความสำเร็จ มีกำไรที่ดี ก็อยากจะทำอย่างเขาบ้าง ยิ่งหากเริ่มต้นง่าย เข้าไปทำได้ง่าย ใช้ต้นทุนต่ำ ก็ยิ่งจะสามารถเข้าไปแข่งขันได้ง่ายยิ่งขึ้น)
และหากเป็นเช่นนั้น กำไรมากๆที่เห็นในบางช่วงก็อาจจะเป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราวเท่านั้น แต่ในมุมกลับกัน แม้ว่าบริษัทที่มีทรัพย์สินมากมายแต่ปัจจุบันยังไม่ได้กำไรหรือว่ามีกำไรที่น้อยในตอนนี้ก็อาจจะสามารถสร้างกำไรที่มากขึ้นได้ในอนาคตเช่นกัน
อ้างอิง: Interpretation of Financial Statement
blenlit
hakwamroo.com
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.