ทางเลือกอื่นนอกจากบิตคอยน์ที่สะอาดกว่า เร็วกว่า และกระจายตัวออกจากศูนย์กลางมากกว่าเป็นไปได้มั้ย?
การสร้างบล็อคเชนที่ดีกว่าเดิมนั้นยากอย่างน่าประหลาดใจ
คริปโตนั้นเป็นกุญแจไปสู่สรวงสรรค์โดยเฉพาะทางด้านการเงิน นั่นคืออย่างน้อยที่สุดที่เหล่าแฟนๆนั้นบอกไว้ ตัวกลางที่ตระกละตระกลามอย่างเช่นธนาคารนั้นจะถูกแทนที่ด้วยสัญญาที่ฉลาดกว่า (กฏเกณฑ์ที่สามารถดำเนินการเองได้) ด้วยการใช้บล็อคเชน (ดาต้าเบสที่มีการแจกจำหน่ายกระจายออกไป) นี่จะทำให้บริการทางด้านการเงินที่เป็นนวัตกรรมและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเมื่อนำมารวมๆกันแล้วจะเรียกว่า “decentralised finance” (DeFi) หรือการลดการกระจุกตัวหรือการกระจายการเงินออกจากศูนย์กลาง
อย่างไรก็ดีรากฐานของระบบใหม่ที่ว่านี้กำลังสั่นคลอน แม้ว่าบล็อคเชนในวันนี้อาจจะเป็นผลงานชิ้นเอกทางด้านการเขียนโค้ดแต่มันก็มีความซับซ้อนอย่างน่าปวดกบาล ค่อนข้างหิวกระหายในพลังงาน และบางทีแล้วก็ขัดกับสิ่งที่ต้องการจะแก้แต่แรกเรื่องของการหนีออกจากจุดศูนย์กลางเกี่ยวกับการเงิน ทั้งๆที่มีความพยายามมาเป็นปีๆแล้ว นักพัฒนาคริปโตก็ยังต้องพยายามที่จะเอาชนะการแลกเปลี่ยนกันและการชดเชยระหว่างกันกับประโยชน์และข้อด้อยของเทคโนโลยีนี้
คุณอาจจะลองนึกถึงธนาคารดั้งเดิมในการเป็นผู้ดูแลดาต้าเบสหรือฐานข้อมูลใหญ่ๆที่เก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีของลูกค้าและก็เงินในบัญชีนี้ไว้ ผู้ฝากเงินจะต้องไว้ใจว่าสถาบันการเงินเหล่านี้จะปฏิบัติตัวเพื่อผลประโยชน์ของลูกค้า อย่างไรก็ดีบางครั้งแล้วธนาคารก็ไม่ได้ทำแบบนั้น พวกเขาอาจจะลงทุนในธุรกิจแย่ๆและก็ล้มละลายลง หรือว่าเขาอาจจะแช่แข็งบัญชีของผู้ฝากเงินไว้ตามคำสั่งของรัฐบาล
สำหรับคนที่เห็นด้วยกับเทคโนโลยีนี้ บล็อคเชนนั้นเป็นพื้นฐานสำหรับประเภทของการเงินที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านั้น ฐานข้อมูลบัญชีลูกค้าต่างๆจะถูกรักษาไว้ด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับคนที่ใช้งานโดยไม่ได้ผ่านผู้มีอำนาจส่วนกลาง (อย่างเช่นธนาคาร) บัญชีจะถูกแช่แข็งได้ก็ต่อเมื่อคนส่วนใหญ่ที่บำรุงรักษาดูแลบล็อคเชนนั้นตกลงที่จะทำกัน
เพื่อที่จะให้ระบบสามารถทำงานได้นั้น การที่จะเข้าถึงบล็อคเชนแบบสาธารณะนั้นจะต้องมีลักษณะพิเศษอยู่สองอย่าง อย่างแรกคือ กลไลที่เห็นชอบร่วมกัน ก็คือวิธีที่ผู้ใช้ตกลงกันว่าจะเขียนธุรกรรมใหม่ลงในฐานข้อมูลอย่างไร อย่างที่สองก็คือแรงจูงใจต่างๆที่จะทำให้ระบบมันคงอยู่ไปเรื่อยๆ ผลตอบแทนจะต้องดึงดูงผู้ใช้เข้ามาเพียงพอเพื่อที่จะช่วยรักษาบล็อคเชนไว้ และบทลงโทษก็จะต้องไม่พยายามให้พวกเขาโจมตีระบบนั้น เช่น ด้วยการปลอมแปลมจำนวนผู้ใช้จำนวนมากเพื่อที่จะทำให้ระบบล่ม
ส่วนในแง่ของ บิตคอยน์บล็อคเชนนั้น ผลตอบแทนก็คือเหรียญที่ได้ออกมาใหม่ ทุกๆสอบนาทีโดยประมาณ คอมพิวเตอร์พิเศษเป็นร้อยๆพันๆเครื่อง หรือที่เรียกว่า “miners” หรือผู้ขุดเหมือง จะเข้าร่วมกิจกรรมล็อตเตอรรี่นี้เพื่อแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ค้นพบคำตอบจะแจ้งเตือนไปยังผู้ขุดเหมืองรายอื่นๆและถ้าพวกเขายืนยันผลลัพธ์ที่ออกมา มันก็จะอัพเดทบล็อคเชนนั้นและก็จะได้รับค่าจ้างสำหรับขุดเหมืองนั่นเอง (ทุกๆปัญหาที่ได้รับการแก้ไขจะได้รับรางวัล 6.25 เหรียญ ซึ่งมีมูลค่าตอนนี้เจ้าของบทความนี้เขียนคือ 308,270 เหรียญดอลล่าห์สหรัฐ) แต่การคำนวณตัวเลขเหล่านี้ก็จะเจ็บปวดอยุ่เหมือนกัน ยิ่งเหล่าผู้ขุดเหมืองต้องการโอกาสที่มากขึ้นในการถูกรางวัลลอตเตอรี่นี้ พวกเขายิ่งต้องลงทุนมากขึ้นในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และค่าไฟ
เพื่อที่จะเขียนบล็อคเชนใหม่ให้เข้าทางพวกเขา เช่นการปลอมแปลงธุรกรรม พวกเขาต้องควบคุมพลังงานที่ใช้ในการขุดเหมืองมากกว่าครึ่งนึงเลยทีเดียว ซึ่งการจะริอาจโจมตีระบบด้วยวิธีนี้จะค่อนข้างแพงมากซึ่งจะกลายเป็นว่าจะทำให้ระบบพังทะลายลงแทนมากกว่าที่จะได้กำไรจากมัน
วิธีการนี้ที่เรียกว่า “proof of work” หรือวิธีพิสูจน์ธุรกรรม ที่ง่ายและยังไม่สามารถถูกแฮกจริงๆได้ แต่มันก็มีข้อด้อยอย่างใหญ่หลวงเช่นกัน อย่างหนึ่งคือ มันไม่สามารถจะเพิ่มขนาดให้มากขึ้นได้ บิตคอยน์นั้นสามารถที่จะรองรับได้แค่ 7 ธุรกรรมต่อ 1 วินาทีเท่านั้น และค่าธรรมเนียมที่ก็ขึ้นก็จะสูงด้วย ระบบก็จะกลายเป็นว่าจะทำให้มีรูปแบบของการรวมตัวเข้าสู่ศูนย์กลางเกิดขึ้น การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นนั้นจะมาจากการรวมตัวของรายใหญ่ไม่กี่ราย ซึ่งจะทำให้เหล่าผู้ขุดเหมืองนั้นสามารถรวมทรัพยากรเข้าด้วยการและช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับรางวัลแต่ก็ทำให้พวกเขาได้รับอิทธิพลและอำนาจในการปฏิวัติระบบไปด้วย (และการเปลี่ยนแปลงจึงมักจะต้องมีการคล้ายๆโหวตกัน) ยิ่งไปกว่านั้น วิธีพิูสจน์ธุรกรรมนั้นกระซวกพลังงานอย่างมาก จากการประเมินโดยบางสำนักแล้ว การใช้ไฟของบิตคอยน์นั้นกำลังจะใกลเคียงกับการใช้ไฟในอิตาลีเลยทีเดียว
ความกระหายทางพลังงานและการเข้าสู่ศูนย์กลางจากการพยายามเพิ่มและขยายวิธีพิสูจน์ธุรกรรมนี้ทำให้ต้องมีการขยายตัวของผู้ขุดเหมืองเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งมีพลังการคำนวณที่เพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ยิ่งจะมีโอกาสมากขึ้นที่จะได้รับรางวิล ยิ่งมีพลังมากขึ้นเท่าไหร่ก็จะได้รางวัลมากขึ้นแล้วก็จะขยายมากขึ้นไปอีก
ดังนั้นการมองหาบล็อคเชนที่ดีขึ้นนั้นจึงต้องมา อย่างเช่น Chia เป็นระบบที่อยู่บนพื้นฐาน “proof of space and time” หรือวิธีการพิสูจน์ด้วยพื้นที่และเวลา เหมือนอย่างบิตคอยน์ รางวัลก็คือการเข้าร่วมเพื่อที่ผู้ใช้จะได้รับเหรียญ แต่ข้อเสียจะต่างกันก็คือแทนที่จะผลาญพลังการคำนวณ Chia จะผลาญพื้นที่จัดเก็บทางดิจิตอลแทน แต่มันก็ยังไม่ชัดจัดว่า Chia จะสามารถอยู่ได้ยืนยาวกว่าและไม่กระจุกตัวเหมือนอย่างบิตคอยน์หากมันถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น
เงินดิจิตอลที่ฉลาดก็เป็นวิธีการอีกวิธีหนึ่ง เรียกว่า proof of stake หรือวิธีพิสูจน์ความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิธีการนี้ การตัดสินเกี่ยวกับการอัพเดทบล็อคเชนนั้นจะไม่ได้ผ่านการแข่งขันในการใช้คอมพิวเตอร์ละ แต่จะผ่านการโหวตโดยผู้ถือสกุลเงินคริปโตแทน อำนาจในการโหวตและส่วนแบ่งของรางวัลนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าผู้ถือนั้นพร้อมที่จะเดิมพันกับผลลัพธ์มากแค่ไหน เดิมพันอาจจะพังลงได้หากผู้เข้าร่วมนั้นประพฤติตัวไม่งาม ในระบบนี้ทั้งรางวัลและบทลงโทษก็จะคือตัวสกุลเงินคริปโตเองทีนี้
Proof of stake นี้จะใช้พลังงานน้อยกว่ามาก และการอัพเดทนั้นก็จะเร็วกว่าบิตคอยน์มาก Avalanche เป็นบล็อคเชนที่ใช้วิธีการนี้สามารถจัดการกับธุรกรรมได้เป็นพันๆต่อหนึ่งวินาที แต่มันก็ยังคงมีปัญหาใหญ่อยู่ เหล่านักเขียนโค้ดพยายามที่จะย้าย Ethereum, ที่เป็นแอพที่ต้องการมากกว่าเพื่อหนีออกจากศูนย์กลาง, ย้ายจาก วิธีพิสูจน์ธุรกรรม เป็น วิธีพิสูจน์ความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแทน แม้แต่ Vitalik Buterin หนึ่งในผู้คิดค้น Ethereum ก็ยอมรับว่า วิธีการพิสูจน์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้นค่อนข้าง “ซับซ้อนอย่างน่าประหลาดใจ” นั่นแปลว่ามันสามารถเกิดข้อผิดพลาดได้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ือเงินทุนเกือบ 1 แสนล้านเหรียญในแอพ DeFi ต้องย้ายที่ หลังจากมีความล่าช้าเกิดขึ้นหลายๆครั้ง เหล่านักเขียนโค้ดก็หวังว่าจะสามารถเคลื่อนไหวได้ในปี 2022
แม้ว่าระบบนี้ก็จะยังดูเหมือนว่าวิ่งเข้าหาระบบแบบรวมเข้าสู่ส่วนกลางอยู่ดี ผู้ถือในสัดส่วนที่สูงกว่าก็จะได้รางวัลมากกว่า เป็นการเพิ่มการถือครองให้มากขึ้นอีกด้วย นี่ทำให้เหล่าผู้ซื้อสกุสกุลเงินคริปโตรายแรกๆนั้นมีอำนาจที่มากขึ้นและอาจจะทำให้พวกขึ้นเข้าควบคุมบล็อคเชน โครงการใหม่ๆที่ใช้วิธีการ proof of stake นั้นก็ยังพยายามที่จะหาวิธีการที่จะหลีกเลี่ยงประเด็นนี้ Hedera Hashgraph นั้นมีการปกครองด้วยสมาคม คล้ายๆกับกลุ่มที่ควบคุม Visa เครือข่ายบัตรเครดิต Avalanche และ Tezos ยังคงมองหาการกระจายออกจากศูนย์กลางด้วยการอำนวยความสะดวกให้กับเหล่า “validators” หรือผู้ที่คอยดูแลบล็อคเชนให้เข้าร่วม
แต่สำหรับผู้มีความเคลือบแคลงสงสัยแล้ว ระบบควบคุมโดยศูนย์กลางแล้วมันดูจะเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าประสิทธิภาพการใช้พลังงานและความซับซ้อนอาจจะคลี่คลายได้บ้าง ปัญหาของการเพิ่มขึ้นของขนาดจะยังคงสร้างปัญหาให้กับบล็อคเชนใดก็ตามที่ได้รับความนิยม ทำนายโดย David Rosenthal ผู้อยู่ในวงการยุคแรกๆ “คุณผลาญทรัพยากรทั้งหมดเหล่านี้เพื่อที่ว่าสุดท้ายก็จบลงด้วยระบบที่ถูกควบคุมด้วยกลุ่มคนที่คุณยิ่งจะมีเหตุผลน้อยกว่าเดิมที่จะไว้ใจพวกเขาด้วยซ้ำไปเมื่อเทียบกับคนที่ปกครองสถาบันการเงินดั้งเดิมนั้นๆ”
สำหรับคนอื่นๆแล้ว การควบคุมจากส่วนกลางโดยบางกลุ่มคนในระดับนึงอาจจะเป็นสิ่งที่ต้องจ่ายเพื่อผลประโยชน์ต่างๆที่บล็อคเชนมอบให้ Emin Gün Sirer แห่งมหาวิทยาลัย Cornell ผู้ร่วมก่อตั้ง Ava Labs ซึ่งสร้าง Avalanche นั้นบอกว่า ผลประโยชน์หลักที่รัฐบาลจะพบว่ามันจะยากขึ้นก็คือการมีอิทธิพลต่อบล็อคเชนมากกว่าอิทธิพลที่รัฐบาลมีต่อธนาคารแบบดั้งเดิมต่างๆ
Kevin Werbach แห่ง Wharton School ของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียนั้นบอกว่า การเปิดกว้างของบล็อคเชนนั้นช่วยให้สามารถพัฒนานวัตกรรมบริการทางการเงินที่ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม การสืบเสาะแสวงหาบล็อคเชนที่ดีขึ้นนั้นแสดงให้เห็นอย่างนึงว่า แม้ว่าจะมองว่ามีสวรรค์คริปโตแต่มันก็ไม่มีอะไรที่ได้มาฟรีๆอยู่ดี
อ้างอิง:
Is a greener, faster and more decentralised alternative to Bitcoin possible? | The Economist
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.