พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Finance

งบดุลคืออะไร (Balance Sheets)

https://corporatefinanceinstitute.com/resources/knowledge/accounting/balance-sheet/

https://corporatefinanceinstitute.com/resources/knowledge/accounting/balance-sheet/

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ระดับดัชนี้ตลาดหุ้นไทยแทบจะไม่ขยับเลยเมื่อเทียบกับศุกร์ที่แล้ว(21) แต่หุ้นบางตัวก็ขึ้นเอาๆเนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าผลประกอบการในไตรมาสที่สามนี้จะออกมาดี (Quarter 3 หรือ 3Q 2018)
วันนี้เลยอยากจะทบทวนเกี่ยวกับงบดุล(balance sheet) หน่อยว่ามันคืออะไรและทำไมเราต้องให้ความสนใจกับมันโดยเฉพาะคนที่อยากจะลงทุน (เขาว่าต้องอ่านงบการเงินหรือ financial statements ไรเนี่ยให้เป็นอ่ะนะ)
งบดุล (balance sheet) เป็นส่วนนึงของงบการเงิน ที่แสดงถึงสถานะของบริษัทในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (ย้ำว่าเฉพาะช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่ได้แสดงถึงสถานะที่ดีหรือไม่ดีตลอดไปของบริษัท)
ไม่มีงบดุลไหนที่จะครอบคลุมปีไหนทั้งปี เช่น งบดุล ณ 31 ธันวาคม 2017 ก็คือ สถานะของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2017 เท่านั้น งบดุล ณ ช่วงเวลาหนึ่งจะบ่งบอกถึงอดีตของบริษัท แต่มันจะมีประโยชน์มากกว่าหากเราทำการศึกษางบดุลอย่างต่อเนื่องกันในหลายๆช่วงเวลา เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นถึงสถานะของบริษัทที่เปลี่ยนไปในการดำเนินงานไปเรื่อยๆ
งบดุลนั้นพยายามที่จะบอกว่าบริษัทนั้นมีสินทรัพย์(Assets) อะไรอยู่หรือมีหนี้สิน(Liabilities) อยู่เท่าไหร่ มีอะไรบ้างที่อยู่ฝั่งสินทรัพย์และอะไรบ้างที่อยู่ฝั่งหนี้สิน
โดยปกติแล้วสินทรัพย์(อยู่ฝั่งซ้ายของงบดุล) มักจะประกอบไปด้วยสินทรัพย์ที่มีตัวตน เช่น ที่ดิน ตึกสำนักงาน รถ เครื่องยนต์เครื่องจักรต่างๆ เงินสดที่บริษัทถืออยู่ เงินที่บริษัทได้ลงทุนไป หรือลูกหนี้ของบริษัท
ในระยะหลังๆเราก็มักจะเห็น สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (intangible assets) เข้ามาอยู่ในสินทรัพย์ด้วย รวมไปถึงค่าความนิยม Goodwill (ทำนองชื่อเสียงของบริษัทที่ถือเป็นทรัพย์สินได้) แต่การกำหนดมูลค่าเหล่านี้ก็อาจจะดูนามธรรมและเลื่อนลอยไปสักหน่อย มูลค่าของทรัพย์สินเหล่านี้เมื่อรวมกันแล้วก็จะเท่ากับ มูลค่ารวมของสินทรัพย์ทั้งหมดในเวลานั้นๆ
ทีนี้เราก็มองไปทางด้านหนี้สินกันบ้าง (จะอยู่ฝั่งขวาของงบดุล) หนี้สิน ก็มักจะประกอบไปด้วยหนี้สินที่บริษัทมีอยู่ เช่น เงินกู้ที่บริษัทกู้ยืมมา พันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่บริษัทออกจำหน่าย เจ้าหนี้การค้าของบริษัท ภาษีค้างจ่าย หรือแม้แต่ประมาณการณ์หนี้สินผลประโยชน์ของพนักงานที่บริษัทอาจจะต้องจ่าย
ส่วนของผู้ถือหุ้นก็เช่นกันก็จะถูกรวมอยู่ในฝั่งหนี้สินของบริษัทด้วย อย่างไรก็ดี ส่วนของผู้ถือหุ้นมักจะถูกแสดงอยู่ในส่วนหนี้สินในลักษณะของทุน(Capital) หรือทุนสำรอง(Reserves) ของบริษัทมากกว่า
การที่ต้องนำส่วนของผู้ถือหุ้นมาอยู่ในส่วนของหนี้สินก็เนื่องจากถือว่าเป็นหนี้สินที่บ่ริษัทต้องจ่ายคืนให้กับผู้ถือหุ้น(Stockholders)
เรามาดูงบดุลกันแบบง่ายๆกัน (เพราะแบบยากๆทำไม่เป็น)
ดังนั้นแล้วจะเห็นได้ว่า สินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดจะต้องเท่ากันเสมอในงบดุล เพราะตัวเลขส่วนของผู้ถือหุ้นก็คือส่วนที่ต้องมาเติมให้เท่ากันหลังมีการหักหนี้สินออกจากสินทรัพย์แล้วเพื่อให้ทั้งสองฝั่งมีค่าเท่ากัน
โอเค…แล้วถ้าหนี้สินมีมากกว่าสินทรัพย์หละ ส่วนของผู้ถือหุ้นก็ติดลบอ่ะสิ ส่วนของผู้ถือหุ้นนั้นจะเป็นบวกหรือติดลบก็ได้ แต่ถ้าเป็นบวกก็แสดงว่าบริษัทก็มีสินทรัพย์ที่สามารถใช้หนี้ได้ แต่หากติดลบก็แสดงว่าบริษัทนั้นมีความเสี่ยงและไม่น่าลงทุนเนื่องจากมีโอกาสล้มละลาย(insolvency).
อย่างไรก็ดีทั้งงบดุลและส่วนของผู้ถือหุ้นเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถบ่งบอกถึงสถานะการเงินของบริษัทได้ทั้งหมด เป็นเพียงแค่ข้อมูลส่วนนึงในการวิเคราะห์บริษัทเท่านั้น นักลงทุนที่ดีควรจะศึกษาปัจจัยหลายๆอย่างของบริษัทก่อนทำการลงทุนนะครับ
อ้างอิง:
The Economist Guide to Analysing Companies
https://www.investopedia.com/
blenlit
Hakwamroo.com

Leave a Reply