“Archegos” (ฝรั่งอ่านว่า อา-เค-กอส) ชื่อนี้ได้ยินครั้งแรกนึกว่าเป็นชื่อแหล่งท่องเที่ยวหรือเมืองประวัติศาสตร์อะไรเทือกนั้น และชื่อนี้ก่อนวันที่ 26 มีนาคม 2021 ที่พึ่งผ่านไปนี้ก็คงมีน้อยคนนักที่จะเคยได้ยิน
แล้วชื่อนี้ทำไมถึงมาโด่งดัง (ในทางไม่ดี) ได้อย่างไร? บริษัทที่เป็นเพียงเสมือนสำนักงานส่วนตัวของครอบครัวสามารถทำให้บริษัทใหญ่ๆอย่าง Nomura ของญี่ปุ่น และ Credit Suisse ของสวิสเซอร์แลนด์ประสพกับการขาดทุนอย่างใหญ่หลวงได้อย่างไร?
Archegos Capital Management หรือบริษัทที่บริหารจัดการทุนที่บริหารจัดการโดย Bill Hwang ผู้ที่เคยเป็นนักเทรดกองทุนประเภท hedge-fund มาก่อน แต่ชื่อ Archegos นี่โผล่ขึ้นมาเนื่องจากเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเทขายอย่างไม่รอช้าของหุ้นเป็นมูลค่ารวมประมาณ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเหมือนปิ้งย่างตลาดหุ้นและทำให้ธนาคารข้ามชาติอย่างน้อยสองธนาคารอย่าง Credit Suisse และ Nomura สูญเสียเงินหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯเลยทีเดียว เหล่าบรรดาผู้คุ้มกฏทางการเงินทั้งในอเมริกาและยุโรปก็คงจะต้องออกมาพูดอะไรสักหน่อยก่อนที่เรื่องราวนี้จะจบลง
เรื่องของเรื่องก็คือ Archegos ที่เป็นเสมือนสำนักงานของครอบครัวนี้ทำหน้าที่บริหารสินทรัพย์ส่วนตัวของคุณ Hwang ผู้ที่เคยทำงานให้กับ Tiger Managerment หรือบริษัทมีชื่อในด้าน hedge fund มาก่อน
หนึ่งในกลยุทธ์ของ Archegos ก็คือการลงทุนในหุ้นแบบ long-short ไอเดียหลักของวิธีการนี้ก็คือเขาจะไม่สนใจว่าตลาดโดยรวมจะไปในทางไหน (ขึ้นหรือลง) แต่ก็เดินพันว่าราคาหุ้นของหุ้นบางกลุ่มบางตัวจะเพิ่มขึ้นในขณะที่ราคาของหุ้นตัวอื่นๆจะตกลง
ความหวังของวิธีการนี้ก็คือ longs หรือหวังว่าหุ้นขึ้น จะทำผลงานได้ดีกว่า shorts หรือหุ้นลง แต่ทว่าเมื่อตลาดมีความผันผวนอย่างมาก วิธีการนี้ก็อาจจะไปไม่รอด นี่ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับ Archegos เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ลางร้ายแรกที่มาเยือนก็คือเมื่อวันศุกร์นั้น Goldman Sachs และ Morgan Standley สองธนาคารยักษ์ใหญ่ของอเมริกา เริ่มทำการขายหุ้นกลุ่มใหญ่โดยที่ไม่บอกว่าเป็นของลูกค้ารายใดที่ไม่สามารถเติมเต็มเงินสำหรับ margin call ได้ (margin call สั้นๆก็คือลูกค้าซื้อขายหุ้นด้วยวงเงินที่บริษัทมีให้แต่ถ้าราคาหุ้นเป็นไปในทางที่ไม่พึงประสงค์ ลูกค้าต้องหาเงินมาเพิ่มเพื่อประกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น หากไม่สามารถกระทำได้ ทำให้บริษัทตัวแทนต้องทำการบังคับขายหุ้นนั้นๆออกไปเพื่อลดความสูญเสียลง หรือที่เรียกว่า forced sell)
หุ้นต่างๆที่โดนบังคับขายออกมานั้นอาจจะจัดกลุ่มได้ว่าเป็นพวก ‘second-tier tech’ หรือทำนองหุ้นเทคโนโลยีเกรดสอง หุ้นเหล่านั้นก็รวมไปถึง Baidu (เสมือน google ของจีน) และ Viacom (บริษัทมีเดียต่างๆของอเมริกา) ราคาหุ้นของบริษัทเหล่านั้นก็ร่วงระนาวจากการบังคับขายในครั้งนี้ ราคาหุ้นของ Viacom ร่วงไปมากกว่า 25% เลยทีเดียว
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ความลี้ลับก็เปิดเผยว่าลูกค้ารายนั้นคือ Archegos นั่นเอง ชื่อที่คุ้นหูหลายๆชื่อก็ร่วมวงดรา่าด้วย เมื่อวันจันทร์ที่ 29 Credit Suisse ก็บอกว่าธนาคารกำลังอยู่ในขั้นตอนการเทขายหุ้นของลูกค้าที่ไม่สามารถเติมเต็ม margin call ได้และความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นก็ค่อนข้างจะ ‘เป็นรูปธรรม’ ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการนั้นบอกว่าอยู่แถวๆ 3 ถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เลยทีเดียว
ส่วนทางด้านธนาคารของญี่ปุ่นอย่าง Nomura ก็บอกทำนองเดียวกันว่าตัวเลขความสูญเสียน่าจะอยู่แถวๆ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ อาจจะมากกว่านั้นได้หากราคาหุ้นยังลงไปอีก ซึ่งการสูญเสียในครั้งนี้ถือว่าใหญ่หลวงนัก ไม่ใช่แผลเล็กๆ ราคาหุ้นก็ไม่รอช้าที่จะสะท้อนทันทีตามกราฟด้านบน
ตัวเลขสุดท้ายก็คงต้องใช้เวลากว่าจะรู้แน่ชัด แต่อย่างนึงที่ชัดเจนก็คือทั้ง Nomura และ Credit Suisse นั้นรู้ตัวช้ากว่าคู่แข่งฝั่งอเมริกา หลังจากที่รู้ว่าคุยกับ Archegos เรื่องเติมเงินแล้วไม่เป็นผล การที่เรียก margin call กับ Archegos แต่เนิ่นๆและรีบขายหุ้นทิ้ง ฝั่งทีมอเมริกาก็ดูเหมือนว่าจะเสียหายน้อยกว่าคนอื่นๆมาก
การรีบเทขายของหุ้นในครั้งนี้ทำให้เกิดคำถามที่ไม่พึงประสงค์นักก็คือ ทำไมคนอย่างคุณ Hwang ที่แทบไม่มีใครรู้จักนั้นสามารถปั้นตัวเลขสูญเสียได้ถึงขนาดนั้น? แม้ว่า Leverage (การใช้เงินน้อยแต่ซื้อในวงเงินที่ได้มาก) จะมีส่วนสำคัญในการช่วย แต่ทำไมเขาถึงสามารถใช้ประโยชน์ในการเดิมพันได้มากขนาดนี้? ที่งงงวยกว่าเดิมก็คือคุณ Hwang เคยมีมลทินกับวิธีการนี้มาแล้วในปี 2012 เมื่อเขารับสารภาพจาก insider trading หรือการใช้ข้อมูลภายในเพื่อการซื้อขายหุ้นให้ตัวเองได้ประโยชน์กว่านักลงทุนรายอื่น
หนึ่งในคำตอบก็คือ ธนาคารทั้งหลายนั้นดิ้นรนอย่างสิ้นหวังที่จะพยายามมองหาการลงทุนที่เป็นกำไร กฏเกณฑ์ต่างๆที่เกิดขึ้นตอนช่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมานั้นทำให้เหล่าธนาคารแห่ง Wall Street ทั้งหลายมีต้นทุนที่สูงขึ้นที่จะทำการซื้อขายผ่านบัญชีของตนเอง
ดังนั้นแล้วเหล่าธนาคารต่างๆจึงต้องพึ่งพาค่าธรรมเนียมและค่านายหน้าจากการซื้อขายกองทุนแบบสั้นๆเร็วๆอย่าง hedge funds ของสำนักงานครอบครัวที่ทำตัวเหมือน hedge fund อย่างเช่น Archegos นี่เอง ค่าธรรมจากการซื้อขายอนุพันธ์ หรือ equity swaps และ จากการซื้อขายสัญญานั้นเป็นที่น่าดึงดูดใจต่อเหล่าโบรกเกอร์ทั้งหลาย
สิ่งดึงดูดใจของกองทุน hedge fund ที่ซื้อขายแบบเร็วๆก็สามารถทำให้เพิ่มตำแหน่งหรือปริมาณที่ซื้อของตัวเองให้สูงขึ้นได้ด้วย พวกเขาสามารถเดิมพันใหญ่ๆได้โดยไม่ต้องนำเงินทุนมาวางทันที
โดยสรุปก็คือ Walstreet นั้นไม่สามารถทำเงินได้ง่ายๆจากคนที่ตัดสินใจช้า แต่คนที่ตัดสินใจเร็วๆก็สามารถเสียเงินได้เช่นกัน มันอาจจะไม่ใช่เหตุบังเอิญที่ Credit Suisse และ Nomura นั้นมีฐานอยู่ในประเทศที่อัตราดอกเบี้ยระยะยาวนั้นติดอยู่ใกล้หรือต่ำกว่าศูนย์มานานอย่างสวิสเซอร์แลนด์และญี่ปุ่น ด้วยโอกาสการลงทุนที่น้อยจากการปล่อยกู้ภายในประเทศตัวเอง พวกเขาจึงต้องหันไปทาง Wall Street เพื่อความตื่นเต้น แต่ก็เป็นความซวยของเล่าผู้ถือหุ้นที่ดันไปเจอกับเหตุการณ์นี้เลยได้ตื่นเต้นแบบลงหลุมแทน
Archegos อาจจะเห็นเสมือนอุบัติเหตุครั้งหนึ่งแม้ว่ามันจะใหญ่หลวงอยู่ แต่มันก็ไม่เชิงจะพ้นจากความเชื่อมโยงจากเทรนของตลาดในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่พฤศจิกายนจะเห็นว่าตลาดเริ่มออกห่างจากหุ้นเทคโนโลยีหรือหุ้นมีเดียต่างๆที่ได้กำไรอย่างมากจากเศรษฐกิจแบบอยู่กับบ้าน ไปยังบริษัทต่างๆที่มีกำไรแบบวงจน เช่น ธนาคาร สายการบิน และบริษัทอุตสาหกรรมต่างๆที่เปิดกลับมาทำงานใหม่
Archegos อาจจะอยู่ผิดฟากไปหน่อยและดูรุนแรง เหตุการณ์ต่างๆนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นในเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินต่างๆ และเมื่อเหตุการณ์มันไปแบบรวดเร็ว มันก็ต้องมีอะไรแตกหักบ้างแหละ
อ้างอิง:
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.