ทั้งบริษัท Apple และ Alphabet Inc (บริษัทแม่ของ Google) นั้นเป็นสองบริษัทที่มีกำไรมากที่สุดอยู่ในลำดับต้นๆของโลก และตลาดซื้อขายแอพที่เราๆท่านๆใช้กันทุกวันนี้ก็เป็นอะไรที่มีกำไรมากที่สุดเช่นกัน
Apple รับส่วนแบ่งจากธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมผ่าน App Store จนมีรายได้เกือบจะเทียบเคียงกับ iPad และ Mac และคิดเป็นรายรับส่วนใหญ่ของฝ่ายธุรกิจด้านบริการของ Apple เองจากทั้งหมด 54,000 ล้านเหรียญดอลล่าห์ในปีงบประมาณ 2020
ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มเป็นที่ตรวจสอบมากขึ้นแล้ว ทั้ง ส.ว. ในสหรัฐ และหน่วยกำกับดูลของยุโรปก็เริ่มงุ่นง่านเกี่ยวกับ ‘gatekeeper control’ หรือทำนองผู้ถือกุญแจเฝ้าประตู ที่ทั้ง Apple และ Google นั้นคุมไว้เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการบนมือถือ (หรือแทีบเล็ต) ของตัวเอง ประเทศเกาหลีใต้นั้นเป็นประเทศแรกที่ตั้งกฏบังคับตลาด app เหล่านี้ และ Apple ก็ยังมีคดีอยู่ในชั้นศาลกับผู้สร้างเกมส์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แม้ว่าอาจจะตกลงกันได้กับข้อกำหนดบางอย่าง
ผู้ผลิตเกมส์คนไหนฟ้อง Apple?
Epic Games Inc, ผู้สร้างเกมส์ Fortnite ที่มีผู้เล่นต่อเดือนอยู่ประมาณ 350 ล้านราย ได้ฟ้อง Apple เกี่ยวกับส่วนแบ่งที่ Apple ได้รับจากการทำธุรกรรมบน App Store และ Epic อ้างว่าเป็นการฝ่าฝืนกฏการผูกขาด โดย Epic นั้นเชื่อว่าเขาไม่สมควรได้รับการบังคับให้ใช้ระบบการจ่ายเงินผ่าน Apple ซึ่งทั้ง iPhone และ iPad นั้นก็มีตลาดแอพเพียงแค่ตลาดเดียวสำหรับการดาวโหลดแอพต่างๆ และระบบการจ่ายเงินของ App Store นั้นก็เรียกเก็บเงินจากผู้พัฒนาแอพเป็นค่านายหน้าถึง 30%
Epic ต้องการที่จะใช้ระบบการจ่ายเงินของตัวเองสำหรับเกมส์ที่ตัวเองพัฒนาและได้รับความนิยมอย่างมากดังกล่าว หรือ Apple ควรจะอนุญาติให้มีการลงแอพจากที่อื่นได้ด้วย ในเดือนสิงหาคมปี 2020 Epic หลีกเลี่ยงกฏนี้ด้วยการเพิ่มระบบการจ่ายเงินของตัวเองเข้าไปใน Fortnite และ Apple ก็ได้ลบเกมส์ Fortnite ออกจาก Apple Store ของตัวเองย่างทันควัน ทำให้ Epic ก็ได้ดำเนินการฟ้องทันทีภายในไม่กี่ชั่วโมงถัดมา และ Apple ก็ฟ้องกลับทันทีเช่นกันว่าเป็นการละเมิดสัญญา
แล้ว Epic ไม่พอใจอะไร?
ผู้ใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆของ Apple นั้นมีการใช้จ่ายเงินถึง 72,000 ล้านเหรียญบน Apple Store ในปี 2020 ซึ่งเกือบ 22,000 ล้านเหรียญนั้นตกไปเป็นของผู้ผลิต iPhone (ประเมินโดยบริษัท Sensor Tower) นักพัฒนาหลายๆคนรังเกียจค่าธรรมเนียมของ Apple นี้ว่ามันไม่ยุติธรรมและเป็นภาษีที่ไม่ได้รับรองอะไร เนื่องมาจากว่ามันไม่ได้ต้องจ่ายเมื่อมีการซื้อ app เท่านั้นแต่ก็จะใช้กับอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในแอพ เช่น การซื้ออาวุธในเกมส์ เสื้อผ้า และอะไรก็ตามที่เป็นที่นิยมต่างๆในเกมส์ Fornite ก็ต้องจ่ายส่วนแบ่งให้ Apple ด้วย
แล้วทำไม Apple ต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจาก App Store นี้ด้วย?
Apple เก็บส่วนแบ่ง 30% จากรายได้ที่นักพัฒนาได้รับจากการซื้อแอพ การซื้อสินค้าภายในแอพ และค่าสมาชิกภายในแอพ บริษัทนั้นแย้งว่าความสำเร็จของ App Store นั้นมาจากขั้นตอนการรีวิวแอพ และความเป็นส่วนนึงของฮาร์ดแวร์ที่แน่นหนา และกฏของความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย ระบบการจ่ายเงินของบริษัทนั้นทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าผู้บริโภคจะมีประสพการณ์การใช้งานที่ไหลลื่นและปกป้องผู้บริโภคจากการฉ้อโกงต่างๆ และสำหรับนักพัฒนานั้นก็จะได้เข้าถึงอุปการณ์ของ Apple ที่มีผู้ใช้ถึง 1,000 ล้านคนที่มักจะยอมจ่ายเงินเพื่อแอพมากกว่าผู้ใช้จาก Android
Apple กำลังยอมถอยมั้ย?
แม้ว่าข้อยกเว้นบางอย่างถูกนำมาใช้เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่มีข้อใดที่ประยุกต์ใช้กับกรณีของ Epic ในปี 2016 นั้น Apple ยอมลดส่วนแบ่งลงเหลือ 15% จากค่าสมาชิกหลังจากปีแรก ในปี 2020 ก็ยอมที่จะลดส่วนแบ่งลงเหลือ 15% หากนักพัฒนานั้นๆมีรายได้ต่ำกว่า 1 ล้านเหรียญดอลล่าห์ในปีใดก็ตาม เดือนสิงหาคม 2021 ก็ยอมจบการฟ้องร้องด้วยการยอมจ่ายเงิน 100 ล้านเหรียญให้กับผู้ผลิตแอพหลายๆราย และก็ตกลงที่จะยอมให้นักพัฒนานั้นใช้การสื่อสารใดๆภายนอกแอพ iOS อย่างเช่น email เพื่อที่จะโปรโมทวิธีการจ่ายเงินทางเลือกอื่นที่ไม่รวม Apple อยู่ด้วย และในเดือนนี้เอง ก็มีการอนุโลมให้แอพที่เกี่ยวกับการอ่านต่างๆเช่น แมกกาซีน หนังสือพิมพ์ หนังสือ เสียง เพลง และภาพ เริ่มตั้งแต่ปี 2022 เหล่านี้จะยอมให้สามารถเพิ่มลิงก์ในแอพของตัวเองเพื่อที่จะนำผู้ใช้ไปยังระบบการจ่ายเงินทางเลือกอื่นด้วย
แล้วในคดีของ Epic นั้นกำลังเกิดอะไรขึ้น?
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2021 การไต่สวนในศาลเป็นเวลาสามสัปดาห์นั้นสรุปกับผู้พิพากษาที่เป็นผู้ว่าคดีนี้แสดงออกถึงข้อสงสัยว่า Apple Store ของผู้ผลิต iPhone นี้ยอมให้มีคนอื่นสามารถแข่งขันได้ด้วยหรือไม่ ซึ่งก็เป็นประเด็นหัวใจหลักของคดีนี้ แต่ผู้พิพากษาก็ยังตั้งคำถามถึงแรงจูงใจของ Epic ในการที่ฟ้องร้อง App Store เพื่อที่จะล้มล้างโมเดลทางธุรกิจนี้ซึ่งอาจจะช่วยให้ผู้สร้างเกมส์ Fortnite นี้จากเป็น “บริษัทระดับพันล้านอาจจะกลายเป็นบริษัทล้านล้านเหรียญ” รึเปล่า
แล้วผู้บริโภคมีส่วนได้เสียอะไรมั้ย?
ถ้า Epic นั้นชนะขึ้นมา Apple ก็อาจจะถูกบังคับให้จำต้องลดค่านายหน้าจาก App Store ยอมให้มีระบบจ่ายเงินทางเลือกอื่น หรือยอมให้มี App Store อื่นและยอมผ่อนปรนกฏเกณฑ์ในการใช้กับระบบนิเวศน์ของแอพในระบบ iOS นี้ นั่นก็หมายความว่าแอพต่างๆจะมีอิสระมากขึ้นและก็อาจจะมีต้นทุนที่ต่ำลงส่งผลดีต่อผู้บริโภค แต่บางกลุ่มก็ยังแย้งว่าคนที่ได้ประโยชน์จะเป็นเพียงนักพัฒนารายใหญ่ๆไม่กี่รายเท่านั้น Apple ก็แย้งว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะทำให้ App Store มีความปลอดภัยน้อยลงและก็มีโอกาสที่จะทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสนมากขึ้น
แล้ว Google อยู่ตรงไหนในกรณีนี้?
Play Store ของ Google จากระบบ Android นั้นก็เป็นที่ตรวจสอบจากหน่วยงานกำกับดูแลและนักพัฒนาด้วยเช่นกัน แต่มันมีความแตกต่างหลักๆอยู่อย่างนึงคือ Google ยอมให้อุปกรณ์ต่างๆที่ผ่านระบบ Android นั้นสามารถใช้ App Store ทางเลือกอื่นๆได้ที่สามารถนำเสนอวิธีการชำระเงินที่ต่างออกไปได้ อย่างไรก็ดี Epic ก็ฟ้อง Google ด้วยเช่นกันเมื่อยักษ์ใหญ๋ทางอินเตอร์เน็ตนี้ก็เอาเกมส์ Forenite ออกจาก Play Store ของตัวเองเมื่อปีที่แล้วด้วยเหตุผลเดียวกับทาง Apple
แล้วเกิดอะไรขึ้นในเกาหลีใต้ตอนนี้?
เมื่อปลายเดือนสิงหาคมนั้น ประธานาธิบดี Moon Jae-in ของพรรค Democratic ในใช้เสียงส่วนใหญ่ในสภาในการผ่านร่างพระราชบัญญํติที่จะสั่งห้ามบริษัทต่างๆในการบังคับนักพัฒนาให้ใช้ระบบการชำระเงินของตัวเองเท่านั้น ซึ่งพระราชบัญญัตินี้มีการนำเสนอในปี 2020 หลังจากที่ Google บอกว่าทุกๆแอพจะต้องใช้ระบบชำระเงินของ Google เอง และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจนถึง 30% สำหรับการซื้อสินค้าภายในแอพ ซึ่งนั้นเป็นโมเดลปกติที่ใช้กันทั่วโลกและก็ใช้โดย Apple เช่นกัน เมื่อต้นปีนี้ยักษ์ใหญ่ทางด้านการสืบค้นข้อมูลออนไลน์นี้ก็ลดค่าธรรมเนียมลงเหลือ 15% สำหรับรายได้ 1 ล้านเหรียญแรกที่ได้รับโดยนักพัฒนา ส่วนนึงก็มาจากการโดนต่อต้านทั่วโลกนี่แหละ และจากรอบล่าสุด บริษัทที่อยู่ใน app store ต่างๆต้องยอมให้ผู้ใช้งานนั้นจ่ายผ่านระบบการชำระเงินอะไรก็ได้ โดยวางข้อกำหนดว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ทางเทคโนโลยีเหล่านี้ต้อง ‘ไม่ใช้สถานะของตัวเองไปในทางที่ผิดโดยบังคับให้ผู้ใช้ต้องชำระผ่านระบบของตัวเองเท่านั้น’
อ้างอิง:
App Store Fees Draw More Scrutiny From Regulators Around the World – Bloomberg
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.