พยายามเข้าใจ การลงทุน การเงิน และระบบเศรษฐกิจ

Economics

อะไรคือเพดานหนี้ ? (Debt-Ceiling Limit)

ช่วงนี้ถ้าใครได้ดูข่าวอเมริกาบ้างก็จะมีเรื่องนึงที่รัฐสภาทั้งฝั่งรีพับบริกันและฝั่งเดโมแครตที่ยังถกเถียงกันอยู่อย่างไม่ลงตัวก็คือเรื่องของเพดานหนี้ หรือฝรั่งเราเรียกว่า debt-ceiling limit

เพดานหนี้มันคืออะไร?

เพดานหนี้ หรือที่ชอบด้วยกฏหมายก็คือจำนวนหนี้สูงสุดที่รัฐบาลของประเทศนั้นๆสามารถที่จะกู้ยืมมาได้ เพดานหนี้นี้จะถูกกำหนดด้วยกฏหมายและตั้งใจมีไว้เพื่อให้ช่วยรัฐบาลในการควบคุมการใช้จ่ายและป้องกันรัฐบาลไม่ให้ทำการกู้ยืมและสร้างหนี้ที่มากเกินไป เมื่อรัฐบาลทำการกู้ยืมเงินจนเข้าใกล้สู่เพดานหนี้นี้แล้ว เพดานหนี้ก็จะต้องมีการถูกขยับให้เพิ่มขึ้นไปอีกหรือทำอะไรสักอย่างเพื่อลดปริมาณหนี้ลงเพื่อที่จะทำให้รัฐบาลยังสามารถกู้ยืมเงินหรือสร้างหนี้ต่อไปได้

เอ้า ถ้ามันขยับเพดานหนี้ขึ้นไปได้เรื่อยๆ แล้วจะมีมันไว้เพื่อ?

จุดประสงค์ที่เขามีเพดานหนี้ไว้ เขาว่าก็มีเพื่อที่จะให้รัฐบาลมีกลไกในการควบคุมการใช้จ่ายและควบคุมหนี้ของภาครัฐ ด้วยการที่กำหนดจำนวนหนี้ที่รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้ ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถที่จะเฝ้าดูการตัดสินใจทางการเงินของรัฐบาลได้ระดับหนึ่ง การเพิ่มระดับเพดานหนี้อาจมองได้ว่าเป็นวิธนึงที่จะช่วยรัฐบาลเข้าไปแก้ไขปัญหาการใช้จ่ายที่เกินเพดานชั่วคราวแต่มันก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่แท้จริงที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายและสร้างหนี้ขึ้นมา ไอ่เพดานนี่ก็เป็นเพียงแค่เครื่องเตือนสติเหล่านักนโยบายว่าพวกเขาต้องมีสติแล้วนะถึงระดับหนี้ของรัฐบาลและก็ควรจะตัดสินใจอะไรให้สอดคล้องกัน

ดูเหมือนว่ามันก็ไร้ประโยชน์อยู่ดี?

การที่มีระดับเพดานหนี้กำหนดไว้ก็เป็นเพียงแค่เครื่องมือที่มีประโยชน์ในการที่จะช่วยรัฐบาลในการควบคุมการใช้จ่ายและการหสร้างหนี้ อย่างไรก็ดี เครื่องมือนี้จะมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่ามันมีการนำไปใช้อย่างไร บางกลุ่มก็แย้งว่าเมื่อมันถึงเพดาน มันก็แค่ยกระดับเพดานขึ้นไปอีกก็แค่นั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่รัฐบาลใช้เงินเกินตัว ซึ่งมันก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพอะไรในการควบคุมค่าใช้จ่ายและการสร้างหนี้ แต่บางกลุ่มก็แย้งว่ามันเป็นเครื่องมือเตือนความจำให้กับเหล่านักนโยบายที่สำคัญว่าพวกเขาต้องมีสติกับระดับหนี้ของรัฐบาลและตัดสินใจให้สอดคล้องกัน

อย่างไรก็ดี การที่การใช้จ่ายเข้าสู่เพดานหนี้นั้นไม่จำเป็นว่ารัฐบาลจะผิดนัดชำระหนี้ เพียงแต่มันทำให้เกิดข้อจำกัดของรัฐบาลซึ่งอาจจะนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ (default) ได้ และจากในอดีตแล้วการที่ติดเพดานหนี้นั้นก่อให้เกิดทางตันทางการเมืองและความไม่แน่นอนในตลาดได้ โดยสรุปก็คือ แม้ว่าเพดานหนี้จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ แต่ประสิทธิภาพของมันในการควบคุมการใช้จ่ายของรัฐบาลนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการดำเนินการและเผล่าผู้ร่างกฏหมายจะจริงจังกับมันแค่ไหน

แล้วมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าการกำหนดเพดานหนี้นี้มั้ย?

มันก็มีอยู่บ้างที่มีคนนำเสนอทางเลือกอื่นที่จะควบคุมการใช้จ่ายและการสร้างหนี้ของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น

  1. การแก้ไขให้งบประมาณมีความสมดุล ก็คือแก้รัฐธรรมนูญว่าในแต่ละปี รัฐบาลต้องใช้งบประมาณให้สมดุลกับที่ตั้งไว้ ซึ่งก็จะจำกัดการกู้ยืมและการใช้จ่ายของรัฐบาลได้
  2. การกำหนดเพดานการใช้จ่าย ด้วยการจำกัดการใช้จ่ายของรัฐบาลว่าต้องเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของ GDP ซึ่งก็จะเป็นการกำหนดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลโดยอัติโนมัติว่าต้องใช้จ่ายโดยขึ้นอยู๋กับขนาดของเศรษฐกิจ
  3. การแตะเบรคหนี้ เป็นกลไกที่ลดการใช้จ่ายของรัฐบาลโดยอัติโนมัติเมื่ออัตราส่วนหนี้ต่อ GDP เข้าสู๋ระดับที่กำหนดไว้
  4. กฎกระทรวงการคลัง เป็นข้อกำหนดที่ผู้วางนโยบายต้องทำตามเมื่อตัดสินใจเกี่ยวกับงบประมาณ กฏเหล่านี้จะรวมข้อกำหนดของเงินที่จะใช้จ่าย หนี้ที่จะสร้าง และขาดดุลได้เท่าไหร่
  5. การปรับโครงสร้างหนี้ แทนที่จะกำหนดเพดานหนี้ รัฐบาลก็สามารถปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการชำระหนี้เดิมเมื่อครบกำหนดชำระด้วยการสร้างหนี้ใหม่มาใช้หนี้เดิม

อย่าลืมว่าในแต่ละทางเลือกก็มีข้อดีข้อเสียของมัน และก็ไม่มีข้อใดที่แบบว่าเป็นยาครอบจักรวาลใช้ได้ถูกต้องใช้ได้ดีกับทุกๆอย่าง ในแต่ละประเทศก็มีลักษณะเฉพาะของเศรษฐกิจและการเมืองของตัวเองที่แตกต่างกันไป อะไรที่ใช้ได้ดีกับประเทศนึง อาจจะใช้ไม่ได้เลยกับอีกประเทศก็ได้ ท้ายที่สุดแล้ว ประสิทธิภาพของทางเลือกก็จะขึ้นอยู่กับว่ามันจะดำเนินการอย่างไรและผู้ร่างกฏหมายนั้นจะใช้มันอย่างจริงจังแค่ไหนนั่นแหละ

อ้างอิง:

Debt limit – Wikipedia

Leave a Reply