เมื่อวานนี้ปู่เรย์ (Ray Dalio) ได้โพสต์บน LinkedIn ของตัวเองถึงมุมมองของแกต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันในปีใหม่นี้ โดยแกแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือที่โพสต์เลย เกี่ยวกับหลักการในการฟันฝ่าวิกฤตหนี้ครั้งใหญ่ และอีกโพสต์ซึ่งแกบอกว่าจะโพสต์ในอีก 1-2 สัปดาห์ข้างหน้านี้ก็คือว่าจะประยุกต์ใช้เกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้อย่างไร จึงขออยากจะสรุปใจความให้อ่านกันดังนี้
หลักการในการฟันฝ่าวิกฤติหนี้ครั้งใหญ่ (Principles for Navigating Big Debt Crises)
เครื่องจักรเศรษฐกิจทำงานอย่างไรและหลักการในการจัดการกับมัน (How the Machine Works and Principles for Dealing with It)
สรุปอย่างสั้นๆก็คือระบบไดนามิกส์ของหนี้นั้นจะทำงานเป็นเครื่องจักรที่หมุนไปเรื่อยๆเป็นวงจรอย่างไม่มีที่สิ้นสุดด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้น (cause) และผลของมัน (effect) ซึ่งก็จะเป็นลักษณะเดียวกันในช่วงเวลาที่ดำเนินผ่านไปของแต่ละประเทศ
มันจะมีส่วนสำคัญหลักๆอยู่ 5 ส่วนที่ปู่เรย์สร้างขึ้นมาจากโมเดลง่ายๆสำหรับเครื่องจักรนี้ก็คือ
- สินค้า บริการ และสินทรัพย์การลงทุน
- เงินสดที่ใช้ในการซื้อสินค้าและบริการเหล่านั้น
- เงินเครดิตที่ออกมาเพื่อใช้ในการซื้อสินค้าและบริการเหล่านั้น
- หนี้ที่ออกมา (เช่น เงินกู้) และ
- สินทรัพย์หนี้ เช่น เงินฝาก และพันธบัตร ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเมื่อมีการซื้อด้วยเงินเครดิต
มันจะมีผู้เล่นหลัก 4 รายในโมเดลนี้ก็คือ
- กลุ่มที่ยืมเงินและกลายเป็นลูกหนี้
- กลุ่มที่ให้ยืมเงินและกลายเป็นเจ้าหนี้
- กลุ่มที่เป็นตัวกลางในการให้บริการดำเนินธุรกรรมในการให้เงินและเครดิตระหว่างลูกหนี้และเจ้านี้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็คือธนาคาร และ
- ธนาคารกลางที่ควบคุมด้วยรัฐบาลที่สามารถสร้างเงินและเครดิตในสกุลเงินของตัวเองขึ้นมาได้และมีอิทธิพลต่อต้นทุนของเงินและเครดิตนั้น
เนื่องจากสินค้า บริการ และสินทรัพย์การลงทุนสามารถซื้อได้ด้วยเงินสดหรือเดรดิต เงินสดที่ต่างจากเครดิตก็คือจะทำให้ธุรกรรมนั้นเป็นการเสร็จสิ้น โดยเงินสดนี้ ไม่เหมือนกันเครดิต จะสร้างขึ้นมาได้จากธนาคารกลางเท่านั้น และสามารถจะสร้าง (พิมพ์) ขึ้นมามากแค่ไหนก็ได้
เครดิต ก็จะต่างจากเงินสด จะทำให้เกิดภาระหนี้ที่ต้องชำระในอนาคตและเกิดขึ้นจากการตกลงร่วมกันระหว่าง 2 บุคคล ขึ้นไปที่ตกลงจะดำเนินธุรกรรมกัน
การขยายหนี้ด้วยเครดิตนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อทั้งผู้ยืมหรือลูกหนี้ และผู้ให้ยืมหรือเจ้านี้นั้นตกลงใจที่จะยืมและให้ยืมกัน ซึ่งต้องเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ดี อะไรที่ดีต่อฝ่ายนึงก็มักจะไม่ดีต่ออีกฝ่าย ถ้าอัตราดอกเบี้ยนั้นสูงเกินไปสำหรับลูกหนี้ พวกเขาก็ต้องตัดการใช้จ่ายลง หรือขายสินทรัพย์ของพวกเขาออกไปเพื่อที่จะชำระหนี้ หรือแม้แต่จะไม่สามารถชำระหนี้คืนในภายหลังได้ ซึ่งก็จะนำไปสู่การล่มสลายลงของตลาดและระบบเศรษฐกิจ
และในขณะเดียวกัน หากอัตราดอกเบี้ยนั้นต่ำเกินไปเพื่อที่จะชดเชยความเสี่ยงของผู้ให้กู้หรือเจ้าหนี้นั้น พวกเขาก็จะไม่ปล่อยกู้และก็จะขายสินทรัพย์หนี้นั้นออกไปซะ ส่งผลให้ระดับอัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้น หรือธนาคารกลางก็จะต้องพิมพ์เงินออกมาเพื่อซื้อสินทรัพย์หนี้เหล่านั้นเพื่อรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำไว้ การพิมพ์เงินและการเข้าซื้อสิ้นทรัพย์หนี้นั้นจะทำให้เกิดเงินเฟ้อขึ้น ทำให้เกิดการหดตัวในความมั่งคั่งและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
เมื่อเวลาผ่านไป ปัจจัยแวดล้อมต่างๆก็จะขยับไปและจะส่งผลดีหรือไม่ดีต่อเจ้าหนี้และลูกหนี้ และมันสำคัญสำหรับทุกๆคนที่เกี่ยวข้องในตลาดและเศรษฐกิจที่จะสามารถบอกถึงความแตกต่างได้ ในขณะที่การที่จะทำให้การกระทำนี้เกิดความสมดุลและการเหวี่ยงไปมาระหว่าง 2 ปัจจัยนี้เกิดขึ้น บางครั้งเงื่อนไขต่างๆนั้นไม่สามารถที่จะทำให้เกิดความสมดุลที่ดีได้ ส่งผลให้เกิดภาระหนี้ก้อนใหญ่ รวมไปถึงเกิดความเสี่ยงทางด้านตลาดและเศรษฐกิจ
ธนาคารเป็นตัวกลางระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ ดังนั้นและแรงจูงใจและการทำงานของธนาคารนั้นก็สำคัญเช่นกัน ธนาคารนั้นถูกกระตุ้นให้ทำกำไรด้วยการให้กู้ยืมเงินมากกว่าเงินที่พวกเขามี ซึ่งพวกเขาก็จะยืมมันมาอีกทีด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าผลตอบแทนที่พวกเขาทำได้จากการให้กู้ยืมนั้น ซึ่งมันก็จะไม่มีปัญหาอะไรสำหรับสังคมและมีกำไรเมื่อคนที่ยืมเงินไปนั้นในเงินอย่างมีประสิทธิภาพพอที่จะจ่ายเงินกู้คืนมาและทำให้ธนาคารมีกำไรได้ และเมื่อเจ้าของเงินที่ธนาคารกู้ยืมเงินมาอีกทีไม่ไดต้องการเงินกลับในจำนวนที่สูงกว่าจำนวนเงินที่ธนาคารมีในตอนนั้นๆ อย่างไรก็ดี เมื่อเงินกู้ที่ปล่อยไปไม่ได้รับการชำระกลับมาอย่างเพียงพอ และเจ้าของเงินที่ธนาคารกู้ยืมเงินมาต้องการเงินกลับมากกว่าจำนวนเงินที่ธนาคารสามารถให้ได้ วิกฤติหนี้ก็เลยเกิดขึ้น
ในระยะยาว จำนวนหนี้ไม่สามารถที่จะเพิ่มสูงขึ้นรวดเร็วกว่ารายได้ที่จำเป็นต้องใช้ชำระหนี้ดังกล่าว และอัตราดอกเบี้ยก็ไม่สามารถอยู่ในระดับที่สูงเกินไปสำหรับลูกหนี้หรือต่ำเกินไปสำหรับเจ้าหนี้เป็นระยะเวลานานๆได้ วิกฤติหนี้ครั้งใหญ่นั้นจะเกิดขึ้นเมื่อจำนวนของสินทรัพย์หนี้และภาระหนี้มีระดับที่สูงมากขึ้นจนเกินไปเมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่มีอยู่ในระบบและ/หรือจำนวนของสินค้าและบริการที่มีในระบบเช่นกัน ด้วยเหตุผลนี้ มันจำจำเป็นที่จะต้องคอยเฝ้าดูอัตราส่วนนี้ให้ดี
ธนาคารกลางเกิดขึ้นเพื่อที่จะรักษาความลื่นไหลของวงจรนี้ สำคัญที่สุดก็คือการจัดการกับวิกฤติหนี้ครั้งใหญ่นี่แหละ วงจรเหล่านี้มักจะกลายเป็นฟองสบู่แตกสินทรัพย์หนี้และภาระหนี้มีมากเกินไปจนนำไปสู่เจ้าหนี้ ‘วิ่ง’ ไปเอาเงินคืนจากลูกหนี้ ซึ่งโดยหลักแล้วก็คือจากธนาคาร การวิ่งเหล่านี้จะสร้างความฉิบหายของ เศรษฐกิจ ตลาด และหนี้ ที่ท้ายสุดแล้วนำพาให้รัฐบาลต้องสร้างธนาคารกลางขึ้นมาเพื่อปล่อยเงินกู้ให้กับธนาคารเหล่านี้และคนอื่นๆอีกทีเมื่อวิกฤติหนี้ครั้งใหญ่เกิดขึ้น ธนาคารกลางสามารถช่วยรักษาวงจรด้วยการกำหนดระดับอัตราดอกเบี้ยต่างๆรวมไปถึงจำนวนเงินและเครดิตที่อยู่ในระบบเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเจ้าหนี้และลูกหนี้
ธนาคารกลางต้องการรักษาระดับหนี้และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับทีรับได้ หรืออีกนัยนึงก็คือ พวกเขาไม่ต้องการให้หนี้ และความต้องการเติบโตสูงเร็วไปกว่าหรือช้ากว่าระดับที่ยั่งยืนมากนัก และพวกเขาไม่ต้องการให้ระดับเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไปจนเป็นอันตราย เพื่อที่จะส่งอิทธิพลต่อสิ่งเหล่านี้ พวกเขาเพิ่มอัตราดอกเบี้ยและลดปริมาณเงิน หรือลดอัตราดอกเบี้ยและผ่อนปรนปริมาณเงิน เพื่อที่จะช่วยให้ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
ยิ่งขนาดของสินทรัพย์หนี้และภาระหนี้ยิ่งสูงเมื่อเทียบกับรายได้ที่แท้จริงที่ทำได้ มันก็จะยิ่งยากในการที่จะรักษาสมดุล ซึ่งก็ยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะตกต่ำของตลาดและเศรษฐกิจได้สูงขึ้น
เพราะว่าลูกหนี้ เจ้าหนี้ ธนาคาร และธนาคารกลางนั้นเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดและเป็นตัวผลักดันให้เกินวงจรเหล่านี้ และพวกเขานั้นมีแรงจูงใจที่ชัดเจนที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมของพวกเขา มันก็ค่อนข้างจะง่ายที่จะคาดการณ์ว่าพวกเขาจะทำอะไร และอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป เมื่อการเติบโตของหนี้นั้นช้า เศรษฐกิจก็จะอ่อนแอ เงินเฟ้อก็จะต่ำ ธนาคารกลางก็จะลดอัตราดอกเบี้ยและสร้างเงินและเครดิตเพื่อโน้มน้าวให้มีการกู้ยืมมากขึ้นและใช้จ่ายสำหรับสินค้า บริการ และก็สินทรัพย์เพื่อการลงทุนต่างๆที่จะช่วยให้ผลักดันตลาดและเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้น ซึ่งในช่วงเวลานั้นก็จะเป็นการดีที่จะเป็นลูกหนี้ และไม่ดีต่อเจ้าหนี้
เมื่ออัตราการเจริญเติบโตของหนี้และการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจนั้นเร็วและไม่ยั่งยืนมากเกินไป และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงเกินจะรับได้ ธนาคารกลางก็จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยและจำกัดจำนวนเงินและเครดิตเพื่อที่จะกระตุ้นให้เกิดการออมและใช้จ่ายให้น้อยลง ซึ่งก็จะกดดันให้ตลาดและเศรษฐกิจหดตัวลงเพราะมันเป็นการดีกว่าที่จะเป็นเจ้าหนี้หรือผู้ออมกว่าเป็นลูกหนี้และผู้ใช้จ่ายในเวลานี้ การเปลี่ยนไปมานี้จะสร้างวงจรหนี้ระยะสั้น (ก็คือวงจรธุรกิจ) ที่มักจะเกิดขึ้นทุกๆ 7 ปี บวกลบ 3 ปี และเกือบจะทุกกรณีจากประวัติศาสตร์นั้นเมื่อเวลาผ่านไป วงจรหนี้ระยะสั้นนี้ก็จะรวมตัวกันกลายเป็นสร้างวงจรหนี้ระยะยาวแทนซึ่งจะกินเวลาประมาณ 75 ปี บวกลบ 25 ปี การกระตุ้นในแต่ละเฟสของวงจรเหล่านี้ก็จะสร้างตลาดกระทิงและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการหดตัวของเฟสเหล่านี้ก็จะสร้างตลาดหมีหรือการหดตัวทางเศรษฐกิจ
หนี้นั้นมันไม่ได้แย่เสมอไป แม้ว่าจะไม่ได้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ เมื่อสินทรัพย์หนี้และภาระหนี้นั้นมีมากเกินไปเมื่อเทียบกับรายได้ และภาระหนี้ต้องได้รับการลดลง มันจะมีนโยบายอยู่ 4 ประเภทที่ผู้กำหนดนโยบายสามารถใช้ได้เพื่อจะลดภาระหนี้เหล่านี้ลง
- การรัดเข็มขัด (ก็คือการตัดรายจ่าย)
- การปล่อยให้เกิดหนี้เสีย หรือการปรับโครงสร้างหนี้
- ธนาคารกลางสามารถพิมพ์เงินและเข้าซื้อสิ้นทรัพย์ (หรือให้การรับประกัน) และ
- การโอนถ่ายเงินและเครดิตจากคนที่มีมากกว่าที่จำเป็นไปยังคนที่มีน้อยกว่า
วิธีที่ดีที่สุดสำหรับผู้กำหนดนโยบายเพื่อลดภาระหนี้ลงโดยที่ไม่ส่งผลให้เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจนั้นก็คือวิธีที่ปู่เรย์เรียกว่า “beautiful deleveraging” หรือการค่อยๆลดการถือครองสินทรัพย์ลงอย่างสวยงาม ก็คือผู้กำหนดนโยบายจะทำทั้งสองอย่างคือ 1. ปรับโครงสร้างหนี้เพื่อที่จะทำให้การชำระหนี้นั้นมีช่วงเวลาที่ยาวนานขึ้น หรือก็คือการขยายเวลาชำระหนี้ออกไป และ 2. ธนาคารกลางพิมพ์เงินมากขึ้นและเข้าซื้อหนี้ การทำทั้งสองอย่างนี้อย่างสมดุลกันจะช่วยลดภาระหนี้ลงและกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไป จะทำให้ภาระหนี้ลดลงเมื่อเทียบกับรายได้
เครื่องจักรเหล่านี้ดำเนินมาอย่างไรบ้างตั้งแต่ปี 1945 จนถึงปัจจุบัน
รูปแบบเหล่านี้ได้ดำเนินสืบมาต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบันก็คือ วงจรหนี้ระยะสั้น รวมตัวกันใหญ่ขึ้นและมากขึ้นนำไปสู่ระดับของสินทรัพย์หนี้และภาระหนี้ที่จะส่งผลต่อวงจรหนี้ระยะยาวครั้งใหญ่ โดยทั่วไปแล้วเมื่อธนาคารกลางต้องการที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ พวกเขาจะลดอัตราดอกเบี้ยลงและสร้างเงินและเครดิตมากขึ้นซึ่งก็จะสร้างหนี้มากขึ้นไปด้วย ทั้งสองอย่างนี้จะขยายเฟสของวงจรให้ยาวออกไปและทำให้สินทรัพย์หนี้และภาระหนี้เกิดความล่อแหลมและมีความไม่สมดุลมากขึ้น
ประวัติศาสตร์นั้นแสดงให้เราเห็นแล้วว่าเมื่อธนาคารกลางไม่สามารถลดระดับอัตราดอกเบี้ยได้อีกต่อไปแม้จะยังต้องการกระตุ้นอยู่ พวกเขาก็จะพิมพ์เงินและเข้าซื้อสินทรัพย์หนี้ โดยเฉพาะพันบัตรรัฐบาล ซึ่งจะทำให้เจ้าหนี้ หรือก็คือรัฐบาลเอง นั้นมีเงินและเครดิตเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้พวกเขาเกิดการผิดนัดชำระหนี้ และทำให้พวกเขายังสามารถยืมเงินเพื่อใช้จ่ายได้ต่อไปมากกว่ารายได้ที่ทำได้ ทำให้หนี้ของพวกเขาเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2008
วงจรหนี้เงินเครดิตครั้งใหญ่ที่เรากำลังเจออยู่นี้ก็กำลังเกิดขึ้นบนพื้นฐานเดียวกันกับวงจรในอดีตที่เกิดขึ้นมาเป็นพันๆปีแล้วตามตรรกะของความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลลัพธ์นี้เป็นตัวผลักดัน สิ่งสำคัญอย่างเดียวที่แตกต่างกันก็คือเงินในวันนี้ (เงินที่พิมพ์ออกมา) และเงินในอดีต (ซึ่งไม่ใช่เงินที่พิมพ์ออกมาดังช่วง 1945-1971) ก็คือตัวเชื่อมระหว่างเงินจริงๆนั้นไม่มี ทำให้ธนาคารกลางสามารถพิมพ์เงินและเครดิตได้อย่างอิสระเสรีมากกว่าในอดีต อย่างไรก็ดี เงินที่พิมพ์ออกมาจากระบบการเงินนี้ก็คงอยู่มาตลอดในช่วงประวัติศาสตร์ ดังนั้นการที่ศึกษามันจะช่วยให้ได้บทเรียนที่มีค่าว่ามันทำงานอย่างไรและอาจจะบอกใบ้เราได้ว่าวงจรที่เราอยู่ทุกวันนี้มันจะเกิดเป็นรูปเป็นร่างยังไงต่อไป
สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปในการปรับเปลี่ยนของระบบการเงินในช่วงพันๆปีและก็ยังไม่ถูกกำจัดไปก็คือการสร้างหนี้และสินทรัพย์ที่ไม่ยั่งยืนเมื่อเทียบกับจำนวนเงิน สินค้า บริการ และสินทรัพย์ลงทุนที่มีอยู่จริงนั่นเอง ซึ่งก็จะนำไปสู่การวิ่งเพื่อเรียกเงินร้องเงินและสินค้าและบริการที่มีมูลค่าในตัวมันเอง เนื่องจากมูลค่าจริงๆของสินทรัพย์หนี้และสินทรัพย์ทางการเงินนั้นก็เพื่อที่จะซื้อสินค้าและบริการ ถ้าผู้ถือครองสินทรัพย์ทางการเงินนั้นพยายามที่่จะแปลงสภาพเป็นเงินและสินค้าและบริการจริงๆ พวกเขาจะเห็นว่าพวกเขาจะไม่มีอำนาจซื้อที่พวกเขาเชื่อว่ามีอยู่จริง ซึ่งก็จะส่งผลให้เกิดการวิ่งแห่ไปเบิกเงินที่ธนาคารอย่างที่กลาวไป
ด้วยเหตุผลนั้น ความเสี่ยงสำหรับผู้ถือครองสิ้นทรัพย์ทางการเงินที่จะแปลงเป็นเงินเพื่อซ์้อสินค้าและบริการและส่งผลต่อเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นหรือความอ่อนแอของเศรษฐกิจอย่างรุนแรงก็จะยังคงมีอยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าธนาคารกลางจะพยายามต่อสู้กับผลกระทบจากการหดตัวของเศรษฐกิจนั้นแค่ไหนจากการพิมพ์เงินและการสร้างเครดิตให้คงอยู่
ในขณะที่ธนาคารกลางสามารถพิมพ์เงินได้อย่างง่ายดายและยืนหยุดและเอาเงินให้กับลูกหนี้เผื่อผ่อนคลายปัญหาหนี้และเอาเงินให้กับผู้ใช้จ่ายให้มีความสามารถในการใช้จ่ายในระบบการเงินแบบเงินพิมพ์นี้ มันก็ควรจะระวังว่าการกระทำเหล่านี้ไม่สามารถกำจัดการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หนี้และภาระหนี้ออกไปได้ จนกลายเป็นหนี้ที่มากเกินไปและก่อให้เกิดวิกฤติหนี้
การตรวจสอบของวงจรในอดีตของปู่เรย์นั้น รวมไปถึงสกุลเงินต่างๆที่พิมออกมาจะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนไปของวงจรหนี้อย่างที่อธิบายไป รวมถึงวิกฤติหนี้ครั้งใหญ่ๆ ก็จะยังคงมีอยู่เสมอในทุกๆประเทศ ซึ่งก็ไม่เห็นเหตุผลว่ามันจะหยุด
ในทางตรงกันข้าม สินทรัพย์หนี้และภาระหนี้ในตอนนี้นั้นอยู่ในระดับที่สูงมากและยังเพิ่มขึ้นอยู่ ดังนั้นแล้วมันเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางจากเศรษฐกิจส่วนใหญ่ ที่สำคัญที่สุดก็คือธนาคารกลางของสหรัฐฯ ยูโรป และญี่ปุ่นจะทดสอบข้อจำกัดของความสามารถของตัวเองอย่างไรในการที่จะขยายเงิน หนี้ และเครดิต ที่มันเกิดมาตลอดในช่วงชีวิตของเรา
ย้ำกันอีกครั้ง เมื่อมันมีวิกฤติหนี้ครั้งใหญ่ ธนาคารกลางจะต้องเลือกระหว่างวิธี ยาก ในการรักษาเงิน ซึ่งจะนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้และนำไปสู่ภาวะตกต่ำเงินฝืด หรือ วิธี เบา ก็คือการพิมพ์เงินออกมาซึ่งก็จะลดมูลค่าของสกุลเงินและหนี้นั้น เนื่องจากการจ่ายหนี้ด้วยวิธี ยาก นั้นจะส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจและตลาดตกต่ำอย่างรุนแรง ทำให้เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ ธนาคารกลางจึงมักจะต้องเลือกวิธีพิมพ์เงินและลดมูลค่าเงินแทน แน่นอนว่าธนาคารกลางก็จะสามารถพิมพ์เงินได้เฉพาะสกุลเงินของประเทศตัวเองเท่านั้น ซึ่งจะนำไปสู่ประเด็นถัดไปของปู่เรย์ว่า ถ้าหนี้นั้นอยู่ในรูปของสกุลเงินของประเทศตัวเองแล้ว ธนาคารกลางจะสามารถและจะพิมพ์เงินเพื่อลดวิกฤติหนี้ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาจัดการมันง่ายกว่าถ้าพวกเขาไม่ได้พิมพ์เงิน แต่แน่นอนว่ามันก็จะลดมูลค่าของสกุลเงินของเขาลง
วิกฤติหนี้นั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ วิกฤิตหนี้ส่วนใหญ่นั้น แม้กระทั่งครั้งใหญ่ๆ สามารถจัดการได้ด้วยผู้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจและสามารถมอบโอกาสการลงทุนให้กับนักลงทุนได้ถ้าพวกเขาเข้าใจว่ามันทำงานอย่างไรและมีหลักการที่ดีในการฝ่าฟันวิกฤติได้อย่างดี
อย่างเช่นเคย ปู่เรย์ไม่ได้แน่ใจในสิ่งใดทั้งนั้น แค่นำเสนอความคิดออกมาเพื่อให้เราๆพิจารณาอย่างที่ต้องการหรือจะวางไว้เฉยๆก็ได้ และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
อ้างอิง:
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.