เมื่อช่วงต้นเดือนที่แล้วปู่เรย์ ดาลิโอ ได้ออกบทความตอนแรกเกี่ยวกับวิกฤติหนี้ที่กำลังเกิดขึ้นสถานการณ์ปัจจุบันและเมื่อวานนี้ก็ได้ปล่อยตอนที่สองออกมา ซึ่งก็จะได้สรุปมาอ่านกัน (ใครที่ถนัดภาษาอังกฤษ ก็สามารถอ่านต้นฉบับแบบเต็มๆได้ตามลิงก์ท้ายบทความนี้เลย)
ถ้าเราไม่สามารถตกลงกันได้ว่าสิ่งต่างๆมันทำงานยังไง เราก็ไม่สามารถที่จะตกลงกันได้ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นหรืออะไรมีโอกาสที่จะเกิดขึ้น ด้วยเหตุผลนั้น ปู่เรย์จึงเริ่มต้นด้วยการอธิบายว่าสิ่งต่างๆทำงานอย่างไรถ้าเราจะตกลงกันตรงนั้นได้
ในตอนที่หนึ่ง ปู่เรย์ได้ให้คำอธิบายง่ายๆว่าปู่แกเชื่อว่าเครื่องจักรเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับ เงิน เครดิต หนี้ และตลาดนั้นทำงานอย่างไร (ตามลิงก์ท้ายบทความ) มันเป็นส่วนนึงของคำอธิบายที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในเชิงสาเหตุและผลกระทบที่นำพาประเทศและตลาดต่างๆให้สูงขึ้นหรือลดต่ำลง
ส่วนในตอนที่สองนี้ ปู่เรย์ก็จะทบทวนคร่าวๆถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวที่ผ่านกาลเวลาและเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงไม่ว่าจะที่ไหนที่เป็นแรงผลักให้เครื่องจักรทำงาน และจะโฟกัสว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นตอนนี้และดูว่า template นี้จะนำพาปู่เรย์ให้เชื่อว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป
ภาพใหญ่
ถ้าคุณอยากเห็นว่าเหตุการณ์ใหญ่ๆเกิดขึ้นทำไมและอย่างไร ก็อย่าโฟกัสที่เหตุการณ์เล็กๆมากไป คนที่พยายามจะมองสิ่งต่างๆละเอียดเป๊ะๆมากไปก็มักจะพลาดเห็นความสำคัญเพราะพวกเขามักจะถูกครอบงำไปกับการมองหารายละเอียด และถ้าคุณมองอะไรใกล้เกินไป คุณก็จะไม่เห็นสิ่งสำคัญในภาพใหญ่ และเมื่อมองหาสิ่งใหญ่ๆ ก็ควรจะให้ความสำคัญกับสิ่งใหญ่ๆด้วย
ระเบียบของโลกที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองที่นำโดยสหรัฐฯที่ตอนนั้นมีอำนาจที่สุดกำลังจะเปลี่ยนไปในรูปแบบใหม่ การเปลี่ยนแปลงนี้กำลังเกิดขึ้นในลักษณะคล้ายๆเดิมที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาในอดีต ในประวัติศาสตร์นั้น มันมักจะมีประเทศที่รวยและมีอำนาจ และก็จะมีประเทศที่จนและอ่อนแอ และก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในเชิงเปรียบเทียบกับความแข็งแกร่งอยู่แล้วที่เกิดขึ้นอย่างมีตรรกะและเหตุผลที่สามารถวัดได้ที่ทำให้ระเบียบของโลกเปลี่ยนแปลงไป เพื่อที่จะเป็นผู้ได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนี้แทนที่จะเป็นผู้เสียประโยชน์แทน เราควรจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ุเกี่ยวกับสาเหตุและผลกระทบเบื้องหลังที่เกิดขึ้นและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้ ดีที่สุดก็คือพยายามรู้ตัวก่อนให้ได้แทนที่จะมาปรับตัวหลังจากที่มันเกิดขึ้นแล้ว
แรงผลักดันสำคัญที่สุดสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเข้าใจคือ
- พลวัตรการเปลี่ยนแปลงของหนี้และเงินในเศรษฐกิจ
- พลวัตรข้อขัดแย้งจากภายใน
- พลวัตรข้อขัดแย้งจากภายนอก
- เหตุการณ์เหนือธรรมชาติ (ภัยแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด)
- การคิดค้นโดยมนุษย์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
มาทบทวน Template ของปู่เรย์กันอย่างคร่าวๆ
- เงิน (money) นั่นก็คือการเข้าถึงทรัพยกร
- คือคนที่มีความสามารถ (talented people)
- สิ่งแวดล้อม (environment) ที่เอื้ออำนวยนำไปสู่การเสริมสร้างและพัฒนา
- ความสำเร็จทางเศรษฐกิจ ที่ช่วยและส่งผลต่อความสำเร็จต่อความสำเร็จทางด้านอื่นๆเช่น สุขภาพ การศึกษาร สังคม และการทหาร
เนื่องจากข้อแรกจะเป็นพลวัตรที่สำคัญที่สุดที่ต้องเข้าใจเพื่อการลงทุนและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงไปของระเบียบโลก ปู่เรย์เลยอย่างจะอยากเริ่มจากข้อนี้ก่อน
อย่างที่อธิบายในตอนที่หนึ่งว่ามันถูกผลักดันโดย เจ้าหนี้-ลูกหนี้ ผู้กู้ยืม-ผู้ให้กู้ และนักธนาคารที่จะผลิตและตอบสนองต่อแรงจูงใจที่จะให้กู้ยืมและกู้ยืมที่นำไปสู่วงจรที่เกี่ยวข้องกันก็คือ วงจรระยะสั้นที่เกิดขึ้นประมาณ 6 ปีบวกลบ 3 ปี และวงจรระยะยาวที่เกิดขึ้นประมาณ 75 ปีบวกลบ 25 ปี ซึ่งจะวนพัวพันกันเป็นไปในแนวลาดชันขึ้นไปตามความมีประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นจากการคิดค้นของมนุษยชาติ
คำว่า “วงจรระยะสั้น” นั้นหมายความว่า 1. เศรษฐกิจถดถอยที่นำไปสู่ 2. ธนาคารกลางจะปล่อยเครดิตเข้าสู่ระบบเยอะซึ่งก็จะสร้างเครื่องมือหนี้ที่แรกเริ่มจะนำไปสู่ 3. ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและเติบโตของตลาดที่นำไปสู่ 4. เงินเฟ้อและฟองสูบ่ ซึ่งนำไปสู่ 5. ธนาคารกลางก็จะลดการปล่อยเครดิตลงที่นำไปสู่ 6. ความอ่อนแอลงของเศรษฐกิจและตลาด วงจรนี้มันเกิดขึ้น 12.5 รอบแล้วตั้งแต่ปี 1945
ส่วนคำว่า “วงจะระยาว” วงจรที่ค่อยๆสร้างสินทรัพย์หนี้และภาระหนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในระยะยาวจนไปถึงจุดที่จัดการไม่ได้แล้ว ซึ่งจะนำไปสู่การปรับโครงสร้างหนี้ครั้งใหญ่และการแปลงภาระหนี้ให้เป็นเงินซึ่งก็จะทำให้เกิดภาวะปั่นป่วนครั้งใหญ่ในตลาด ปู่เรย์เชื่อว่าเรากำลังอยู่ในช่วงประมาณ 85% ของจุดที่เริ่มต้นในปี 1945
ส่วนกลไลของพลวัตรนี้ ประวัติศาสตร์ได้แสดงและตรรกะก็บ่งชี้ว่าการกลับมาของอัตราเงินเฟ้อ (ที่แท้จริง) จะเป็นไปตามกำลังของผู้กู้ยืมแต่ก็จะมีมีภาวะล่าช้าตามมา เนื่องจากความสามารถทางการเงินของลูกหนี้ที่มีต่อภาระหนี้ที่ต้องจ่ายคืนนั้นจะเป็นตัวการสำคัญที่สุดถึงมูลค่าของภาระหนี้นั้น ในเมื่อมันมีภาระหนี้และสินทรัพย์หนี้ที่สูง มันก็เป็นสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงทั้งสำหรับลูกหนี้และเจ้าหนี้ที่จะทำให้นักธนาคารอยู่ในสถานการณ์ที่ยากที่จะพยายามทำให้ 1. รักษาอัตราดอกเบี้ยสูงพอและเงินมีจำนวนเพียงพอที่จะทำให้ทั้งผู้ให้กู้และผู้กู้มีความพอใจโดยไม่ทำให้ 2. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสูงเกินไปและเงินมีไม่เพียงพอที่จะทำให้ทั้งผู้ให้กูและผู้กู้ทนกันไม่ได้แล้ว การที่จะทำให้สมดุลนี้เกิดขึ้นนั้นสำคัญมากเพราะว่าถ้าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงนั้นไม่สูงพอและจำนวนเงินไม่มีตามสมควรแล้ว ทั้งผู้กู้และผู้ให้กู้ก็จะกู้กันมากเกินไป และเจ้าหนี้กับลูกหนี้ก็จะไม่สามารถให้ยืมและขายสินทรัพย์หนี้ที่ถืออยู่กันได้อย่างเพียงพอ ซึ่งจะบังคับให้ธนาคารกลางต้องเลือกระหว่าง 1. ยอมให้อัตราดอกเบี้ยขึ้นสูงพอถึงระดับที่จะทำให้อุปสงค์และอุปทานเกิดการสมดุล ซึ่งก็จะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อตลาดและเศรษฐกิจ หรือ 2. พิมพ์เงินออกมาเยอะๆ และเข้าซื้อสินทรัพย์หนี้ที่คนอื่นจะไม่ซื้อ ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยลดต่ำลง และก็ทำให้ค่าเงินอ่อนลงด้วย และไม่ว่าจะกรณีไหน เมื่อมันมีภาระหนี้และสินทรัพย์หนี้ที่เยอะๆ มันก็ไม่เป็นการดีทั้งนั้นที่จะถือครองสินทรัพย์หนี้เพิ่มไปอีก ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น
ดังนั้นตามกฏโดยทั่วไปแล้ว เมื่อมันมีสินทรัพย์หนี้และภาระหนี้ที่มีอยู่สูงอยู่ในระดับที่ทั้งความสามารถของลูกหนี้ที่จะจ่ายและความสามารถของเจ้าหนี้ที่จะได้ผลตอบแทนที่แท้จริงกลับมาจากสินทรัพย์หนี้ ก็ควรจะระวังไว้ ในทุกๆกรณีเมื่อมันมีวิกฤติหนี้และภาระหนี้นั้นอยู่ในสกุลเงินที่ธนาคารกลางสามารถพิมพ์ออกมาได้ ธนาคารก็จะพิมพ์ออกมาเสมอเพื่อเข้าซื้อสินทรัพย์หนี้ เพราะนี่คือวิธีที่เจ็บปวดน้อยที่สุดแล้วที่จะจัดการกับการปรับโครงสร้างหนี้ ในกรณีใดๆ การลดลงของสินทรัพย์หนี้และภาระหนี้เกิดขึ้น ก็จะทำให้วงจรใหม่เริ่มต้นอีกครั้ง
วงจรเหล้านี้จะทำให้ตลาดและเศรษฐกิจขยับขึ้นลงและทำให้มาตราฐานความเป็นอยู่สูงขึ้นตามที่ผู้คนจะคิดค้นขึ้นมาและมีประสิทธิภาพแค่ไหน การเอียงขึ้นของการคิดค้นและประสิทธิภาพที่สูงขึ้นนั้นมักจะมาจากการคิดค้นของคนที่ลงมือปฏิบัตจริงๆอย่างเช่นผู้ประกอบการที่ได้รับทรัพย์กรหรือทุนอย่างเพียงพอและทำงานเข้ากันได้กับคนอื่นๆเช่นผู้ร่วมงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักกฏหมาย หรืออื่นๆ เพื่อที่จะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในช่วงระยะสั้นก็คือ 1-10 ปี และระยะยาวคือ 10-30 ปี การเพิ่มขึ้นของเส้นแนวโน้มลาดชันดังกล่าวจะมีผลสูงกว่ามาก
ในช่วงวงจรเศรษฐกิจ ตลาด หนี้ และเครดิต แนวทางทางการเงินจะมาและก็ไปเพื่อที่จำอำนวยความสะดวกให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจและเครดิต ในระบบสกุลเงินและเงินเหล่านี้ จะมีเฟสย่อยๆที่ผู้เรียกว่า paradigms เช่น ช่วงในทศวรรษ 1970 เป็นช่วงที่มีอัตราเงินเฟ้อสูง การเจริญเติบโตต่ำ ในขณะที่ช่วง 1980 นั้นอัตราเงินเฟ้อจะลดลงและการเติบโตจะแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งทั้งสองนั้นเกิดขึ้นจะรอบการเงินเดียวกัน นี่คือเวอร์ชั่นง่ายๆสำหรับปัจจัยแรกก็คือ วงจร เงิน เครดิต หนี้ ตลาด และเศรษฐกิจประมาณนี้
มองไปข้างหน้า
ปู่เรย์บอกว่า ประเทศมหาอำนาจใหญ่ๆที่เต็มไปด้วยปัญหาใหญ่ๆและปัญหาของโลกก็คือสิ่งที่ปู่เรย์เรียกว่า ระยะที่ 5 ของวงจรใหญ่ ก็คือใกล้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจการเงิน และสงครามหรือความขัดแย้งภายในใหญ่ๆ และก็วิกฤติโลกร้อน ซึ่งในเวลาเดียวกันที่โลกก็ใกล้จะมีความก้าวหน้าทางวิทยาการสมัยใหม่ที่จะมาส่งผลต่อชีวิตเราๆ ระยะที่ 5 เป็นระยะสุดท้ายก่อนที่จะเข้าสู่ระยะที่ 6 ที่เรียกว่าวิกฤตทางการเงินและสงครามที่เป็นส่วนนึงของวงจรนี้ มันดูเหมือนว่าจะท้าทายมากสำหรับผู้ที่จะลงทุนโดยใช้วิธีดั้งเดิมระยะยาวในด้านที่เดิมๆ ซึ่งมันก็จะมีโอกาสใหญ่ๆในพื้นที่และด้านที่อาจจะได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนี้
- วงจรเศรษฐกิจ ตลาด หนี้ เครดิต และเงิน
ในความเห็นของปู่นั้น การลดเครดิตที่เริ่มต้นเมื่อเดือนมีนาคมปี 2022 เป็นการสิ้นสุดระยะที่ธนาคารปล่อยเงินและเครดิตออกไปเหมือนกับฟรี ซึ่งมันดีต่อผู้กู้และลูกหนี้ ตอนนี้เราอยู่ในระยะใหม่ที่ธนาคารกลางจะพยายามเข้าสู่สมดุลระหว่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่จะต้องสูงพอและเงินและเครดิตจะต้องมีแค่พอเพียงที่จะทำให้ทั้งผู้ให้กู้และเจ้าหนี้พอใจโดยที่ไม่ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงเกินไปและเงินหรือเครดิตนั้นมีน้อยไปสำหรับผู้กู้และผู้ให้กู้ ปู่เรย์คิดว่าสมดุลนี้จะค่อนข้างยากลำบากที่จะเข้าถึงซึ่งจะทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่พึงประสงค์ มีอัตราเงินเฟ้อที่มากเกินไป และผลตอบแทนที่แท้จริงจากสินทรัพย์ส่วนใหญ่ที่น้อยไป
2. ความขัดแย้งภายใน และ 3. ความขัดแย้งภายนอก
ปู่เรย์กังวลถึงรูปแบบของสงครามที่จะเกิดขึ้น ปู่เรย์กะว่าอาจจะมีโอกาส 35-40% ที่จะเกิดสงครามภายใน และสัดส่วนเดียวกันกับสงครามระหว่างประเทศใน 10 ปีข้างหน้า ปู่เรย์คิดว่าไม่น่าจะมีสงครามทางทหารระหว่างประเทศที่มีระเบิดนิวเคลียร์เนื่องจากมันจะทำให้ฉิบหายกันทุกฝ่ายหากมีการใช้นิวเคลียร์จริง ซึ่งปู่คิดว่าสหรัฐฯกับจีนไม่น่าจะรบกันตรงๆแต่อาจจะพยายามหาทางใช้เทคโนโลยีมาบั่นทอนมากกว่า ซึ่งในตอนนี้อาจจะมีการคิดค้นเทคโนโลยีอะไรที่เราคิดไม่ถึงกันอยู่ก็ได้ แต่นั่นก็เป็นแค่การคาดเดา และไม่มีทางรู้
4. ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
ในหลายๆปีข้างหน้าเป็นไปได้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางอากาศนั้นจะเป็นต้นทุนที่สูงมากในทางใดทางหนึ่ง นั่นคือ เพราะเราใช้เงินและอดทนกับต้นทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพที่จะลดต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมหรือการปรับตัวในอนาคต หรือเราไม่ใช้เงินเลยตอนนี้แล้วค่อยไปอดทนกับต้นทุนในอนาคตแทน
5. เทคโนโลยีใหม่ๆ
ปู่เรย์คิดว่าการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆที่เสริมเชื้อไฟด้วย AI ที่ทำงานร่วมกับมนุษญ์จะนำไปสู่ความก้าวหน้าที่คาดไม่ถึงในหลายๆด้านใน 10 ปีข้างหน้า (จริงๆก็อาจจะแค่ 3 ปีข้างหน้า) ตัวอย่างเช่น Open AI และสินค้าที่แข่งขันได้จะเป็นตัวเปลี่ยนเกมส์อย่างที่คาดไม่ถึงที่คุณจะเห็นในอีกไม่นาน ปู่คิดว่าการพัฒนาทางเทคโนโลยีเหล่านั้นจะทำให้เราเปลี่ยนวิธีคิดและอาจจะส่งผลดีเกินกว่าด้านเสีย เช่น ปู่เรย์คิดว่าเทคโนโลยีจาก OpenAI หรือ ChatGPT เป็นเทคโนโลยีที่จะให้องค์ความรู้ในหลายๆกรณีที่มาจากหลายๆหัวข้อ หลายๆภูมิศาสตร์ และหลายๆประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นไปไม่ได้เลยที่สมองของมนุษย์จะหามาได้ ซึ่งด้วยมุมมองต่อหัวข้อเหล่านี้ไม่ได้มาจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมหรือความลำเอียงทางศาสนา อย่างไรก็ดี จากมุมมองของการลงทุน มันก็ไม่ชัดเจนว่าผลกำไรจะมาได้มากแค่ไหนเมื่อเทียบกับต้นทุนที่จะต้องลงทุนเพื่อสร้างเทคโนโลยีเหล่านี้
ปู่คิดว่าความแตกต่างจะใหญ่มากระหว่างประเทศ นักลงทุน และบริษัทที่สร้างผลงานได้ในระดับสูงก็จะได้รับรางวัลไป ในขณะที่ฝั่งที่สร้างผลงานได้ต่ำก็จะถูกลงโทษไป
การถอยออกมาจากสิ่งเหล่านี้เพื่อมองภาพในระดับใหญ่นั้นก็ดูเหมือนว่าเหตุการณ์ต่างๆกำลังดำเนินไปตามเส้นทางของ template วงจรใหญ่ เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลของมันก็จะดำเนินไปตามทางของมันตามตรรกะและวิถ๊ที่มันเคยเป็นมาในอดีตนั่นเอง
อ้างอิง:
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.