Ray Dalio คิดว่านี่เป็นเหตุการณ์คลาสสิกที่เกี่ยวข้องกับวงจรหนี้ระยะสั้น (ซึ่งมีระยะเวลาประมาณ 7 ปี โดยประมาณ บวกลบ 3 ปี) ที่เกี่ยวข้องในส่วนของการเกิดฟองสบู่เศรษฐกิจที่ต้องแตก ซึ่งมาจากการจำกัดเงินเพื่อควบคุมการเติบโตของเครดิตและเงินเฟ้อ ซึ่งก็จะนำไปสู่กระบวนหดตัวลงของหนี้และเครดิตที่มีลักษณะคล้ายๆกับโดมิโน่ไปเรื่อยๆเหมือนขั้นตอนโรคระบาดและมันจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆจนกระทั่งธนาคารกลางจะพิมพ์เงินออกมาซึ่งจะไปช่วยลดการหดตัวลงของหนี้และเครดิต ซึ่งก็เหมือนสร้างเครดิตและหนี้ใหม่ขึ้นใหม่อีก ซึ่งก็จะเป็นต้นเหตุของปัญหาหนี้ใหญ่ต่อไปจนกระทั่งวงจรระยะสั้นสร้างสินทรัพย์และหนี้ให้สูงขึ้นจนถึงจุดที่ไม่สามารถรับไว้ได้อีกต่อไป และทั้งหมดทั้งปวงก็จะสลายลงในการปรับโครงหสร้างหนี้และการแปลงสภาพหนี้ (ซึ่งมักจะเกิดขึ้นประมาณทุก ๆ 75 ปี โดยประมาณบวกลบ 25 ปี)ุ
ในขณะที่ในวงจรที่แตกต่างกันไป ก็จะมีการเกิดฟองสบู่แตกในภาคเศรษฐกิจที่แตกต่างกันไปเช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละรอบ (ตัวอย่างเช่นในปี 2008 มีการเกิดฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และตอนนี้ก็เกิดกับบริษัทระดมทุนและกิจการเอกชนที่ไม่มีเงินสดเพียงพอ รวมถึงบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่สามารถแบกรับการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและเงินสดที่จำกัดมากขึ้นได้) แต่กระบวนการย่อยลงของหนี้และเครดิตที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะเดิม จากสิ่งที่ปู่เข้าใจและสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน (ซึ่งตรงกับทฤษฎี) การล้มเหลวของธนาคารนี้เป็นตัวอย่างของสัญญาณบอกเหตุล่วงหน้าที่เกิดขึ้นว่าจะมีผลกระทบต่อโลกในวงการระดมทุนและอย่างอื่นอีกด้วย
Ray คิดว่ามันจะเป็นประโยชน์ที่ใครที่สนใจก็ไปหาอ่านจากหนังสือ Principles for Navigating Big Debt Crises ที่ปู่เคยเขียนไว้ได้ หรือหาอ่าน PDF ฟรีได้
How the Machine Works (เครื่องจักรทำงานอย่างไร)
เนื่องจากหนี้ของคนนึงคือสินทรัยพ์ของอีกคน และคนส่วนใหญ่ก้อมักจะถือยาว (ก็คือการถือสินทรัพย์ที่พยุงและยันด้วยหนี้) เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นและเงินมีน้อยลง มูลค่าสินทรัพย์จึงลดลง ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อลูกหนี้ เจ้าหนี้ ผู้ที่ถือสินทรัพย์ และตัวกลางทางการเงินต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดการหดตัวเงินที่ก็ทำกันเอง (จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย) และแพร่เป็นโรคระบาดเมื่อมีความต้องการเงินใช้นั้น สินทรัพย์อื่นๆก็จะถูกขายออกมา และเมื่อเจ้าหนี้ได้รับผลกระทบ พวกเขาก็จะจำกัดการปล่อยเงินกู้แทน เหล่าตัวกลางทางการเงินเหล่านี้ (โดยเฉพาะธนาคาร) ที่มักจะถือสินทรัพย์ต่างๆยาวๆไปจนกระทั่งฟองสบู่กำลังจะแตกก็จะได้รับผลกระทบเป็นพิเศษ มันเป็นเรื่องคลาสสิคที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการมีช่วงเวลาของอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมานานและมีเครดิตเหลือมาก มันจึงทำให้มีก้อนหนี้และสินทรัพย์ที่ถือยาวๆสูงมากที่กำลังจะหดตัวลงอันเนื่องมาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและปริมาณเงินที่หดตัวลง ซึ่งก็จะเกิดผลกระทบเป็นโดมิโนที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นประจำในอดีต
และเนื่องมาจาก a) เรากำลังอยู่ในช่วงเริ่มแรกของการหดตัวของเครดิตในวงจรนี้ และ b) จำนวนของสินทรัพย์ที่มีการถือไว้ที่ค้ำยันด้วยหนี้มีปริมาณที่มาก มันเป็นไปได้ที่การล้มของธนาคารนี้จะตามมาด้วยปัญหาอีกมากมายก่อนที่เฟสการหดตัวของเครดิตของวงจรนี้จะเริ่มนิ่ง ก่อนที่เฟสของการหดตัวของวงจรนี้จะจบลง ประวิตศาสตร์และตรรกะก็แสดงให้เห็นแล้วว่ามันจะมี 1) การบังคับขายของสินทรัพย์ในราคาที่ต่ำที่จะทำให้เกิดการขาดทุนและจะมีการรายงานมากขึ้นและทำให้เกิดการหดตัวมากขึ้นในการปล่อยกู้ 2) การลดทอนของทุนลง นั่นคือ การขายหุ้นในราคาที่มีส่วนลดสูงเมื่อเทียบกับการประเมินมูลค่าในปัจจุบันจากกระแสเงินสดของหุ้นนั้น 3) ราคาสำหรับเข้าซื้อกิจการจะดูน่าสนใจมากขึ้นสำหรับบริษัทที่ต้องการหา synergy เพิ่มจากบริษัทที่ได้รับผลกระทบ 4) ปัญหาเครดิตติดลบสำหรับตลาดและเศรษฐกิจ และสุดท้าย 5) ธนาคาร Feb จะเริ่มผ่อนคลายและผู้ควบคุมธนาคารจะเริ่มปล่อยเงิน เครดิต และรับประกัน เนื่องจากปัญหาเริ่มคุกคามต่อระบบ ในจุดเปลี่ยนของการหดตัวนี้ มันยังเร็วไปสำหรับธนาคาร Fed ที่จะเริ่มผ่อนปรน แต่ปู่เรย์ก็จะจับตามองอย่างใกล้ชิดว่าธนาคารกลางจะทำอย่างไรต่อไปและ การที่ต้องเลือกเพื่อได้อย่างเสียอย่างก็จะเริ่มยากขึ้น เมื่อมองย้อนกลับไปมากกว่ามองไปข้างหน้านั้น มันเป็นไปได้ว่ามันคงจะไม่นานนักหรอกที่ปัญหาจะเริ่มปรากฏให้เห็นมากขึ้น ซึ่งสุดท้ายก็จะนำไปสู่ธนาคารกลางและผู้ควบคุมธนาคารที่จะต้องลงมือทำอะไรสักอย่างเชิงรุก ดังนั้นแล้วปู่เรย์คิดว่าเรากำลังเข้าสู่จุดเปลี่ยนจากเฟสการลดเครดิตที่เข้มข้นไปยังเฟสของวงจรหนี้และเครดิตระยะสั้น
และเมื่อตอนนี้เราได้เห็นถึงวงจรแบบฉบับดั้งเดิมและเห็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นแล้ว เรามามองไปไกลกว่าปัญหาตรงหน้าตอนนี้ ไปยังสิ่งที่ปู่เรย์เชื่อว่าสุดท้ายแล้วมันจะกลายเป็นปัญหาระยะยาวที่ใหญ่กว่าเดิมมากขึ้นมาก
วงจรเหล่านี้มันดำเนินไปยังไง? เมื่อหนี้มันอยู่ในรูปของสกุลเงินของประเทศตัวเอง วิกฤติหนี้และการแพร่ระบาดของหนี้ที่เป็นผลมาจากหนี้นั้นก็จะสามารถควบคุมได้ด้วยธนาคารกลางของประเทศนั้นๆด้วยการพิมพ์เงินและเครดิตเพิ่มเพื่อเติมช่องว่างปริมาณเงินที่หายไป ตัวอย่างเช่นในกรณีนี้ เมื่อธนาคาร Fed ได้รับประกันผู้ฝากเงินจากความสูญเสียและบ่งชี้ว่าจะไปไกลกว่านั้นด้วยการปกป้องคนอื่นๆด้วย มันก็จะมีไม่เพียงแค่เครดิตเท่านั้นที่จะมากขึ้น แต่มันก้อส่งสัญญาณให้เห็นว่าธนาคาร Fed อาจจะทำคล้ายๆกันในกรณีอื่นๆด้วย
มันเลยทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า ต้องมีต้นทุนแค่ไหนเพื่อสร้างเครดิตและพิมพ์เงินขึ้นมา?
นั่นเลยนำเราไปสู่ปัญหาระยะยาวที่ใหญ่กว่ามากก็คือ รัฐบาลกลางของสหรัฐมีหนี้ก้อนใหญ่ และมีการเพิ่มตราสารหนี้มากกว่าที่มีคนจะซื้อ และรัฐบาลกลางก็พยายามกำลังแปลงสภาพหนี้เป็นเงิน เมื่อมันมีสินทรัพย์หนี้และภาระหนี้ที่สูง มันก็จะเป็นการยากที่จะรักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับที่สูงพอสำหรับผู้ปล่อยกู้กับผู้กู้โดยที่ไม่ทำให้มันสูงเกินไปสำหรับลูกหนี้และเจ้าหนี้
ปัญหาที่ใหญ่จริงๆจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมันมีการพิมพ์เงินออกมามากเกินไปเกินกว่าที่เจ้าหนี้จะได้รับผลตอบแทนที่แท้จริงที่เพียงพอซึ่งจะนำพวกเขาไปสู่การเริ่มขายสินทรัพย์หนี้ ซึ่งก็จะทำให้สถานการณ์ความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานแย่ลงไปอีก ด้วยขนาดสินทรัพย์หนี้และภาระหนี้ของสหรัฐที่มหึมานี้ บวกกับอีกมากมายที่จะตามมา มันก็มีความเสี่ยงสูงที่อุปทานตราสารหนี้ของรัฐบาลจะมีมากกว่าอุปสงค์ของมันมาก ซึ่งก็จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยสำหรับตลาดและเศรษฐกิจนั้นอยู่ในระดับที่สูงเกินไป ซึ่งก็จะนำไปสู่หนี้และความเจ็บปวดทางเศรษฐกิจที่สุดท้ายก็จะไปนำพาให้ Fed ปรับเปลี่ยนจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการขายหนี้ (quantitative tightening) ไปยังการลดอัตราดอกเบี้ยและการเข้าซื้อหนี้ (quantitative easing) สิ่งนี้จะนำพาให้อัตราดอกเบี้ยลดต่ำลง ซึ่งก็จะเพิ่มความเสี่ยงที่สูงขึ้นที่จะมีการขายสินทรัพย์นี้ออกมามากขึ้นเพราะผลตอบแทนที่แท้จริงของสินทรัพย์หนี้เหล่านี้ให้ไม่เพียงพอ
ในขณะที่ผู้คนไม่ได้คิดถึงการตัดอัตราดอกเบี้ยและ QE ของ Fed ในตอนนี้ แต่เราควรจะคิดเพราะว่าจังหวะเวลาของเรื่องนี้อาจจะน้อยกว่า 1 ปีข้างหน้าด้วยซ้ำและนั่นมันก็จะมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวง ปู่เร่ย์คิดว่ามันมีโอกาสที่เป็นไปได้พอควรที่จะเกิดการลดต่ำลงของมูลค่าของเงินเกิดขึ้น ดังนั้นสำหรับปู่เรย์แล้วดูเหมือนว่าภาพของเศรษฐกิจและการเงินใน 1 หรือ 2 ปีข้างหน้าจะค่อนข้างยากลำบาก
ในการสังเกตุการณ์ของปู่เรย์ในครั้งนี้ได้ให้ความสำคัญกับพลวัตรของ เศรษฐกิจ ตลาด หนี้ เครดิต และก็เงิน นั้น (สำคัญที่สุดก็คือการเลือกตั้งของสหรัฐที่กำลังมาในปี 2024 ข้างหน้านี้) และพลวัตรความขัดแย้งภายนอก (สำคัญที่สุดก็คือ สหรัฐ-จีน และ สหรัฐ-นาโต้-รัสเซีย แม้ว่ารายอื่นอย่างอิหร่านก็พอมองเห็นได้) ความขัดแย้งทั้งหมดเหล่านี้ก็จะส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน การเกิดขึ้นของเรื่องราวนี้บอกเป็นนัยว่ามันจะมีความเสี่ยงในระดับที่มีนัยยะสำคัญที่จะ 1) เงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการเงินที่แย่ของ 2) ความขัดแย้งภายในที่แย่ และ 3) ความขัดแย้งระดับนานาชาติที่ใหญ่ – เมื่อทั้งโลกก็ถือครองสินทรัพย์ในระยะยาว สรุปแล้วก็คือในช่วงเวลาสองปีข้างหน้ามันจะเป็นช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงมากจากที่ปู่เรย์มองไว้
อย่างไรก็ดี ได้โปรดเข้าใจว่า ปู่เรย์ก็ไม่ได้มั่นใจในอะไรก็ตาม นั่นคือเหตุผลทำไมว่าปู่เรย์ถึงเชื่อว่ากุญแจสำคัญของการลงทุนที่ดีคือการตั้งเป้าหมายความสมดุลระหว่างกระแสของผลตอบแทนที่ดีที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ใดๆ เพื่อที่ว่าทั้งพอร์ทการลงทุนที่มีนั้นจะต้องไม่มีผลหรือมีผลน้อยเมื่อมีเงื่อนไขใดๆที่จะทำให้มันจะขึ้นจะลงไม่ว่าเงื่อนไขอะไรต่างๆจะดีขึ้นหรือแย่ลงนั่นเอง อย่างที่ปู่เรย์ได้ย้ำเสมอมาว่า การลดความเสี่ยงนั้นสามารถกระทำได้โดยไม่จำเป็นต้องลดความคาดหวังของผลตอบแทน นั่นคือสิ่งที่ปู่เรย์คิดและอยากจะแนะนำให้ทำ
ท่านใดสนใจต้นฉบับก็เชิญได้ที่ลิงก์ด้านล่างเช่นเคยครับ
อ้างอิง:
(4) What I Think About the Silicon Valley Bank Situation | LinkedIn
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.