เมื่อไหร่ก็ตามที่ธนาคารกลางขึ้นอัตราดอกเบี้ย มันก็มักจะเป็นข่าวใหญ่เสมอ มันสามารถส่งแรงสั่นสะเทือนไปทั่วระบบเศรษฐกิจ มันสามารถทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคดิ่งลงได้ ส่งผลให้มีงานให้ทำน้อยลงและทำให้ค่าจ้างลดต่ำลง และทำให้ราคาหุ้นตกลงด้วย
“ถ้าอัตราดอกเบี้ยมันสูงขึ้นมากเกินไปและเร็วเกินไป มันสามารถผลักดันระบบเศรษฐกิจให้เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้”…อธิบายโดย Soumaya Keynes จากนิตยสาร The Economist
หากเป็นเช่นนั้น แล้วทำไมเหล่าธนาคารกลางถึงต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยล่ะ?
หัวใจสำคัญ – อัตราดอกเบี้ย
เรามาเริ่มกันที่สิ่งที่เป็นพื้นฐานกันก่อน หากคุณต้องทำการกู้ยืมเงิน คุณก็ต้องจ่ายคืนกลับไปมากกว่าเดิมนิดหน่อยเพื่อให้ผู้ที่ให้คุณกู้ยืมเงินนั้นรู้สึกว่าคุ้มค่าสำหรับเขา (ที่จะให้คุณกู้ยืมเงิน) เงินส่วนนึงที่เกินมาเมื่อจ่ายคืนกลับให้เจ้าของเงินก็คือเรียกว่าอัตราดอกเบี้ย
“ดังนั้น เมื่อคุณทำการกู้ยืมเงิน คุณก็ต้องอยากให้อัตราดอกเบี้ยนั้นต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่ว่าตอนที่คุณจ่ายเงินคืนกลับไปนั้นมันจะได้ไม่มากเกินไป”
แต่ในทางกลับกัน หากคุณต้องการออมเงิน หากคืนได้อัตราดอกเบี้ยที่สูง นั่นก็แปลว่าคุณก็จะได้รับเงินที่สูงขึ้นจากการออมเงินของคุณ เหมือนกับเป็นเงินรางวัล สำหรับการที่คุณทิ้งเงินไว้ในบัญชีเงินฝาก แต่ว่าคุณจะได้เงินรางวัลที่ว่านั้นก็จะขึ้นอยู่กับหลายๆสถานการณ์
“มันไม่มีอัตราดอกเบี้ยอัตราเดียวในระบบเศรษฐกิจ เราจะเห็นธนาคารเป็นพันๆที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยเชิงพาณิชย์ของพวกเขาเอง ซึ่งก็จะได้รับอิทธิพลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางกำหนดมาอีกทีนั่นเอง”
ธนาคารกลาง ก็เหมือนธนาคารของธนาคารนั่นเอง และมันก้อเหมือนกับตัวคุณและบัญชีเงินออมของคุณ ธนาคารก็ได้รับดอกเบี้ยเช่นกันเมื่อฝากเงินไว้กับธนาคารกลาง
“เหล่าธนาคารพาณิชย์ก็มีเงินที่เรียกว่าเงินสำรอง (reserves) ซึ่งก็เหมือนกับเงินสดสำรองที่ถือไว้ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ก็จะปล่อยเงินส่วนพิเศษเหล่านี้ให้กู้ระหว่างธนาคารด้วยกันเอง ในอัตราดอกเบี้ย และธนาคารก็สามารถฝากเงินสำรองไว้กับธนาคารกลางได้ด้วย และเมื่อพวกเขาทำเช่นนั้น พวกเขาก็จะได้รับดอกเบี้ยเช่นกัน ซึ่งคนทั่วไปจะไม่สามารถได้รับอัตราดอกเบี้ยจากเงินสำรองส่วนเกินนั้นได้ แต่คนทั่วไปก็จะยังได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยนั้น”
และนั่นมันก็คือไอเดียที่ว่า เมื่อธนาคารกลางขึ้นอัตราดอกเบี้ย พวกเขาก็พยายามที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อ (inflation) ซึ่งก็คือราคาสินค้าว่าจะปรับตัวสูงขึ้นเร็วแค่ไหนสำหรับทุกๆคน
“ธนาคารกลางอย่าง Fed หรือ ธนาคารกลางของอังกฤษ หรือ ธนาคารกลางของโซนยูโร อย่าง European Central Bank (บ้านเราก็คือแบงค์ชาตินั่นเอง) ก็พยายามที่จะไปให้ถึงอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายที่ 2% ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนั้นเป็นเครื่องมือที่มีพลังที่พวกเขาใช้ในการไปให้ถึงเป้าหมายนั้น”
ถ้าอัตราเงินเฟ้อมันดูเหมือนว่าจะสูงเกินไป นั่นก็จะทำให้ธนาคารเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนี้ก็จะกระจายไปทั่วระบบการเงินและทำให้อัตราเงินเฟ้อนั้นปรับตัวสูงขึ้นในอัตราที่ช้าลง ซึ่งคือยังไงนั้นก็มาดูกัน
การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารกลางนั่นแปลว่าธนาคารพาณิชย์ก็จะได้รับดอกเบี้ยมากขึ้นจากเงินสำรองที่ฝากไว้กับธนาคารกลาง มันก็อาจจะเป็นไปได้ว่าพวกเขาอาจจะได้ดอกเบี้ยจากการฝากเงินไว้กับธนาคารกลางมากกว่าการนำไปปล่อยกู้ก็ได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เขาปล่อยกู้ออกไป พวกเขาก็จะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้พวกเขารู้สึกว่าคุ้มค่ากับการที่จะปล่อยกู้ออกไปนั่นเอง (ซึ่งแน่นอนว่ามันก็จะต้องสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่เขาได้รับจากธนาคารกลางนั่นเอง)
ซึ่งการกระทำเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคแค่ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจในเวลานั้น มาดูตัวอย่างเช่น การจำนองเงินกู้ซื้อบ้าน ในประเทศอย่างฟินแลนด์หรือว่าออสเตรเลียนั้น หลายๆคนจะมีการกู้จำนองโดยผูกไว้กับอัตราดอกเบี้ยที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
“ถ้าคุณมีการกู้ในลักษณะที่อัตราดอกเบี้ยสามารถเปลี่ยนไปได้ในลักษณะนี้แปลว่าอัตราดอกเบี้ยที่คุณจะต้องจ่ายนั้นจะถูกผูกไว้กับอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง ดังนั้นแล้วอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นก็จะแปลว่าอัตราที่สูงขึ้นนั้นก็จะทำให้คุณมีเงินเหลือน้อยลงทันทีสำหรับการใช้จ่ายในสิ่งอื่นๆ”
การที่คุณมีเงินสดเหลือน้อยลงสำหรับการใช้จ่ายในสิ่งอื่นๆก็แปลว่าในครัวเรือนก็จะมีการใช้จ่ายน้อยลงไปด้วย และการใช้จ่ายน้อยลงก็แปลว่าธุรกิจต่างๆก็จะมีความกังวลมากขึ้นในการขึ้นราคาสินค้า ซึ่งนี่ก็ควรจะทำให้อัตราเงินเฟ้อลดต่ำลง แต่ในประเทศอื่นๆอย่างเช่น อเมริกาหรือแคนาดา ซึ่งเงินกู้จำนองบ้านในอัตราส่วนใหญ่นั้นจะถูกกำหนดตายตัวไว้ ซึ่งคนที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ตายตัวก็จะถูกปกป้องจากผลกระทบโดยตรงต่อการปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนั้น แต่ถึงกระนั้นก็จะยังคงรับรู้ได้ถึงผลกระทบทางอ้อมอยู่ดี
“อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นนั้นแปลว่า การกู้จำนองก็จะแพงขึ้น และถ้ามันส่งผลกระทบไปถึงผู้ซื้อบ้านรายใหม่ทุกๆราย ราคาบ้านก็จะเริ่มตกลง และนั่นก็จะทำให้ทุกคนที่เป็นเจ้าของบ้านจะรู้สึกว่าจนขึ้นและอาจจะส่งผลให้เขาเหล่านั้นใช้จ่ายน้อยลงไปด้วย และการที่มีการใช้จ่ายน้อยลงอาจจะแปลได้ว่าอัตราเงินเฟ้อก็จะลดลง”
และมันก็ไม่ใช่แค่เพียงว่าผู้บริโภคเท่านั้นที่จะรู้สึกถึงความอัตขัตนี้และต้องควบคุมรัดเข็มขัด
“เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น ธุรกิจต่างๆก็รู้สึกว่ามันเป็นต้นทุนที่สูงขึ้นที่จะทำการยืมเงินและลงทุนด้วย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วก็จะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้นน้อยลงไป ทำให้อาจจะมีการสร้างงานน้อยลง”
การที่มีงานน้อยลงและค่าจ้างที่ถูกลงก็แปลว่าจะมีเงินเหลือน้อยลงสำหรับครัวเรือนด้วยและก็จะทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดต่ำลงซึ่งก็แปลว่าก็จะมีการใช้จ่ายน้อยลงไปอีก
“เมื่ออัตราดอกเบี้ยขยับตัวสูงขึ้น จะส่งผลให้มีการใช้จ่ายและการลงทุนน้อยลง ซึ่งก็จะไปกดดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีก ซึ่งโดยภาพรวมแล้ว ก็จะทำให้ธุรกิจมีความลังเลกังวลใจที่จะปรับราคาสินค้าขึ้น และนั่นก็มีแนวโน้มที่จะดึงอัตราเงินเฟ้อลงมา”
มันดูเหมือนว่าจะตรงไปตรงมาใช่มั้ย?
แต่จริงๆแล้วมันคือการตัดสินว่าต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกแค่ไหนตะหาก ในปี ค.ศ. 1981 ธนาคารกลางของอเมริกา หรือที่เรียกว่า Fed ยอมให้อัตราดอกเบี้ยนั้นขึ้นไปอย่างน่าตกใจถึง 19% เลยทีเดียว การกระทำนี้สามารถยับยั้งเงินเฟ้อไว้ได้ แต่ว่ามันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้างให้เกิดความเจ็บปวดขึ้น
“มันเป็นการยากที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อไว้ได้โดยที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในอเมริกานั้น มันเป็นเวลากว่า 70 ปีมาแล้วที่พวกเขาสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อไว้ไม่ให้เกิน 5% ไว้ได้ด้วยการไม่ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย”
การปล่อยให้มีอัตราเงินเฟ้อบ้างนิดหน่อยเป็นเรื่องโอเค มันรักษาให้เศรษฐกิจยังไปต่อได้อย่างพอดี แต่หากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงเป็นเวลาที่นานเกินไปก็จะกลายเป็นปัญหาได้ การที่สินค้ามีราคาสูง ก็จะทำให้พนักงานต้องการเงินเดือนที่สูงขึ้นด้วยซึ่งก็จะผลักต้นทุนของธุรกิจให้สูงขึ้นอีกและนั่นก็จะยิ่งทำให้ราคาสินค้าอาจจะสูงขึ้นไปอีกด้วย ซึ่งก็จะทำให้เกิดการหมุนไปของค่าจ้างและราคาสูงไปเรื่อยๆ
“เหล่าผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางนั้นมีความกังวลอย่างจริงจังต่อการกำหนดความคาดหวังต่ออัตราเงินเฟ้อนี้ ไอเดียก็คือว่าหากสามารถแสดงให้เห็นและเชื่อได้ว่า ธนาคารกลางจะพยายามทำอะไรก็ตามเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อลงมาเหลือ 2% เสมอๆซึ่งบางทีก็อาจจะไม่ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยและลดลงอีกทีในภายหลังในลักษณะขึ้นๆลงๆแบบนี้”
การขึ้นอัตราดอกเบี้ย สามารถทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงได้ แต่ปัญหามันคือว่า การแตะเบรค (ด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย) มันมักจะมีดีเลย์ หรือความล่าช้าจากการขึ้นดอกเบี้ยอยู่ กว่าที่จะเห็นผลกระทบของมัน มันอาจจะต้องใช้เวลานานถึงสองปีเลยก็ได้เพื่อที่จะดูผลลัพธ์จากการปรับอัตราดอกเบี้ยนี้แบบเต็มๆ ซึ่งธนาคารกลางก็รู้ดี ดังนั้นเมื่อพวกเขากำหนดอัตราดอกเบี้ยในแต่ละครั้ง พวกเขาก็จะพยายามมองไปยังข้างหน้า แต่การทำนายอนาคตนั้นมันก็ไม่ได้ง่าย
“ปัญหามันคือว่ามันเป็นการยากที่ธนาคารกลางจะรู้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงด้วยตัวของมันเองหรือไม่”
และแม้ว่าธนาคารกลางได้ดำเนินนโยบายถูกต้องแล้ว พวกเขาก็ยังอาจจะก่อให้เกิดภาวะถดถอยของเศรษฐกิจได้อยู่ดี มันอาจจะเป็นเครื่องมือที่ดูทื่อ แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นก็ยังคงเป็นเครื่องมือหลักของธนาคารกลางในการควบคุมอัตราเงินเฟ้ออยู่ดี
“เหล่านักธนาคารกลางอาจจะบอกว่า ใช่ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นมันก่อให้เกิดความเจ็บปวดได้ การทำให้เศรษฐกิจเดินช้าลงนั้นมันก็ไม่สนุกหรอก แต่มันก็คุ้มค่าที่จะทำ มันคุ้มค่าที่จะควบคุมให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ต่ำและคงที่ เพื่อที่ว่าในระยะยาวแล้ว คุณจะได้ไม่ต้องคิดถึงมันอีก”
ท่านสามารถเข้าไปดูวีดีโอต้นฉบับได้จาก The Economist ตามลิงก์ด้านล่างนี้ ซึ่งมีวีดีโออื่นๆที่น่าสนใจให้เข้าไปฟังกันนะครับ
อ้างอิง:
How does raising interest rates control inflation? – YouTube
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.